“ป่วยแล้วไปไหน” ทำไงกับโควิด-19 ?

คำถามที่ว่า ตายแล้วไปไหน ?

น่าจะยังคาใจทุกคนอยู่…แม้กระทั่งยุคสมัยที่ทุกอย่างถูกพัฒนาท่ามกลาง “เทคโนโลยี” แล้วก็ตาม

แต่บางครั้ง หลายอย่างก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและความศรัทธา

หรือ…ใครจะมาพิสูจน์ให้ดูได้ !

ก็ไม่น่ามี…

งั้นเรื่องเป็นๆ ตายๆ ก็ต้องพักไว้ดีกว่า มาเรื่องนี้ที่เข้ายุคเข้าสมัยหน่อย

เลยจะเปลี่ยนคำถามเป็น ?

“ป่วยแล้วไปไหน”

เป็นคำถามคล้ายๆ กันแต่มันน่าจะตรงใจใครหลายๆ คนในตอนนี้แน่นอน

ก็เพราะไอ้โควิด-19 ที่อยู่มานานแล้วยังไม่เลิกไม่ราสักทีนี่แหละ ทำให้คนเกิดคำถามที่ว่าถ้าติดเชื้อขึ้นมา ป่วยแล้วจะไปไหน ?

เอ้อ มันน่าคิดนะ…

เมื่อก่อน ป่วยก็ต้องไปโรงพยาบาล

ตอนนี้หลายๆ โรงพยาบาลมันก็เกินลิมิตที่จะรับได้แล้ว

ถึงตอนนี้สถานการณ์เริ่มกลับมาดีขึ้น ตัวเลขติดเชื้อลดลง

แต่เราก็ต้องเห็นใจพวกบุคลากรทางการแพทย์นะ ไม่ใช่จะไปโวยวายเขา ถ้าเขาจะดูแลไม่ทั่วถึง เพราะเขาก็ทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อดูแลชีวิตประชาชนคนไทยมาตลอด ตั้งแต่มีโควิด-19 ระบาด

แล้วอะไรที่เป็นการแบ่งเบาภาระของกลุ่มแพทย์-พยาบาลได้บ้าง ?

อย่างประชาชนทั่วไป เรื่องง่ายๆ ก็คือเราต้องไม่เอาตัวออกไปอยู่ในจุดเสี่ยงที่จะทั้งรับหรือแพร่กระจายเชื้อโรค

แล้วในส่วนของพวกเอกชนรายใหญ่ๆ ที่ทำมาหากินในประเทศไทยล่ะ

ก็เห็นน้ำใจอยู่ในหลายๆ เจ้าที่ออกมาช่วยเหลือกันก็มีมากมายอยู่

อย่างโครงการ End-to-End ที่ตั้งจุดคัดกรอง และโรงพยาบาลสนาม พร้อมมีอุปกรณ์ช่วยรักษาครบมือ

ขานั้นดูเล่นใหญ่ จัดใหญ่ และก็ทำจริง !

ก็กลุ่ม ปตท. มาจากคนไทย จะไม่ดูแลคนไทยก็กระไรอยู่

เพราะโครงการนี้ไม่ได้มาแค่ตรวจๆ แล้วก็แยกๆ ซะที่ไหน จะทำเหมือนชาวบ้านมันไม่พอ

มันต้อง “ดูแลกันต่อเนื่อง”

แบบนี้ถึงจะเรียกว่าแบ่งเบาภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างแท้จริง

เพราะถ้าใครได้ตรวจแล้วรู้ว่าติดเชื้อก็จะแยกและให้ยารักษาทันที “แถมฟรีตลอดงาน”

คนไหนไหวก็รักษาตัวอยู่บ้าน ทำตามข้อกำหนดไปจนกว่าจะหายดี แต่คนไหนไม่ไหว ต้องการเตียงพร้อมกับการดูแลอย่างใกล้ชิด ก็มีตอบสนองทุกกลุ่ม เพราะถึงขั้นตั้งโรงพยาบาลสนามของโครงการเอง มันไม่ธรรมดาแน่นอน

พอตรวจพบเชื้อ ก็จะแบ่งเป็นผู้ป่วยระดับ…ไล่ตั้งแต่อาหารน้อยไปถึงอาการหนัก

กลุ่มสีเขียวคือกลุ่มแรก มีเตียงดูแลรวมแล้ว 1,000 เตียง สีเหลือง 300 เตียง

แต่ไฮไลท์อยู่ตรงกลุ่มสีแดง คือกลุ่มที่มีอาการหนักมาก และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด

เลยเล่นตั้ง “โรงพยาบาลสนาม ICU” ขึ้นมาเลย มีเตียง 120 เตียง ที่ถือว่าเป็น ICU สนามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

แม้จะเจียนตาย ก็มีเครื่องมือ เทคโนโลยีมาเตรียมพร้อมรักษาทันที !

ทั้งการ “ฟอกไต” ที่รองรับกว่า 24 เตียง เพราะหากคนไข้ไม่สามารถฟอกไตได้ จะทำให้คนไข้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก

แถมยังมีเครื่องช่วยหายใจ “ระบบออกซิเจนส่งตรงถึงทุกเตียง”

ซึ่งแต่ละเตียงจะแยกห้องกัน เป็นลักษณะห้องความดันลบ เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมมาตรฐานระดับห้องไอซียูในโรงพยาบาล

ใช้ “เทคโนโลยีระบบดิจิทัล” ทำให้สามารถสังเกตอาการของผู้ป่วยได้ตลอดเวลา

แถมมีระบบการกู้ชีพอัตโนมัติ มีเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ สามารถส่งภาพไปยังรังสีแพทย์ทางไกลได้ทันที

ถือเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบเข้มข้น !

รวมถึงยังมีรถพยาบาลฉุกเฉิน ที่เตรียมพร้อมรับส่งคนไข้ อีกทั้งมีแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอ

แล้วก็ยังมีเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. อย่างเครื่องที่ใช้บำบัดทั้ง PM2.5 และกำจัดเชื้อโรคในอากาศได้ในระบบเดียวกัน มาติดตั้งบริเวณโดยรอบอีกด้วย

ครบจริง  แบบนี้ไม่เรียกว่าจัดเต็มได้ยังไง

เห็นคุยว่าใน 1 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. 64 ที่เปิดโครงการ ถึงวันที่ 8 ก.ย. 64 ให้บริการคัดกรองแก่ประชาชนไปกว่า 23,000 รายแล้ว

และก็ให้การรักษาผู้ติดเชื้อกว่า 2,600 ราย ในทุกระดับอาการ

แถมมาการันตีด้วยตัวเลขผู้หายป่วยจากการรักษาในโครงการ จำนวนกว่า “1,100 ราย”

แค่นี้มันก็น่าจะตอบได้แล้วว่า “กั๊ก” หรือเปล่า

แถมยังตอบได้อีกข้อว่า… “ถ้าป่วยแล้วจะไปไหน”

Written By
More from pp
“พล.อ.ประวิตร” เบิกบานต้อนรับ คนพปชร.ร่วมใจเป็นหนึ่งอวยพรวันเกิด ฝากผู้บริหาร สมาชิกทุกคนยืนหยัดสามัคคีช่วยกันสร้างพรรคเข้มแข็ง
8 สิงหาคม 2567 พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โดยกรรมการบริหารพรรค กรรมการยุทธศาสตร์พรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ที่มีร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์...
Read More
0 replies on ““ป่วยแล้วไปไหน” ทำไงกับโควิด-19 ?”