‘ชินวัตร-มาร์กอส’ – ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

การเมืองที่ฟิลิปปินส์น่าสนใจครับ 

ตระกูล “มาร์กอส” หวนกลับมาปกครองฟิลิปปินส์อีกคำรบหนึ่ง

“เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์” ที่ชาวฟิลิปปินส์เรียกว่า “บงบง มาร์กอส” วัย ๖๕ ลูกชายหนึ่งเดียวของ “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” กับ “อิเมลดา มาร์กอส” อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง เจ้าของตำนานรองเท้าพันคู่ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ไปอย่างถล่มทลาย!

๓๐+ ล้านเสียง

หรือแลนด์สไลด์ที่พรรคเพื่อไทยฝันถึง

ใครจะไปคิดว่า นักการเมืองตระกูลมาร์กอสจะสามารถกลับเข้าสู่การเมืองในตำแหน่งประธานาธิบดีได้  เพราะประวัติอันอื้อฉาวของ “มาร์กอส” ผู้พ่อ ไม่น่าจะทำให้คนฟิลิปปินส์เลือกกลับเข้ามาอีก

แต่มันเป็นไปแล้ว

ก่อนการเลือกตั้ง โพลเลือกตั้งทุกสำนัก ต่างก็พากันฟันธงว่า “บงบง มาร์กอส” จะชนะคู่แข่ง แบบทิ้งห่าง ไม่เห็นฝุ่น

และมันก็เป็นไปตามนั้น

“บงบง มาร์กอส” ไม่ธรรมดาครับ

ช่ำชองการเมืองมาตั้งแต่ผ่านช่วงวัยรุ่นไปไม่นาน

ปี ๒๕๒๓ “บงบง มาร์กอส” อายุได้ ๒๓ ปี เขาดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าจังหวัดฮีลากังอีโลโคส

ถัดมาอีก ๓ ปี ขยับขึ้นเป็น ผู้ว่าจังหวัดฮีลากังอีโลโคส

และดำรงตำแหน่งถึง ๒ สมัย

เด็กหนุ่มวัย ๒๖ มีตำแหน่งเป็นถึงผู้ว่าราชการจังหวัด

แต่ตระกูลมาร์กอส ต้องล่มสลาย ในปี ๒๕๒๙ คนทั้งตระกูลต้องหนีไปต่างประเทศ จากการลุกฮือขับไล่ของประชาชน

เหตุการณ์ People Power Revolution  การปฏิวัติพลังประชาชน หรือการปฏิวัติเอ็ดซา

การชุมนุมประท้วงขับไล่ “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๒๖ เรื่อยไปจนถึงปี ๒๕๒๙ เนื่องจากปัญหาคอร์รัปชัน การโกงเลือกตั้ง การใช้ความรุนแรงกับประชาชน

แต่หลักๆ คือ การคอร์รัปชัน

“เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” ครองอำนาจนานถึง ๒๑ ปี

เริ่มต้นเข้าสู่การเมืองในฐานะ วีรบุรุษสงครามที่ทรงเกียรติที่สุดของฟิลิปปินส์ แต่ถูกสาวไส้ในภายหลัง โดยเอกสารลับของกองทัพสหรัฐฯ ว่าเกียรติและการยกย่องเหล่านี้เป็นเรื่องหลอกลวงและไร้สาระ

การเป็นประธานาธิบดีในสมัยแรกๆ ของ “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” ประชาชนพากันยกย่อง เพราะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ให้เป็นเบอร์หนึ่งของ อาเซียน และลำดับต้นๆ ของเอเชีย

นับแต่ปี ๒๕๐๘ เขาทำให้ประเทศฟิลิปปินส์เจริญรุ่งเรือง เกือบจะกลายเป็นเสือแห่งเอเชีย

มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ฟิลิปปินส์เป็นชาติแรกในอาเซียนที่มีรถไฟฟ้าใช้ในปี ๒๕๒๗

