เข้าข่ายกระทำผิด พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง ! “เรืองไกร” ยื่น ปปช.สอบ คณะกรรมการ กปน. กรณีเพิ่มสเป็ก ตัดสิทธิ์เอกชนบางราย หวั่นทำรัฐเสียหาย 250 ล้านบาท ปมฉาว ประมูลขยายโรงประปามหาสวัสดิ์

จากกรณีที่ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลาง ทำหน้าที่เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบให้ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มีคุณสมบัติครบ ตามเอกสารประกวดราคา (TOR) ในการเข้าร่วมการประมูลจ้างก่อสร้างขยายกำลังการผลิตน้ำที่โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ พร้อม ให้ กปน.กลับไปดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาข้อเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้อง หลังจาก 2 เอกชน ถูกตัดสิทธิ์ การเข้าประมูลขยายโรงงานผลิตน้ำ เนื่องจากทางคณะกรรมการของ กปน.อ้างว่า มีคุณสมบัติไม่ครบ ขาดผลงานก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปา ไม่น้อยกว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน วงเงินไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท ตามเอกสารประกวดราคาจ้าง ข้อ 2.11

ที่ต่อมา ทางเอกชน พบว่า มีการเพิ่มคุณสมบัติเรื่องกำลังการผลิตสุทธิเข้ามาภายหลัง นำมาซึ่งการยื่นอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ได้ยืนยันว่าเอกชนมีคุณสมบัติครบถ้วนในการประมูล ตามที่เป็นข่าวนั้น

ล่าสุด 28 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ได้ยื่นเอกสารแก่ประธานกรรมการ ปปช. ขอให้ตรวจสอบคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ โครงการก่อสร้างขยายกำลังการผลิตน้ำที่โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ การประปานครหลวง ว่า เข้าข่ายกระทำผิดตามความในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มาตรา 120 หรือไม่ โดยแนบเอกสารของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง เรื่องผลการพิจารณาอุทธรณ์ของเอกชน และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องมาให้พิจารณาร่วมด้วย

ในเอกสารถึง ปปช.นายเรืองไกร ระบุว่า

ข้อ 1. ตามหนังสือที่ส่งมาด้วย(เอกสารของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง) 1. ระบุไว้ส่วนหนึ่ง โดยความในหน้า 1 ระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน (คณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์) ได้พิจารณาค่าอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ และตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์พิจารณาแล้ว เห็นว่า

…ตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 2.11 การประปานครหลวง กำหนดให้ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานก่อสร้างระบบตกตะกอนและระบบกรอง น้ำสําหรับระบบผลิตน้ำประปา พร้อมงานที่เกี่ยวข้องขนาดไม่น้อยกว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันในสัญญาเดียวกัน วงเงินไม่น้อยกว่า 300,000,000 บาท ตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 2.11 ดังกล่าว
การประปานครหลวงมิได้ค่าหนดเงื่อนไขว่าจะพิจารณาผลงานของผู้ยื่นข้อเสนอโดยใช้ขนาดของระบบผลิต ซึ่งต้องหักน้ำสูญเสียออกจากผลงานการผลิตเพื่อพิจารณากำลังการผลิตสุทธิ และการประปานครหลวงมิได้แสดงเอกสารทางวิชาการของหน่วยงานในสหรัฐอเมริกาที่แจ้งว่า กําลังการผลิตสุทธิ ควรพิจารณาโดยหักน้ำสูญเสียออกเพื่อให้ผู้ยื่นข้อเสนอ ทราบตั้งแต่ต้น

ประกอบกับกรณีนี้ ผู้อุทธรณ์รายบริษัท ชิโน-ไทยฯ ยื่นหนังสือรับรองผลงานที่มีงานติดตั้งระบบผลิตนําประปา ขนาด 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และผู้อุทธรณ์รายบริษัท วงษ์สยามก่อสร้างฯ ได้ยื่นหนังสือรับรองผลงานที่มีกำลังการผลิต Nominal Capacity 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (96,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน) เผื่อสูญเสีย ภายในอีก 10% เป็น 4,400 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (105,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน)

