ยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์ – สันต์ สะตอแมน

สันต์ สะตอแมน

“นาฎราช”ครั้งที่ 14 เพิ่งผ่านพ้นไป!

ปีนี้..เช่นเคย ผมไม่ได้ไปร่วมงาน แต่ได้ติดตามดูจากข่าว ก็ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกๆท่าน ซึ่งก็เห็นว่าเหมาะสมแล้ว ยกเว้นบางท่านที่ดูจะขัดใจ-ขัดตาอยู่บ้าง

อย่างไรก็ตามการประกาศรางวัล “นาฎราช” ของสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดมา ปีนี้เป็นปีที่ 14 ก็ไม่ค่อยจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในด้านลบสักเท่าไร

หรือจะพูดว่า “ไม่มีเลย” ก็ไม่น่าจะผิด นั่นแสดงว่าแม้จะมีคนเห็นแย้งอยู่บ้าง แต่ก็ยังคงเชื่อมั่นและศรัทธาใน “นาฏราช” ว่าบริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส!

คุณเขมทัตต์ พลเดช อดีตนายกสมาพันธ์สมาคมฯ ได้โพสต์หลังการมอบรางวัล (ขออนุญาตคัดลอกบางช่วงตอน)  ว่า..

“concept ที่ยิ่งใหญ่มิใช่พิธีมอบรางวัล แต่เป็นที่มาของรางวัลว่า “ เป็นรางวัลที่บุคลในวิชาชีพบันเทิงโหวตให้ผลงานและบุคคลในวงการเดียวกัน”

ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า การผลิตcontent ในแต่ละสถานี หรือ แต่ละค่ายจัดละคร หรือ ทีมข่าว ต้องมีการแข่งขันในเรื่องความนิยมของผู้ชมที่วัดด้วย Rating

แต่เมื่อถึงการโหวตคัดเลือกจากคนในวงการ 400 กว่าคน ที่เรียกว่า voter นั้น เป็นสิ่งที่คนบันเทิงยอมรับและภาคภูมิใจเหนือกว่า การมอบรางวัลอื่นๆ

เพราะเท่ากับคู่แข่งของวงการบันเทิงสร้างสรรค์ ยังต้องยอมรับในฝีไม้ลายมือของเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกันแม้จะอยู่ต่างค่าย..

ผมจึงขอสรุปและประมวลงานประกาศ รางวัลนาฎราช ครั้งที่ 14 ดังนี้ 1)concept ยังคงยึดมั่นในแนวทางคนบันเทิงโหวตให้คนในวิชาชีพเดียวกัน 2)สัดส่วน voter มีการเฉลี่ยในสัดส่วนที่เท่าๆกัน

ในแต่ละสถานี ประมาณ 80% ของvoter ทั้งหมด ที่เหลือ เป็น voter ผู้คร่ำหวอดในวงการทั้งศิลปินอาวุโส ผู้กำกับproducer , นักวิชาการด้านสื่อสาร , คนเขียนบท และอื่นๆ ซึ่งสมาพันธ์ ทาบทาม

3)เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตรายการหรือค่ายละคร สามารถส่งผลงานเพิ่มได้ นอกเหนือจากที่สถานีโทรทัศน์ส่งผลงาน เข้าประกวด

4)ปีนี้ แพลตฟอร์มออนไลน์ ส่งผลงานเข้าประกวดเยอะหลายเรื่อง โดยเฉพาะผลงานคุณภาพหลายเรื่องจาก Netflix และVIU Tv ที่เป็นสมาชิกสมาพันธ์

5)ปรับระบบจัดเก็บข้อมูล/คะแนน จากที่มอบให้บริษัทเอกชนดำเนินการ เปลี่ยนมาเป็นระบบประมวลผลของ 4 มหาวิทยาลัย

คือ NIDA , วารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์ , นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิเทศศาสตร์ ABAC ซึ่งมาตรฐานการประมวลผลและการเก็บคะแนนยังเป็นความลับจนถึงวันประกาศ เช่นเดิม

6)จัดการประกาศผลแบบ New normal ผ่านระบบออนไลน์ เพจ “หน้าจอ” ของสมาพันธ์สมาคม และlink. ไปกับเพจและApplication ของสถานีโทรทัศน์ต่างๆอีกหลายแห่ง…

สิ่งที่น่าสังเกตในบรรดารางวัลนาฎราช ปีนี้ คือ คุณภาพของการผลิต การกำกับ และบทบาท การแสดง รวมทั้ง องค์ประกอบของการผลิต ในทุกcontent ที่ได้รางวัล มีความประณีตและพิถีพิถันมากขึ้น

content หลายเรื่องได้รับการออกอากาศในต่างประเทศ รวมทั้งplatform ต่างประเทศ ซึ่งหมายถึงการสร้าง value ที่่เกิดขึ้นจาก soft power ของกลุ่มผู้ผลิตในประเทศที่ต่างชาติยอมรับมากขึ้น..

softpower ของไทยมีมาตรฐานและผู้ผลิตรายการระดับโลกมักชอบมาทำงานในประเทศไทย เพราะครบทุกอย่าง ยกเว้น Studio ขนาดใหญ่

ซึ่งต่างประเทศต้องการsize ของสตูดิโอที่มีขนาด 3000 ตารางเมตรขึ้นไป.. เรื่องนี้ คงต้องรอแนวทางการส่งเสริมจากรัฐบาลชุดใหม่ด้วย

เพราะเท่าที่เห็นจากการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ softpower แห่งชาติขึ้นมาล่าสุด ยังไม่มีชื่อผู้แทนจากองค์กรวิชาชีพผู้ผลิตcontent ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญsoftpower ไปนั่งสักคน

ก็หวังว่า นโยบายผลักดัน softpower ของไทย จะได้ไม่สนับสนุนแบบ soft soft อีกต่อไป”

ครับ..ฝากรองประธานยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์ พิจารณาด้วยล่ะกัน!

Written By
More from pp
จุรินทร์ สั่งงานพาณิชย์-ร่วมเอกชน รับมือระบายลำไยและผลไม้ตามฤดูกาลเป็นระบบ
วันที่ 27 มิ.ย.63 เวลา 11.15 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงสถานการณ์ผลไม้ในประเทศว่า...
Read More
0 replies on “ยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์ – สันต์ สะตอแมน”