ความเจริญอีกขั้น! ร่างแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ครอบคลุม 33 เส้นทาง ชี้ “พล.อ.ประยุทธ์” วิสัยทัศน์พัฒนาไทยอย่างยั่งยืน

28 กรกฎาคม 2566 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งของประเทศ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

โดยในส่วนของโครงข่ายรถไฟฟ้า ได้ผลักดันให้มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ตามแผน M-MAP เดิมส่งผลให้ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้เปิดให้บริการแล้ว 242.34 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง105.40 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตามด้วยสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนที่เปลี่ยนไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำแผนแม่บทโครงข่ายรถไฟฟ้าฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับปัจจุบัน

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า กรมการขนส่งทางรางได้รายงานผลการดำเนินการ “โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2” หรือ M-MAP 2

เพื่อต่อยอดแผน M-MAP เดิม ให้มีความครอบคลุม สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของเมืองในอนาคต และตอบสนองความต้องการในการเดินทางของประชาชนอย่างแท้จริง

สำหรับแผนการพัฒนา M-MAP 2 นี้มีทั้งสิ้น 33 เส้นทาง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.เส้นทาง M-MAP 1 ที่ยังไม่ดำเนินการมีจำนวน 8 เส้นทาง
2. ส่วนเส้นทางใหม่จำนวน 14 เส้นทาง
3. เสนอต่อขยาย จำนวน 11 เส้นทาง

ซึ่งการจัดลำดับความสำคัญแผนการพัฒนา M-MAP 2 สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

A1 : เส้นทางที่มีความจำเป็น / มีความพร้อม “ดำเนินการทันที” จำนวน 4 เส้นทาง ได้แก่
A1-1) รถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต – ธรรมศาสตร์ (Commuter)
A1-2) รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศาลายา (Commuter)
A1-3) รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช (Commuter)
A1-4) รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แคราย – บึงกุ่ม (Light Rail)

A2 : เส้นทางที่มีความจำเป็น / แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน “คาดว่าดำเนินการภายในปีพ.ศ. 2572” จำนวน 6 เส้นทาง ได้แก่
A2-1) รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ – หัวลำโพง (Commuter)
A2-2) รถไฟฟ้าสายสีเขียว สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส (Heavy Rail)
A2-3) รถไฟฟ้าสายสีเขียว บางหว้า – ตลิ่งชัน (Heavy Rail)
A2-4) รถไฟฟ้าสายสีแดง วงเวียนใหญ่ – บางบอน (Commuter)
A2-5) รถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา – สุวรรณภูมิ (Light Rail)
A2-6) รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล – ทองหล่อ (Light Rail)

B : เส้นทางมีศักยภาพ เนื่องจากผ่านการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการ M-MAP 1 หรือเป็นเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าได้ จำนวน 9 เส้นทาง ได้แก่

B-1) รถไฟฟ้าสายสีฟ้า พระโขนง – ท่าพระ (Light Rail)
B-2) รถไฟฟ้าสายสีฟ้า สาทร – ดินแดง (Light Rail)
B-3) รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล – ลำลูกกา (Light Rail)
B-4) รถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต– วงแหวนรอบนอก (Heavy Rail)
B-5) รถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลิ่งชัน – รัตนาธิเบศร์ (Heavy Rail)
B-6) รถไฟฟ้าสายสีเขียว สมุทรปราการ – บางปู (Heavy Rail)
B-7) รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค – พุทธมณฑล สาย 4 (Heavy Rail)
B-8) รถไฟฟ้าสายสีแดง บางบอน – มหาชัย – ปากท่อ (Commuter)
B-9) รถไฟฟ้าสายสีแดง หัวลำโพง – วงเวียนใหญ่ (Commuter)

C : เส้นทาง Feeder ดำเนินการเป็นระบบ Feeder เช่น Tram ล้อยาง, รถเมล์ไฟฟ้า จำนวน 26 เส้นทาง ได้แก่

C-1) เส้นทาง ลาดพร้าว – รัชโยธิน – ท่าน้ำนนท์
C-2) เส้นทาง ดอนเมือง – ศรีสมาน
C-3) เส้นทาง ศาลายา – มหาชัย
C-4) เส้นทาง ศรีนครินทร์ – บางบ่อ
C-5) เส้นทาง คลอง 6 – องค์รักษ์
C-6) เส้นทาง รัตนาธิเบศร์ – แยกปากเกร็ด
C-7) เส้นทาง คลองสาน – ศิริราช
C-8) เส้นทาง บางซื่อ – พระราม 3
C-9) เส้นทาง ราชพฤกษ์ – แคราย
C-10) เส้นทาง พระโขนง – ศรีนครินทร์
C-11) เส้นทาง บางซื่อ – ปทุมธานี
C-12) เส้นทาง เมืองทอง – ปทุมธานี
C-13) เส้นทาง บางแค – สำโรง
C-14) เส้นทาง แพรกษา – ตำหรุ
C-15) เส้นทาง ธรรมศาสตร์ – นวนคร
C-16) เส้นทาง บางนา – ช่องนนทรี
C-17) เส้นทางสุวรรณภูมิ – บางบ่อ
C-18) เส้นทาง บรมราชชนนี – ดินแดง – หลักสี่
C-19) เส้นทาง ธัญบุรี– ธรรมศาสตร์
C-20) เส้นทาง คลอง 3 – คูคต
C-21) เส้นทาง มีนบุรี – สุวรรณภูมิ – แพรกษา – สุขุมวิท
C-22) เส้นทาง เทพารักษ์ – สมุทรปราการ
C-23) เส้นทาง บางใหญ่ – บางบัวทอง
C-24) เส้นทาง บางปู – จักรีนฤบดินทร์
C-25) เส้นทาง ครุใน – สมุทรปราการ
C-26) เส้นทาง ปทุมธานี– ธัญบุรี

“การทำแผนพัฒนานี้ก็เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็นกับแผนพัฒนานี้ด้วย จะเห็นได้ว่า ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ มุ่งมั่นพัฒนาชาติสู่ความเจริญทุกรูปแบบ ผลักดันแผนแม่บทรถไฟฟ้า M-MAP 2 เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต ยกระดับการเดินทางของประชาชนผ่านระบบขนส่งสาธารณะได้สะดวก ทันสมัยมากขึ้น ลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว

อีกทั้งจะช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ กระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”น.ส.ทิพานัน กล่าว

Written By
More from pp
เปิดอย่างยิ่งใหญ่!! งานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 9 “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์” เร่งไทยช่วยหยุดโลกเดือด ชวนช้อปสินค้าเกษตรอินทรีย์จากเกษตรกรทั่วประเทศ
3 วันเท่านั้น!! “งานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 9” เริ่มตั้งแต่วันนี้- 28 มกราคม 2567 งานเดียวเที่ยวได้ทั้งครอบครัว ช้อปได้ครบครัน ทั้งความรู้...
Read More
0 replies on “ความเจริญอีกขั้น! ร่างแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ครอบคลุม 33 เส้นทาง ชี้ “พล.อ.ประยุทธ์” วิสัยทัศน์พัฒนาไทยอย่างยั่งยืน”