กรณีนี้ ผู้อุทธรณ์ทั้ง 2 ราย จึงยื่นข้อเสนอเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดในเอกสารประกวด ราคาอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 2.11 แล้ว ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างของผู้อุทธรณ์ทั้ง 2 ราย ฟังขึ้น และมีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสําคัญ จึงให้การประปานครหลวงกลับไปดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาผลการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้องต่อไป ตามนัยมาตรา 119 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560

ข้อ 2. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัด อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสาม บัญญัติว่า “ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ฟังขึ้นและมีผลต่อการจัดซื้อ จัดจ้าง อย่างมีนัยสําคัญ ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการให้มีการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ หรือเริ่มจากขั้นตอนใดตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น หรือไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสําคัญ ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐเพื่อทําการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป การวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด”

ข้อ 3. ดังนั้น การวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ที่ให้การประปา นครหลวงกลับไปดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาผลการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอ ให้ถูกต้องต่อไป จึงเป็นที่สุด ตามนัยมาตรา 119 วรรคสาม อันแสดงให้เห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์พิจารณาแล้วนั้น ไม่ถูกต้อง ความไม่ถูกต้องดังกล่าว มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสําคัญ กรณีจึงมีประเด็นที่ควรพิจารณาตามมาว่า คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเจ้าหน้าที่ ตามนัยมาตรา 4 ซึ่งมีการกระทําที่เข้าข่ายตามนัยมาตรา 120 หรือไม่

ข้อ 4. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 120 บัญญัติว่า “มาตรา 120 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้มีอานาจหน้าที่ในการดาเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ ตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหาร พัสดุตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่ง ถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่ สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ผู้ใดเป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ผู้นั้นต้องระวางโทษตามที่กําหนดไว้สําหรับความผิดตามวรรคหนึ่ง”

ข้อ 5. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ที่เกี่ยวข้อง บัญญัติไว้ดังนี้ มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้

“เจ้าพนักงานของรัฐ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และคณะกรรมการ ป.ป.ช.

“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือ เงินเดือนประจํา ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐหรือในรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ หรือเจ้าพนักงานอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และบุคคล หรือคณะบุคคล บรรดา งมีกฎหมายกำหนดให้ใช้ านาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐด้วย แต่ไม่รวมถึงผู้ ารงตาแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กร อิสระ และคณะกรรมการ ป.ป.ช.

“ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำาแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อานาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือ ผู้อื่น หรือกระทําการอันเป็นความผิดต่อต่าแหน่งหน้าที่ราชการหรือ ความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น

ข้อ 6. ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 เว็บไซต์สํานักข่าวอิศรา หัวข้อ ตัดสิทธิเอื้อบางราย? ย้อนปมประมูลขยายโรงงานนา 6.5 พันล. ก่อนเอกชนยื่นอุทธรณ์คุณสมบัติ ลงข่าวไว้ส่วนหนึ่งว่า “2 บริษัท เสนอราคาต่ำกว่า “ผู้ชนะ” แต่ถูกตัดสิทธิร่วมประมูล

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2554 การประปานครหลวง (กปน.) ออกประกาศ เรื่องประกวดราคาจ้างก่อสร้างขยายก่าลังการผลิต า โรงงานผลิตน้ามหาสวัสดิ์ขนาด 800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมงานที่เกี่ยวข้องสัญญา GE-MS5/6-9 ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคากลาง 6,526.97 ล้านบาท เมื่อกำหนดยื่นข้อเสนอ (e-bidding) ในวันที่ 15 ธ.ค. 2564 มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 5 ราย จากเอกชนที่ชื่อชอง 9 ราย ผลปรากฏว่า บริษัทฯ เสนอราคาต่ำ สุด 3 อันดับแรก

