เลวร้ายสุดของ ‘โอมิครอน’-ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

อัปเดตสถานการณ์ “โอมิครอน”

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น กลับไปดูการสรุปตัวเลขผู้ติดเชื้อโดยกระทรวงสาธารณสุข วันที่ ๒๐ ธันวาคมที่ผ่านมา

ณ วันนั้นอยู่ที่ ๖๓ ราย

๗ วันผ่านไป ๒๗ ธันวาคม พบ ๕๑๔ คน กระจายใน ๑๔ จังหวัด

แม้ ๒ ใน ๓ จะเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ แต่ทั้งหมดใช้บริการสาธารณสุขในประเทศไทย

แต่ก็พอโล่งใจได้บ้าง เพราะผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีอาการน้อย

ส่วนใหญ่ไอ เจ็บคอ

เชื้อไม่ลงปอด พบที่หลอดลมมากกว่า

ถ้าแบ่งตามอาการ

น้อยจนถึงไม่มีอาการ ๙๐%

อาการเล็กน้อย ๑๐%

อาการมาก ๓-๔%

สัมพันธ์กับข้อมูลจากประเทศอังกฤษ ที่มีการศึกษาความเสี่ยงในการเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อโอมิครอน ลดลงเมื่อเทียบกับเดลตา

สายพันธุ์เดลตาโอกาสเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมี ๕๐% และนอนโรงพยาบาล ๑ วันขึ้นไป ๖๑%

ส่วนสายพันธุ์โอมิครอนรักษาที่โรงพยาบาลอยู่ที่ ๒๐-๒๕% นอนโรงพยาบาล ๑ วันขึ้นไป ๔๐-๕๐%

แล้วสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในไทยอยู่ในระดับไหน

ระดับเตือนภัยถูกวางไว้ ๕ ระดับ

๑.สีเขียว ใช้ชีวิตตามปกติ เปิดโควิดฟรีเซตติงทุกแห่ง การเดินทางข้ามประเทศได้ปกติ

๒.สีเหลือง ให้เร่งเฝ้าระวัง จำกัดเข้าพื้นที่ปิด เริ่มระบบ Test&Go

๓.สีส้ม จำกัดการรวมกลุ่ม ปิดสถานบริการ ทำงานจากที่บ้าน คัดกรองก่อนเดินทาง และเปิดระบบแซนด์บ็อกซ์

๔.สีแดง ปิดสถานที่เสี่ยง เปิดเฉพาะสถานที่จำเป็นต่อชีวิต ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศ แบบลดวันกักตัว

๕.สีแดงเข้ม จำกัดการเดินทางและกิจกรรม เคอร์ฟิว และใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางทุกราย

เราอยู่ระดับ ๓ สีส้ม พร้อมที่จะขยับเป็นสีแดงได้ตลอดเวลา

ข้อมูลล่าสุดพบว่าสายพันธุ์โอมิครอนมีระยะฟักตัวค่อนข้างสั้นคือ  ๒-๖ วัน และมีอาการประมาณ ๑-๙ วัน น้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา

ฉะนั้นเรื่องความเร็วในการระบาด ไม่มีข้อกังขาใดๆ อีกแล้ว

อีกเดือนสองเดือนข้างหน้าไทยจะไปถึงจุดไหน?

กระทรวงสาธารณสุข โดย คุณหมอเกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เสนอฉากทัศน์พยากรณ์ในกรณีที่มีการแพร่ระบาดของโอมิครอนใน ๓ รูปแบบ

รูปแบบที่ ๑ ระดับรุนแรงที่สุด

พบการระบาดของเชื้อโควิด-๑๙ และฉีดวัคซีนใกล้เคียงช่วงเดือนธันวาคม ประชาชนให้ความร่วมมือน้อย ไม่มีการป้องกัน

ขณะทำกิจกรรมรวมคน สถานประกอบการ จัดกิจกรรมไม่สามารถปฏิบัติตาม VUCA ได้ ทำให้ควบคุมการแพร่ระบาดได้ยาก โดยใช้เวลา ๓-๔ เดือนกว่าจะควบคุมโรคได้

จะมีการติดเชื้อรายวันถึง ๓ หมื่นราย และมีผู้เสียชีวิต ๑๗๐-๑๘๐  รายต่อวัน

รูปแบบที่ ๒ ระดับปานกลาง

โอกาสติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ฉีดวัคซีนใกล้เคียงช่วงเดือนธันวาคม ขณะที่ทุกภาคส่วนยังคงปฏิบัติตามมาตรการ VUCA อย่างเคร่งครัด

