สัญญาณเตือนจาก ‘ทบ.’ – ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

ท่าจะสาหัส!

เพราะผู้บริหาร Lazada เดือดเนื้อร้อนใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นน้อยไปหน่อย ความวิบัติของ Lazada จึงดูจะลุกลามเป็นรายวัน

กองทัพบก ออกมา เทกแอกชัน เขย่าวงการค้าออนไลน์

พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก  สั่งการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ประจำวัน พร้อมสั่งให้หน่วยทหารทั่วประเทศ งดสั่งสินค้าจาก Lazada

รวมถึงห้ามรถส่งสินค้าเข้ามาในพื้นที่หน่วยทหารด้วย

แต่ไม่ห้ามกำลังพลในการสั่งซื้อสินค้า หากมีการสั่ง ก็ให้ออกไปรับนอกพื้นที่หน่วยทหาร

กระเทือนพอสมควรครับ

กำลังพลของกองทัพบกมีประมาณ ๒๔๕,๐๐๐ นาย

ถ้ากองทัพอากาศ กองทัพเรือ เอากับเรื่องนี้ด้วย ยอดกำลังพลจะมีรวม ๓๐๕,๘๖๐ นาย

ไม่ทราบว่าเคยใช้บริการ Lazada กันกี่คน แต่มีผลทำให้รายได้หดแน่นอน

ถามว่ากองทัพบกทำเกินไปหรือไม่?

ถูกต้องแล้วหรือไม่ที่เปิดสงครามกับภาคเอกชน?

คำตอบเรื่องนี้ต้องเข้าไปอยู่ในหัวใจของทหารครับ

ผู้ที่ ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือ ถือน้ำในพิธีดื่มน้ำสาบาน มี ๓ กลุ่มด้วยกัน

๑.ข้าราชการประจำ

๒.ศัตรูที่เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

๓.ทหารที่ถืออาวุธ

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพิธีถือน้ำ  หมายถึงการดื่มน้ำที่เสกแล้วเพื่อสาบานตนว่า จะซื่อสัตย์ ไม่คดโกง และจงรักภักดี

ไม่เฉพาะกับองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น

แต่ยังรวมถึงการจงรักภักดีต่อประเทศชาติบ้านเมืองด้วย

คนรุ่นใหม่อาจมองเป็นเรื่องล้าหลัง แต่ชาติรอดมาได้จนถึงปัจจุบัน เพราะคนสมัยโบราณถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

ตัวสะกดแต่เดิมคือ “น้ำพระพิพัทธ์สัตยา”

“พัทธ” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า “ผูกมัด”

“สัตยา” น่าจะมาจากคำว่า “สัตฺยปาน”

ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “น้ำสัตยสาบาน”

ในรูปภาษาบาลีคือ “สัจจปาน”

ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกในภาษาบาลีว่า “พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล”

“ปานะ” แปลว่า “เครื่องดื่ม” หรือ “น้ำสำหรับดื่ม”

ต่อมาคำว่า “พิพัทธ์สัตยา” เปลี่ยนไปเป็น “พิพัฒน์สัตยา”

ในอดีต การถือน้ำฯ ของข้าราชการประจำ ทหาร ทำปีละ ๒ ครั้ง

ในเดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ครั้งหนึ่ง

และอีกครั้งในเดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพระราชพิธีสำคัญตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยไม่มีเว้นว่าง

แต่เลิกไปเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔  มิถุนายน ๒๔๗๕

กลับมาฟื้นฟูใหม่อีกครั้งในรัชกาลที่ ๙

โดยผนวกเป็นการเดียวกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๑๒ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์สำคัญ คือ หล่อหลอมกล่อมขวัญบรรดาข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนให้ตั้งอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต

และจงรักภักดีต่อประเทศชาติ และองค์พระมหากษัตริย์ อย่างเหนียวแน่น

ผลของการผิดคำสาบาน ระวางโทษไว้เหมือนหนึ่งว่าเป็นกบฏ คือโทษใกล้ความตาย

หากผู้ใดมิได้รักษาคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้ ก็ให้มีอันเป็นไปด้วยอาวุธหอกดาบอันใช้จุ่มในน้ำที่ตนดื่ม

หลังจากการพระราชพิธีเมื่อปี ๒๕๑๒ มีการจัดพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาผนวกกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีขึ้นอีก ๘  ครั้ง

คือ พ.ศ.๒๕๑๖, พ.ศ.๒๕๑๘, พ.ศ.๒๕๒๐, พ.ศ.๒๕๒๒, พ.ศ.๒๕๒๓, พ.ศ.๒๕๒๕, พ.ศ.๒๕๓๓ และ พ.ศ.๒๕๔๙