ขณะที่ไทยมีสายแรกคือ BTS ในปี ๒๕๔๒

“เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” ยังพัฒนาระบบการศึกษาของฟิลิปปินส์ จนล้ำหน้าประเทศเพื่อนบ้านไปไกล ยุคหนึ่งคนไทยต้องข้ามไปเรียนระดับปริญญาตรีที่ฟิลิปปินส์

คนที่คนไทยรู้จักกันดีคือ แอ๊ด คาราบาว จบจากสถาบันเทคโนโลยีมาปัว

ยุคแรกๆ ของ “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” ฟิลิปปินส์รุ่งเรืองสุดๆ

ได้รับความนิยมและความศรัทธาจากประชาชนเป็นอย่างมาก

แต่การอยู่ในตำแหน่งที่ยาวนาน “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” กลับพาฟิลิปปินส์กลายเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย

สาเหตุหลักมาจาก การปกครองแบบเผด็จการ รวมถึงการทุจริตคอร์รัปชันซึ่งเป็นเงินราวๆ ๕-๑๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (มูลค่าในขณะนั้น)

สื่อหลายสำนักพากันประณามว่าเป็นนักการเมืองที่โกงมากที่สุดรองจากประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ของอินโดนีเซีย

ปี ๒๕๓๒ “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” เสียชีวิตที่ โฮโนลูลู ฮาวาย ขณะลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา

แต่ก่อนถึงแก่อสัญกรรมเขากำลังถูกทางการฟิลิปปินส์ ยื่นเรื่องขออายัดทรัพย์สิน และดำเนินคดีในข้อหาใช้อิทธิพลคอร์รัปชัน ในระหว่างดำรงตำแหน่งทางการเมือง

โดยทางการฟิลิปปินส์ได้ตามยึดทรัพย์สินที่ยักยอกไปได้ถึง ๑ แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ

แต่ความจริงแล้วทรัพย์สินที่ถูก “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” ยักยอกไปนั้นอาจจะสูงถึง ๓ แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียว

เท่ากับว่าตามคืนได้ไม่ถึงครึ่ง

ปี ๒๕๓๔ “คอราซอน อากีโน” ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ขณะนั้น เปิดทางให้ตระกูล “มาร์กอส” กลับมายังประเทศฟิลิปปินส์เพื่อต่อสู้กับข้อกล่าวหาต่างๆ

หลังจากกลับมา “อิเมลดา มาร์กอส” สมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง ส.ส.ถึง ๔ สมัย เคยสมัครประธานาธิบดีอยู่ ๒ ครั้ง

ล้มเหลวทั้งหมด

แต่ “บงบง มาร์กอส” กลับมาสร้างตำนานตระกูล “มาร์กอส” ครั้งใหม่ขึ้นมา

พล็อตการเมืองนี้อาจคุ้นหูคุ้นตาคนไทยไม่น้อยเช่นกัน

“บงบง มาร์กอส” ชนะเลือกตั้งในพื้นที่ชนบทเสียเป็นส่วนใหญ่

ส่วนคู่แข่งคือรองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เลนี โรเบรโด ได้คะแนนจากภาคกลาง และกรุงมะนิลาเป็นหลัก

เจาะลึกลงไป “บงบง มาร์กอส” ชนะเลือกตั้งในเขตชุมชนกรุงมะนิลา

ขณะที่ “เลนี โรเบรโด” ชนะย่านเศรษฐกิจ และกลุ่มชนชั้นกลาง ในมะนิลา

เทียบกับไทย ไม่ต่างจาก ชัยชนะของ “ทักษิณ ชินวัตร” เมื่อปี ๒๕๔๒

ไทยรักไทยกวาดที่นั่ง ส.ส.ภาคเหนือ อีสาน ได้เป็นกอบเป็นกำ

แต่ในเมืองหลวงเป็นของประชาธิปัตย์

“ทักษิณ” เป็นนายกฯ พร้อมด้วย คดีเรื่องทุจริตรุงรัง คดีแรกคือซุกหุ้นภาค ๑ แต่ผ่านไปได้อย่างเฉียดฉิว เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนั้นบางคน กลัวม็อบ และกลัวว่าไม่มีใครเป็นนายกฯ ได้ดีเท่าทักษิณ