อาจจะพบผู้ติดเชื้อประมาณ ๑.๕-๑.๖ หมื่นรายต่อวัน

ใน ๑-๒ เดือนตัวเลขผู้ติดเชื้อก็ค่อยๆ ทรงตัว และจะลดลงมาตามลำดับ

มีผู้เสียชีวิต ๑๐๐ รายนิดๆ ต่อวัน

และรูปแบบที่ ๓ ระดับดีที่สุด

ผลจากโอกาสติดเชื้อเพิ่มปานกลาง ฉีดวัคซีนได้เร็วขึ้นทุกกลุ่ม ลดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก และปฏิบัติ VUCA อย่างเคร่งครัด

ตัวเลขสูงสุดจะอยู่ที่ ๑.๓ หมื่นราย หลังจากนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อจะทรงตัว และลดลง ส่วนผู้เสียชีวิตจะอยู่ที่ ๖๐-๗๐ และจะลดลงในที่สุด

ใน ๓ รูปแบบ อยากได้แบบไหน อยู่ที่ทุกคนให้ความร่วมมือแค่ไหน

ท่องให้ขึ้นใจที่ชุมนุมชน พื้นที่อับอากาศ คือจุดเสี่ยงของการระบาด

แต่อย่างไรเสีย มันมาแน่!

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ย้ำเตือนรายวัน

…ข้อมูลการตรวจหาสายพันธุ์ โอมิครอน ในกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศ แล้วตรวจพบเชื้อ covid-19 รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสเชื้อโรคที่ต้องสงสัยในประเทศไทย

จะเห็นว่าอัตราการตรวจพบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่วันที่ ๙  ธันวาคมมาจนถึงวันที่ ๒๔ ธันวาคม โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาฯ จำนวนที่ตรวจพบ โอมิครอน ในกลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ และกลุ่มเสี่ยงที่ต้องสงสัยในประเทศไทย เพิ่มขึ้นอย่างมาก

ขณะนี้ ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ จะเป็นสายพันธุ์ โอมิครอน มากกว่าสายพันธุ์เดลตา

โดยเฉพาะผู้เดินทางมาจากยุโรป และคลัสเตอร์ที่พบในประเทศไทยหลายคลัสเตอร์ ในกรุงเทพฯ เป็นสายพันธุ์ โอมิครอน

จากการที่พบขึ้นรวดเร็วและมี คลัสเตอร์ขึ้นในประเทศไทย รวมทั้งบางคลัสเตอร์ไม่สามารถหาต้นตอ หรือผู้ที่เดินมาจากต่างประเทศได้

แสดงให้เห็นชัดเจนว่าได้มีการระบาดในประเทศบ้างแล้ว

จึงมีความต้องการที่ให้ทุกคน ระวังเคร่งครัดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการรวมกิจกรรมคนหมู่มาก ถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนครบ ๒ เข็มแล้ว ก็ยังสามารถที่จะติดเชื้อได้

ยิ่งถ้าอาการไม่รุนแรง ก็จะมีอำนาจในการแพร่กระจายโรคได้มากขึ้น เพราะผู้ติดเชื้อจะไม่ได้ตระหนักและได้รับการตรวจ ก็จะแพร่กระจายไปได้มาก

เราไม่อยากเห็นภาพการระบาด อย่างในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส…

จะเห็นได้ว่าประเทศแถบยุโรป อเมริกา มีผู้ป่วยลักษณะก้าวกระโดด ฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา ทะลุหลักแสนต่อคนต่อวัน ปัญหาหลักมาจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่สวมหน้ากากอนามัย

ต่างจากคนไทยชนิดหลังเท้าเป็นหน้ามือ

หากทุกคนให้ความร่วมมืออย่างดีเหมือนที่ผ่านมา สถานการณ์ของไทยร้ายแรงสุด จะอยู่ในรูปแบบที่ ๓ ผู้ป่วยรายวันจะสูงสุดที่ ๑.๓ หมื่นราย เสียชีวิตที่ ๖๐-๗๐ คน

ก็เท่ากับช่วงการระบาดของเดลตาในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

เป็นช่วงที่ประเทศไทยเริ่ม คลายมาตรการ ล็อกดาวน์ ลดเวลา เคอร์ฟิว เฟสแรก ในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม บางจังหวัด

ฉะนั้นหากสถานการณ์เป็นไปตามนี้ ก็จะไม่เลวร้ายเกินไป

การใช้ชีวิตปกติยังสามารถดำเนินต่อไปได้

แต่ก่อนจะถึงวันนั้น อย่าลืมว่า โอมิครอน ไม่ใช่ เดลตา

การรวมกลุ่มคือหายนะ

เลวร้ายสุดติดเชื้อวันละ ๓ หมื่นราย

ตายเฉียดๆ วันละ ๒๐๐ คน



Written By
More from pp
สมควรจะถูกถาม-สันต์ สะตอแมน
สันต์ สะตอแมน และแล้วที่สุด.. คุณไอซ์-รักชนก ศรีนอก สส.พรรคก้าวไกล จำเลยในความผิดฐานดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ
Read More
0 replies on “เลวร้ายสุดของ ‘โอมิครอน’-ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();