ได้แก่ อันดับ 1 บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จํากัด เสนอราคา 6,150 ล้านบาท อันดับ 2 บมจ.ชิโน-ไทยฯ เสนอราคา 6,195.3 ล้านบาท อันดับ 3 ITA Consortium (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) และบริษัท อาควาไทย จํากัด) เสนอราคา 6.460 ล้านบาท แต่ปรากฏว่า บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จํากัด ถูกตัดสิทธิไม่ได้รับการพิจารณา เนื่องจาก กปน. แจ้งว่า วงษ์สยามก่อสร้าง มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน เพราะ “มีคุณสมบัติ ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ตามที่กําหนดในประกาศประกวดราคาข้อ 11 และเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 2.11”

ขณะที่ บมจ.ชิโน-ไทยฯ ซึ่งถูกตัดสิทธิจากการเข้าร่วมประมูลด้วย นั้น กปน. แจ้งว่า บมจ.ซิโน-ไทยฯ มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน เนื่องจาก ผลงานก่อสร้างที่ใช้ยื่นเป็น คุณสมบัติ ถูกตีความว่ามีขนาดน้อยกว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ส่งผลให้ ITA Consortium (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) และบริษัท อาควาไทย จํากัด) ซึ่งเสนอราคามาเป็นอันดับ 3 ที่ 6,460 ล้านบาท ชนะการประมูล จากนั้น กปน. เจรจาต่อรองราคากับ ITA Consortium และลดราคาจ้างลงมาเหลือ 6,400 ล้านบาท ก่อนจะประกาศให้ ITA Consortium เป็นผู้ชนะการเสนอราคา เมื่อวันที่1 มีนาคม 2565

ข้อ 7. ดังนั้น โดยผลของการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ ระบุว่า “กรณีนี้ผู้อุทธรณ์ทั้ง 2 ราย จึงยื่นข้อเสนอเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำาหนดในเอกสาร ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 2.11 แล้ว ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างของผู้อุทธรณ์ทั้ง 2 ราย ฟังขึ้น และมีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีนัยสําคัญ จึงให้การประปานครหลวงกลับไป ดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาผลการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้องต่อไป” ย่อมแปลความได้ว่า การพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ถูกต้องตาม TOR ข้อ 2.11 และอาจทําให้รัฐต้องเสียเงินแผ่นดินสูงไป กว่าที่ควร ประมาณ 250 ล้านบาท (6400 – 6150 = 250) กรณี จึงมีมูลเหตุที่ ป.ป.ช ต้องเนินการตามหน้าที่และอ่านาจตามความใน พรป.ปปช. มาตรา 28 (2) ต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อขอให้ ป.ป.ช. รับตรวจสอบว่าคณะกรรมการพิจารณาผลการ ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ โครงการก่อสร้างขยายกำลังการผลิตน้าที่โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ การประปานครหลวง เข้าข่ายกระทําความผิดตามความในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 120 วรรคหนึ่ง หรือไม่ และ ผู้ใดเป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทําความผิดตามความในวรรคสอง หรือไม่


Written By
More from pp
รพ.ศิริราช ประกาศฉีดวัคซีน Pfizer เฉพาะสตรีมีครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์และผู้ป่วยเด็กอายุ 12-18 ปี
โรงพยาบาลศิริราช เปิดให้จองฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer สำหรับสตรีมีครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และ ผู้ป่วยเด็กอายุตั้งแต่ 12 ถึง...
Read More
0 replies on “เข้าข่ายกระทำผิด พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง ! “เรืองไกร” ยื่น ปปช.สอบ คณะกรรมการ กปน. กรณีเพิ่มสเป็ก ตัดสิทธิ์เอกชนบางราย หวั่นทำรัฐเสียหาย 250 ล้านบาท ปมฉาว ประมูลขยายโรงประปามหาสวัสดิ์”