๒๕๖๕ ปีของโอมิครอน-ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

วันสุดท้ายของปี ๒๕๖๔ แล้วครับ

๓๖๕ วันเต็ม ที่ต้องนึกถึง โควิด กันแทบทุกวัน

เพราะโควิดเข้ามาอยู่ในทุกซอกทุกมุมของชีวิต

ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ล้วนเกี่ยวพันด้วยโควิดทั้งสิ้น

นับแต่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ไม่น่าจะมีภัยทั้งธรรมชาติ และภัยที่มนุษย์สร้างขึ้นภัยใด กระทบกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั่วโลกมากไปกว่านี้อีกแล้ว

ฉะนั้น การประเมินทุกสิ่งทุกอย่าง จะใช้ตัวแปรในยามปกติไม่ได้เลย

แม้กระทั่งการประเมินการทำงานของรัฐบาล

ต่างกันมากนะครับการบริหารประเทศในสถานการณ์ปกติของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับสถานการณ์โควิดที่สร้างความเสียหายไปทั่วโลกในรัฐบาล “ลุงตู่”

หากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่ดูถูกประชาชนด้วยการเสนอ พ.ร.บ.นิรโทษโกงยกเข่ง ไม่ทุจริตจำนำข้าว ก็ยังสามารถบริหารประเทศต่อไปได้

ที่สำคัญไม่มีรัฐประหาร

ไม่มีรัฐบาลประยุทธ์ ไม่มีพรรคพลังประชารัฐ และอาจไม่มีพรรคก้าวไกล

สองพรรคใหญ่คือเพื่อไทย กับประชาธิปัตย์ ก็ยังคงเป็นคู่แข่งทางการเมืองกันอยู่

แต่เมื่อมีก้าวที่พลาดเพียงก้าวเดียว หลายก้าวหลังจากนั้น ทำให้การเมืองเปลี่ยนโฉม

แทนที่จะมีรัฐบาลเพื่อไทย หรือไม่ก็รัฐบาลประชาธิปัตย์ สู้กับโควิด-๑๙

ก็กลายเป็นรัฐบาลลุงตู่มาทำหน้าที่แทน

นักการเมืองมักยกยอตัวเองว่าเก่งกว่าคนอื่นอยู่เสมอ

มีการพูดกันว่า หากเป็นรัฐบาลเพื่อไทย หรือรัฐบาลประชาธิปัตย์  ประเทศไทยจะสามารถสู้กับโควิด-๑๙ ได้ดีกว่านี้

พ่นน้ำลายครับ

ด้วยประสิทธิภาพของนักการเมืองที่มีอยู่ มองไม่ออกจริงๆ ว่า หากเป็นรัฐบาลพรรคอื่น ไทยจะสู้กับโควิดได้ดีกว่ารัฐบาลลุงตู่ได้อย่างไร

ขนาด ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่ว่าแน่ชาวโลกถูกเป่าขมองให้เชื่อว่า อเมริกาเอาชนะโควิดได้แน่นอน อย่างน้อยๆ ต้องเหนือกว่า โดนัลด์ ทรัมป์

สุดท้าย โควิด ยังเหนือกว่า โจ ไบเดน

หากนับจากยอดผู้ติดเชื้อ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ช่วงเย็นในเวลาประเทศไทย ตัวเลขทะลักไปถึง ๔๖๕,๖๗๐ คน

ถ้าพรรคการเมืองไหนคิดว่าตัวเองสามารถเอา โควิด อยู่หมัด ให้สรุปได้เลย ขี้โม้

ตลอดปี ๒๕๖๔ โลกตกอยู่ในอุ้งมือของโควิด แต่มนุษย์ก็เรียนรู้ที่จะต่อสู้กับโควิด ไปพร้อมๆ กับพยายามอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้

มาถึงรอยต่อปี ๒๕๖๔ และ ๒๕๖๕ ช่างบังเอิญ เป็นรอยต่อระหว่างโควิด-๑๙ สายพันธุ์ โอมิครอน กับเดลตา เช่นกัน

ก็เท่ากับปี ๒๕๖๔ เป็นปีของเดลตา

ส่วนปี ๒๕๖๕ เป็นปีของโอมิครอน

ทุกประเทศในโลกจะเริ่มต้นปี ๒๕๖๕ กันอย่างยากลำบาก แม้จะมีข้อมูลออกมาเป็นระยะว่า โอมิครอน จะสร้างผลกระทบน้อยกว่าเดลตา

แต่วางใจไม่ได้เพราะมนุษย์ยังไม่รู้จักโควิด-๑๙ ดีพอ

“ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส” ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนให้รับรู้ถึงภัยของโควิดถี่ยิบ

