“อนุทิน” เผย ไทยเข้ารับการประเมินความจำเป็นเพื่อทบทวนมาตรการควบคุมยาสูบของประเทศ ตามกรอบอนุสัญญาองค์การอนามัยโลก

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย ประเทศไทยเข้ารับการประเมินความจำเป็นเพื่อทบทวนมาตรการควบคุมยาสูบตามกรอบอนุสัญญาองค์การอนามัยโลก เพื่อควบคุมและคุ้มครองสุขภาพประชาชนให้ปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบ

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผย ประเทศไทยเข้ารับการประเมินความจำเป็นเพื่อทบทวนมาตรการควบคุมยาสูบตามกรอบอนุสัญญาองค์การอนามัยโลก เพื่อควบคุมและคุ้มครองสุขภาพประชาชนให้ปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบ พร้อมสนับสนุนส่งเสริมความเข้มแข็งศักยภาพการดำเนินงานควบคุมยาสูบให้เกิดประสิทธิภาพ นำไปสู่การจัดการกับปัญหาโรคไม่ติดต่ออย่างยั่งยืน
15 มิถุนายน 2566 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ดร.เอเดรียน่า แบลนโค มาร์กิโซ (Dr. Adriana Blanco Marquizo) หัวหน้าสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติร่วมแถลงข่าว การประเมินความจำเป็น (Needs Assessment) เกี่ยวกับการดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย

นายอนุทิน กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐภาคีต้องปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาฯ อย่างเคร่งครัด

โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ออกนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการและแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องและรองรับกับพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าว รวมถึงตรากฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ควบคุมและคุ้มครองสุขภาพประชาชนให้ปลอดจากโทษ พิษภัย และผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกรูปแบบ พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมความเข้มแข็งศักยภาพการดำเนินงานควบคุมยาสูบให้เกิดประสิทธิภาพ นำไปสู่การจัดการปัญหาโรคไม่ติดต่ออย่างยั่งยืน

ด้าน ดร.เอเดรียน่า แบลนโค มาร์กิโซ ได้กล่าวแสดงความชื่นชมต่อประเทศไทย พร้อมสนับสนุนให้คงมาตรการห้ามนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทุกรูปแบบ เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากการติดนิโคติน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของธุรกิจยาสูบ ในการพยายามล่อลวงให้เด็กและเยาวชนเริ่มใช้บุหรี่ไฟฟ้า ด้วยวิธีการสร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้มีความเย้ายวน น่าสนใจและสร้างกลิ่น-รสชาติที่มีความจูงใจ และกล่าวอ้างว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่าสำหรับผู้สูบบุหรี่

โดยประเทศไทยควรเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการโฆษณาและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทางออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้นักสูบหน้าใหม่เข้าถึงง่าย ควบคู่กับการสร้างการรับรู้และการตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าให้แก่ประชาชน รวมถึงควรพัฒนาขีดความสามารถการดำเนินงานตามกรอบอนุสัญญา WHO FCTC

ทั้งในระดับส่วนกลางและขยายลงสู่พื้นที่ ผ่านกลไกความร่วมมือเพื่อการควบคุมยาสูบของประเทศ อย่างไรก็ตามสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกและประเทศไทย จะร่วมกันจัดทำรายงานการประเมินความจำเป็น (Need Assessment) เพื่อให้ประเทศไทยนำข้อมูลไปใช้ประกอบการพิจารณาพัฒนา ปรับปรุงและยกระดับการดำเนินงานต่อไป

ด้าน ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า กรอบอนุสัญญา WHO FCTC ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของการควบคุมยาสูบซึ่งรัฐภาคีได้มีฉันทามติรับรอง และเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั่วโลกถึงความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการนำมาใช้เป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ ร่วมมือกันเสนอนโยบายและแผนยุทธศาสตร์

กำหนดมาตรการการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ การคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่และการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพของผู้เสพติดผลิตภัณฑ์ยาสูบ โดยประเทศไทยนำมาใช้เป็นทิศทางและขับเคลื่อนผ่านกลไกคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด

Written By
More from pp
ประกันสังคมจ่ายกรณีว่างงาน แก่ลูกจ้างบริษัทมิตซูฯ ชลบุรี ที่ถูกเลิกจ้าง ร้อยละ 70 นานถึง 200 วัน ตามกฎกระทรวงฉบับใหม่
จากกรณีข่าว บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอนซูเมอร์โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด จ.ชลบุรี เลิกจ้างลูกจ้างจำนวนกว่า 1,000 คน นายทศพล...
Read More
0 replies on ““อนุทิน” เผย ไทยเข้ารับการประเมินความจำเป็นเพื่อทบทวนมาตรการควบคุมยาสูบของประเทศ ตามกรอบอนุสัญญาองค์การอนามัยโลก”