มะเร็งปอดกับผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่

ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์
ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก
โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

หลาย ๆ คน มักจะสงสัยว่าผู้หญิงที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย กลับพบเจอหรือป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด ซึ่งจากสถิติเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งปอดจากสมาคมปอดนานาชาติ (The International Association for the Study of Lung Cancer) พบว่า จำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับการวินิจฉัยในแต่ละปีลดลง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดลงของจำนวนผู้สูบบุหรี่ แต่ในทางกลับกัน มีรายงานการศึกษาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกี่ยวกับอัตราการเกิดมะเร็งปอดในผู้หญิง โดยผลการวิจัยนั้นได้รายงานว่า

โรคมะเร็งปอดในผู้หญิงอายุระหว่าง 35 ถึง 54 ปีพบได้บ่อยกว่าในกลุ่มผู้ชายที่มีอายุเท่ากัน โดยสาเหตุนั้น เราไม่ทราบว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แต่เรามีทฤษฎีบางอย่างอาจเป็นเพราะผู้หญิงเผาผลาญสารก่อมะเร็งที่พบในควันบุหรี่แตกต่างจากผู้ชายหรืออาจเป็นเพราะผู้หญิงมีความอ่อนไหวต่อการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมบางอย่าง

เช่น มลพิษทางอากาศและก๊าซเรดอน ซึ่งเป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่พบตามธรรมชาติในบางสภาพแวดล้อม แต่ยังไม่มีการยืนยันความเชื่อมโยงโดยตรง และยังมีอีกหลายสิ่งอีกมากที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอดที่เราจำเป็นต้องศึกษา

แม้ว่าอัตราการเกิดมะเร็งปอดจะลดลงในทั้งชายและหญิงทุกวัยแล้วก็ตาม แต่ก็ลดลงช้ากว่าในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า นี่คือเหตุผลที่มีจำนวนผู้หญิงมากกว่าผู้ชายได้รับการวินิจฉัยจากลุ่มอายุนี้ ที่มีโอกาสเสี่ยงป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดค่อนข้างมาก

ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า จากข้อมูลสถิติที่เชื่อถือได้ คาดการณ์ว่าในปี 2573 หรือภายใน 6 ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่เพศหญิงในประเทศไทยมากกว่า 11,200 คน เพิ่มขึ้นประมาณ 35% จากจำนวนผู้ป่วยเพศหญิงรายใหม่จำนวน 8,300 คน จากปี 2565

แน่นอนว่าการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งปอดสะท้อนให้เห็นถึงการแพร่กระจายของปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค ไม่เพียงแค่การสูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือประสบกับมลพิษทางอากาศ เท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญอีก เช่น การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม ที่อาจเป็นต้นเหตุของโรคนี้ได้เช่นกัน

ซึ่งจากงานวิจัยจากสมาคมปอดนานาชาติ เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม อาจเป็นสาเหตุอีกประเด็นของโรคมะเร็งปอด ตัวอย่าง เช่น การกลายพันธุ์ในยีน EGFR (Epidermal Growth Factor Receptor) ที่เป็นที่แพร่หลายในประชากรในทวีปเอเชียและอาจเป็นสาเหตุการก่อให้เกิดมะเร็งปอดด้วย โดยไม่เกี่ยวโยงกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วย

การวิจัยระบุว่าประมาณ 30-40% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดในเอเชียมีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าประชากรชาวตะวันตกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่พบว่าการเกิดจากยีนกลายพันธุ์ (หรือการเปลี่ยนแปลง) ในยีนที่เรียกว่า EGFR นั้น การกลายพันธุ์นี้มีแนวโน้มที่จะพบได้ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ไม่เคยสูบบุหรี่

นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยกว่าในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงชาวเอเชีย ผู้ที่เป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับ EGFR เหล่านี้ไม่มีลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ป่วยมะเร็งปอด “ทั่วไป” เมื่อจำนวนมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ลดลง สัดส่วนโดยรวมของมะเร็งปอดในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงมะเร็งที่เกิดจาก EGFR และการกลายพันธุ์ของยีนเฉพาะอื่น ๆ จะเพิ่มขึ้นโดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งปอดเหมือนกันทั้งชายและหญิง

นอกจากนี้ยังไม่แตกต่างกันไปตามอายุ เชื้อชาติ หรือประวัติการสูบบุหรี่ ซึ่งจะมีอาการไอเรื้อรัง รวมถึงไอเป็นเลือด มีเสียงหวีดหรือหายใจถี่ มีอาการเจ็บหน้าอก เสียงแหบ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ในปัจจุบันปัญหาที่พบคือเมื่อคนที่อายุน้อย ผู้หญิงหรือคนที่ไม่สูบบุหรี่ หากสงสัยว่าป่วยด้วยอาการมะเร็งปอด ควรไปพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ แต่โอกาสที่จะเป็นมะเร็งจะเกิดน้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่เป็นชายสูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่

ผศ.นพ.ศิระ กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดส่วนใหญ่ ยังคงพบในระยะลุกลามมากกว่าในระยะเริ่มต้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้การรักษาได้ผลได้ไม่ดีมากนัก เนื่องจากตัวโรคนั้น มีการตอบสนองกับยาเคมีบำบัดได้ไม่ดี

อย่างไรก็ตามจากการศึกษาล่าสุด จากสมาคมปอดนานาชาติ พบว่าอัตราการรอดชีวิตจากมะเร็งปอดดีขึ้น สาเหตุนี้เกิดจากความก้าวหน้าในการตรวจหาการวินิจฉัยและการรักษามะเร็งปอด ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งปอดจำนวนมากได้รับการรักษาหายหรือมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น โดยเฉพาะมะเร็งระยะที่ 4 จากยารักษาที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น

เช่น ยาพุ่งเป้า (Target therapy) หรือ ยาภูมิคุ้มกันบำบัด ( immunotherapy) ฉะนั้นการรักษามะเร็งปอดนั้นที่สำคัญที่สุด คือยิ่งเราตรวจพบมะเร็งปอดเร็วเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น และอาการของมะเร็งปอดหลายอย่างเป็นเรื่องปกติ

แต่สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักร่างกายของคุณ หากคุณรู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อโอกาสที่จะหายขาดได้มากที่สุด ผู้สนใจสามารถเข้ามาศึกษาเรื่องของมะเร็งปอด โดยปรึกษาเพจเฟซบุ๊ก ผ่าตัดปอดโดยผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ได้ที่ Lineid:@lungsurgeryth หรือเว็บไซต์ https://www.siradoctorlung.com

Written By
More from pp
ไอ.พี. วัน ยกผลิตภัณฑ์ไฮยีน (Hygiene) เสริมทัพ OTTERI และมูลนิธิกระจกเงา เติมความสุข สร้างรอยยิ้ม เสริมสุขอนามัยให้คนไร้บ้าน ได้มีเสื้อผ้าสะอาด ปลอดภัย ในงาน “วันซักผ้าและอาบน้ำแห่งชาติ” ครั้งแรกในไทย!
บริษัท ไอ.พี. วัน จำกัด นำทีมโดย ธิติ ธเนศวรกุล (รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอ.พี.วัน จำกัด) ร่วมกับ กวิน นิทัศนจารุกุล (CEO ผู้สร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์ OTTERI...
Read More
0 replies on “มะเร็งปอดกับผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่”