ทำไม ‘ปฏิรูป=ล้มล้าง’-ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

เถียงกันไปสิครับ

สามนิ้วบอกว่า ปฏิรูป ไม่เท่ากับ ล้มล้าง

เหล่าบรรดานักยุแยงตะแคงรั่วจากรั้วมหาวิทยาลัยต่างๆ พากันนั่ง ยืน นอนยัน เด็กๆ ไม่คิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง แค่ต้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่คู่ประเทศไทยเท่านั้น

ตอแหลครับ!

โบราณว่า การกระทำสำคัญกว่าคำพูด

ขณะนี้การกระทำของม็อบสามนิ้วตามหลอกหลอนตัวเองแล้วครับ

ทุกอย่างทะลุเพดาน

แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

โจมตีด้วยถ้อยคำหยาบคาย

เผาพระบรมฉายาลักษณ์

แต่งกายล้อเลียน

รวมไปถึงการประกาศเจตนารมณ์ว่า ต้องการปฏิวัติ

ในทางการเมือง การปฏิวัติ หมายถึง การใช้ความรุนแรงทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างเบ็ดเสร็จ ในเวลาอันรวดเร็ว

มีวัตถุประสงค์อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง อุดมการณ์ทางการเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ระบบเศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา และระบบสังคมโดยรวม

แต่ถ้าทำแล้วแพ้ก็คือ “กบฏ”

ฉะนั้นข้อความ “เราไม่ต้องการปฏิรูป แต่เราต้องการ ปฏิวัติ” ที่ปรากฏเป็นฉากหลัง ในการอ่านแถลงการณ์ปฏิรูปสถาบันฯ ๑๐ ข้อ โดย “รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ นั้น ไม่มีทางแปลความเป็นอย่างอื่นได้

นอกจากต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองแบบฉับพลัน

ซึ่งก็คือการปฏิวัติ

คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ มีความชัดเจนในตัวโดยเฉพาะการอธิบายถึงพฤติกรรม แต่ขบวนการล้มเจ้าไม่ยอมรับ อ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญก่อความผิดพลาดครั้งใหญ่

และจะนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่

พรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อไทย สองพรรคการเมืองนี้ แสดงออกชัดเจนถึงการไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะทั้งสองพรรคต่างได้รับผลกระทบจากคำวินิจฉัย ทำให้การเคลื่อนไหวสนับสนุนขบวนการที่ทำลายหรือทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องสิ้นสลาย ซึ่งเป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะเป็นไปอย่างยากลำบากยิ่งขึ้น

เพราะเสี่ยงต่อการร้องยุบพรรค

ฉะนั้นการอ้างว่า เด็กๆ เคลื่อนไหวอย่างบริสุทธิ์ใจ กฎหมายต้องให้ความเป็นธรรม เป็นแค่เรื่องลิงหลอกเจ้า

ถุย!

ขนาดติดคุก “อานนท์ นำภา” ยังแสดงความเห็นด่าศาลรัฐธรรมนูญผ่านโซเชียลได้

นี่คือตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่แสดงให้เห็นถึงเบื้องหลังการเคลื่อนไหวว่า ยังมีเบื้องหลังของเบื้องหลังซ่อนอยู่

อีกข้อถกเถียงที่น่าสนใจ

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำของ “อานนท์ ไมค์ รุ้ง” เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๙  วรรคหนึ่ง

“บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้”

มีคนแย้งว่า มิใช่หมายความว่าจะเอาผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา มาตรา ๑๑๓ เสมอไป

ก็ใช่ครับ

ม.๑๑๓ บัญญัติว่า ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ

 (๑) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ

 (๒) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ

 (๓) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร

วรรคสอง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

ฉะนั้นเมื่อไม่มีการกำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ก็ไม่ถือว่าเข้าข่าย ม.๑๑๓

พฤติกรรมของม็อบ ๓ นิ้วที่ผ่านมาเข้าข่ายใช้กำลัง หรือขู่เข็ญ แล้วหรือยัง

กลับไปดู ๑๐ ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์สิครับ แล้วจะพบความจริงว่า เจตนาและท่าทีเข้าข่ายใช้กำลัง หรือขู่เข็ญ หรือไม่

๑.ยกเลิกมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญ ที่ว่าผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ ให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้

 ๒.ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ เปิดให้ประชาชนใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ นิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์

 ๓.ยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561

๔.ตัดลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์

๕.ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ เช่น หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ให้ย้ายไปสังกัดหน่วยงานอื่น คณะองคมนตรี

๖.ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อกำกับให้การเงินของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด

๗.ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ

๘.ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์แต่เพียงด้านเดียวจนเกินงาม

๙.สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเข่นฆ่าราษฎรที่วิพากษ์วิจารณ์หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์

๑๐.ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีก

ทั้ง ๑๐ ข้อ เป็นกระแสที่ปั่นโดยเครือข่าย ขบวนการที่ทำลายหรือทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องสิ้นสลาย มาต่อเนื่อง

การสังหารเข่นฆ่าราษฎร ล้วนเป็นข่าวโคมลอย ไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น

จะว่าไปแล้วเป็นข่าวชงเองกินเองด้วยซ้ำ

แต่ลัทธิสามนิ้วกลับนำมาเป็นประเด็นหลักในการเคลื่อนไหว

บางประเด็น พรรคก้าวไกล นำไปเคลื่อนไหวในสภา โดยเฉพาะประเด็นงบประมาณ จับแพะชนแกะ รวบรวมงบประมาณส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบัน

แล้วอ้างว่า ทั้งหมดคืองบสถาบัน

นี่เป็นการบิดเบือนที่น่าละอายที่สุด เพราะพรรคก้าวไกลรู้ดีว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อาจลงมาสู้รบปรบมือได้

และคำถามคือ ความประสงค์ที่จะยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา ๖  กฎหมายอาญา ม.๑๑๒ นั้น เพื่อเปิดประตูไปสู่อะไร

ใช้กำลัง หรือขู่เข็ญ ในภายหลังหรือไม่?

ก็ในเมื่อหัวขบวนเชื่อในแนวทางปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ใช่หรือ

นี่คือเหตุผลว่า ‘ปฏิรูป’ ในความหมายของ กลุ่มคนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ล้มล้างการปกครองนั้น ไม่ใช่เป็นการทำให้ดียิ่งขึ้น

แต่เจตนาต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์สิ้นสลายต่างหาก



Written By
More from pp
แดง พระโขนง – สันต์ สะตอแมน
ผสมโรง สันต์ สะตอแมน วันแรกโกย 8 ล้านบาททั่วประเทศ! อย่างงี้ ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับบริษัทเอ็ม พิคเจอร์ และ “บั้งไฟฟิล์ม” เสียหน่อย...
Read More
0 replies on “ทำไม ‘ปฏิรูป=ล้มล้าง’-ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();