“บงบง มาร์กอส” เคยถูกจับคดีหนีภาษี

“อิเมลดา มาร์กอส” ก็เพิ่งจะขึ้นศาลเมื่อปี ๒๕๖๑ เรื่องโกง

ผู้เชี่ยวชาญการเมืองฟิลิปปินส์ วิเคราะห์ สาเหตุ “บงบง มาร์กอส” ได้รับชัยชนะ ปัจจัยหลัก เพราะ ๕๖ เปอร์เซ็นต์ของผู้ออกเสียงเลือกตั้งของทั้งประเทศ อยู่ในวัยเพียง ๑๘ ถึง ๔๑ ปี

ประเด็นนี้สำคัญมาก เพราะโหวตเตอร์เหล่านี้ไม่ได้โตมาในยุค “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” ปล้นชาติปล้นแผ่นดิน

ไม่เคยร่วมประสบการณ์ของการปกครองแบบเผด็จการเสียงข้างมากของ “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส”

ทำให้นึกถึงคนรุ่นใหม่ในระเทศไทย ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้โตในยุค “ทักษิณ” ครองเมือง

ไม่เคยรับรู้รสของเผด็จการรัฐสภาของจริง ที่ใช้อำนาจไปในทางทุจริตเชิงนโยบาย และเต็มไปด้วยผลประโยชน์ทับซ้อน

หรือโกงทั้งโคตร

กลับชื่นชมความสำเร็จทางเศรษฐกิจในยุคทักษิณ แท้ที่จริงแล้วเป็นโชคดีที่รัฐบาลทักษิณเข้ามาในช่วงเศรษฐกิจโลกขาขึ้น หลังจมอยู่กับวิกฤตต้มยำกุ้งอยู่หลายปี

ที่น่ากลัวคือ โหวตเตอร์ใหม่ที่ไม่เคยร่วมประสบการณ์อันเลวร้ายของระบอบทักษิณ จะเป็นโหวตเตอร์ก้อนใหญ่ในการเลือกตั้งครั้งถัดไป

“ทักษิณ” ส่ง “ยิ่งลักษณ์” ทวงอำนาจคืน แม้ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง แต่ล้มเหลวในการบริหาร เพราะ โกง

และ “ทักษิณ” ส่ง “อุ๊งอิ๊ง” มาอีกครั้ง หวังพาเพื่อไทยชนะเลือกตั้งแลนด์สไลด์

มีโอกาสสูงที่ ระบอบทักษิณ จะกลับมาอีกครั้ง แต่จะบริหารประเทศได้หรือไม่ ขึ้นอยู่ว่า โกง ซ้ำอีกหรือเปล่า

การเมืองไทย กับ ฟิลิปปินส์ อาจกลับเข้าสู่วังวนเดิม

“ชินวัตร-มาร์กอส” ตำนานโกงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Written By
More from pp
ครม.ไฟเขียวอนุมัติงบลูกจ้างสพฐ 1,800 ล้าน “ตรีนุช” มั่นใจเพียงพอดูแลบุคลากรถึงสิ้นปีงบประมาณ
“ตรีนุช” เผย “ครม.” อนุมัติจัดสรรงบส่วนกลาง 1,800 ล้าน ให้ลูกจ้างสพฐ. พร้อมมั่นใจมีเงินดูแลกลุ่มบุคลากรได้อย่างเพียงพอจนถึงสิ้นปีงบประมาณแน่นอน ขณะเดียวกันของบปี 66 ครอบคลุมเรียบร้อยแล้ว
Read More
0 replies on “‘ชินวัตร-มาร์กอส’ – ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i 0 || bottom > 0) && top