“…การผสมผสานกันของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดกลายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน เป็นตัวผลักดันให้เกิดสึนามิของการติดเชื้อโควิด-๑๙ ที่เป็นอันตรายร้ายแรง

ภัยคุกคามคู่ของไวรัสโควิดกลายพันธุ์ทั้งสองตัวอยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ และยังจะสร้างแรงกดดันอย่างต่อเนื่องให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เหนื่อยล้าอยู่แล้ว

รวมถึงผลักให้ระบบสาธารณสุขใกล้จะล่มสลายอีกด้วย

การที่ประเทศร่ำรวยจำนวนมากเร่งรณรงค์ให้ผู้คนเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น กลับยิ่งทำให้การแพร่ระบาดยืดยาวออกไป

เพราะเป็นการย้ายการส่งมอบวัคซีนไปจากประเทศยากจน รวมถึงประเทศที่ยังมีผู้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนมาก ซึ่งจะยิ่งทำให้ไวรัสมีโอกาสที่จะแพร่กระจายและกลายพันธุ์มากยิ่งขึ้น

ขอให้ทุกคนตั้งปณิธานปีใหม่ด้วยการสนับสนุนการรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้คนถึง ๗๐% ของโลกในช่วงกลางปีหน้า เนื่องจากปัจจุบันมีมากถึงเกือบ ๑๐๐ ประเทศที่ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน ๔๐% ของตนเอง…”

ข้อห่วงใยจาก WHO มิได้ถูกนำไปปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกมากนัก เพราะเริ่มมีแนวโน้มการขาดแคลนวัคซีนอีกรอบจากการมาของโอมิครอน

ประเทศผู้ผลิตเริ่มพูดถึงการชะลอการส่งออก

ส่วนประเทศที่เป็นลูกค้าเริ่มจองวัคซีนล็อตใหม่

ประเทศยากจนยังคงถูกทิ้งไว้ข้างหลังเช่นเคย

ทำได้เพียงรอวัคซีนจากโคแวกซ์

หรือไม่ก็รอรับบริจาควัคซีนใกล้หมดอายุจากประเทศร่ำรวย

เหตุการณ์เหล่านี้น่าจะเกิดช่วงเดือนมีนาคมไปแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่โอมิครอนระบาดไปทั่วโลกอย่างเป็นทางการแล้ว

แต่ประเด็นที่ดูจะหนักหนาสาหัสคือ การผสมผสานกันของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดกลายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน เป็นตัวผลักดันให้เกิดสึนามิของการติดเชื้อโควิด-๑๙ ที่เป็นอันตรายร้ายแรง แม้จะเป็นคำเตือนจาก WHO แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่

กลับกัน ผลงานวิจัยใหม่ในห้องปฏิบัติการที่ดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์แอฟริกาใต้ สรุปว่า ผู้ที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน อาจสามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาได้

งานวิจัยใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่าโลกที่ปกคลุมด้วยโอมิครอนนั้น อาจทำให้อัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรวมถึงการเสียชีวิต น้อยลงเมื่อเทียบกับโลกที่โดนเดลตาคุกคาม

โอมิครอนมีแนวโน้มที่จะผลักเดลตาออกไป

การมาของโอมิครอนอาจส่งผลดี แม้จะระบาดเร็ว แต่อาการไม่รุนแรงเท่าเดลตา

ฉะนั้นครึ่งแรกของปี ๒๕๖๕ ไม่น่าจะรุนแรงไปกว่าการระบาดของเดลตาในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๖๔

แต่สิ่งที่ต้องดำเนินต่อไปอีกสักระยะคือ…

นักเรียน นักศึกษา เรียนออนไลน์กันต่อไป

ธุรกิจผับ บาร์ ยังต้องปิดสนิท

เวิร์กฟรอมโฮม คือสิ่งจำเป็น

การค้าออนไลน์ จะเฟื่องฟูเหมือนปี ๒๕๖๔

ธุรกิจเดลิเวอรียังได้รับความนิยม

การอยู่ในที่ชุมนุมชน ที่แออัด ยังเสี่ยงต่อการติด “โอมิครอน”

และเป็นอีกปีที่บุคลากรทางการแพทย์ยังต้องทำงานหนัก



Written By
More from pp
“นฤมล” เผย ญี่ปุ่นให้ความสนใจลงทุนธุรกิจที่หลากหลายในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ทูตญี่ปุ่นเสนอไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนตร์ที่มีความหลากหลายของอาเซียน
ศาสตราจารย์ นฤมล ภิณโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้า เปิดเผยภายหลังต้อนรับและหารือกับ นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย
Read More
0 replies on “๒๕๖๕ ปีของโอมิครอน-ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();