ครั้งล่าสุดในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี ๒๕๖๒

โองการแช่งน้ำเป็นบทสวดที่ใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ให้ข้าราชบริพารมาสาบานตนว่าจะซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อกษัตริย์ มิฉะนั้นจะมีอันเป็นไปด้วยเหตุร้ายต่างๆ

“โองการ” แปลว่า คำศักดิ์สิทธิ์, คำประกาศของพระมหากษัตริย์ สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า…”โอมการ”

เนื้อหาบทสวดโองการแช่งน้ำ

แบ่งเป็น ๔ ส่วน

ส่วนที่ ๑

ร่ายนำ ๓ บท สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม โดยอธิบายลักษณะของแต่ละองค์ให้เห็นชัด แล้วลงท้ายด้วยการแทงศรศักดิ์สิทธิ์แต่ละเล่มลงไปในน้ำที่ใช้ดื่มเพื่อทำพิธี

ส่วนที่ ๒

กล่าวย้อนไปถึงความเป็นมาของโลก ที่เชื่อกันว่าโลกจะแตกดับเป็นคราวๆ ก่อนพระพรหมสร้างขึ้นมาใหม่ เริ่มต้นด้วยไฟบรรลัยกัลป์มาล้างโลกใบก่อน

ส่วนที่ ๓

เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นพยานและลงโทษผู้ทรยศการถือน้ำ คือ พระรัตนตรัย เทพ ภูตผีปีศาจ มองในเชิงสังคม เป็นส่วนผสมของ ๓ ศาสนา คือ พุทธศาสนา พราหมณ์  (ฮินดู) และความเชื่อพื้นเมือง (ผี) เพราะมีทั้งพระนารายณ์  พระศิวะ พระพรหม มีแม้แต่พระราม พระลักษมณ์ ส่วนผีพื้นเมืองก็คือเจ้าป่า (ภูตพนัสบดี) ศรีพรหมรักษ์ ยักษ์กุมาร ซึ่งพบในลิลิตพระลอ เป็นผีดั้งเดิมในถิ่นแหลมทอง

ส่วนที่ ๔

เป็นแจกแจงรายละเอียดการลงโทษอย่างพิลึกน่าสะพรึงกลัว ด้วยการตายในสารพัดรูปแบบ และการให้รางวัลผู้ซื่อสัตย์ด้วยดี เช่นการปูนบำเหน็จรางวัลและยศศักดิ์

ครับ…นั่นคือที่มาของท่าทีกองทัพบกที่มีต่อ  Lazada

เป็นการแสดงออกถึงเจตนารมณ์ ในการปกป้องสถาบันและใช้มาตรการทางสังคมต่อองค์กรที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมและสร้างความแตกแยกในสังคมไทย

เป็นครั้งแรกที่กองทัพแสดงท่าทีเช่นนี้

หากผู้บริหาร Lazada แสดงความรับผิดชอบมากกว่านี้ สถานการณ์คงไม่บานปลาย ฉะนั้นพึงสำนึกครับว่า นี่แค่เริ่มต้น

ที่ผ่านมาการต่อต้านสินค้า และการให้บริการ ของภาคเอกชน เกิดขึ้นมาเป็นระยะๆ เพราะความเห็นต่างทางการเมือง

ส่วนใหญ่ชั่วครู่ชั่วคราว สุดท้ายลืมกันไปกลับสู่สภาพเดิม

แต่คราวนี้จะแตกต่างออกไป

การโปรโมตขายของ ของ Lazada ถึงตอนนี้กองทัพบกมองว่าเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง

ในขณะผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ไม่แสดงความพยายามที่จะรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นมากพอ

ผู้บริหาร Lazada ประเทศไทย โปรดรู้ไว้ แล้วไปประเมินสถานการณ์ให้ออก

เพราะการส่งสัญญาณลักษณะนี้แทบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน



Written By
More from pp
อิ่มบุญ อิ่มใจ เซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ ส่งมอบความสุขในวันเด็ก
มร. โรเบิร์ต เมาเรอร์ เลิฟเลอร์   ผู้อำนวยการกลุ่มงานปฏิบัติการ – กลุ่มโรงแรมในกรุงเทพฯ และผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ นำทีมคณะผู้บริหารและพนักงานของโรงแรมฯ เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันน้องๆ และมอบเครื่องอุปโภคบริโภค ให้แก่น้องๆ นักเรียนมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมี ขรรค์...
Read More
0 replies on “สัญญาณเตือนจาก ‘ทบ.’ – ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();