เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564
ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานใตพิธีส่งมอบผลงานนวัตกรรมการเกษตร เครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุนให้แก่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดลำปาง
ส่งเสริมชุมชน เข้มแข็งผ่านกลไกทางนวัตกรรม สร้างความมั่นคงในพื้นที่ เยี่ยมชมศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อย มหาอินทร์ ณ เชียงใหม่) และเป็นประธานในพิธีเปิดการแสดง “ดนตรีไหว้สาบูรพาจารย์” โครงการขยายผล ต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกของชาติ ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหารจังหวัดเชียงใหม
ศ พิเศษ ดร. เอนก กล่าวถึง บทบาทของ อว. ในการสนับสนุนผลงานวิจัยทางการเกษตรวนพื้นที่จังหวัดลำปาง ว่า ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มามอบเครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุน นวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อเกษตรกร ผมอยากจะชี้ให้พี่น้องประชาชนเห็นว่า ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าได้ต้องใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและความรู้อันนำไปสู่การพัฒนาการวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวง อว. และรัฐบาลมุ่งเน้นตั้งใจที่จะนำพาประเทศไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงและพัฒนาแล้วภายใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งรัฐบาลจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะพาเกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการที่จะเป็นแบบนั้นได้ต้องพึ่งพาอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนยี เครื่องอบแห้งอินฟราเรดเครื่องนี้เป็นตัวอย่างของงานกระทรวง อว. ที่สร้างประโยชน์ต่อเกษตรกรชุมชน
เป็นการยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมาการเกษตรของประเทศไทยทำเยอะแต่ขายได้น้อย กระทรวง อว. ตอบรับนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยี ทำให้การเกษตรเป็นเกษตรกรที่ทำไม่ต้องมากแต่เวลาขายได้เยอะ จนกลายเป็นเกษตรที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีรายได้สูง
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก พูดเกี่ยวกับ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ว่า ผมในฐานะคนล้านนา ปลื้มใจที่ทุกท่านช่วยกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาไทย การนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ทำให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนาไปสู่ระดับโลก
ผมอยากให้สถานที่แห่งนี้บูรณะและพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่องซึ่งจะเป็นการเก็บรักษาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เห็นและยังเป็นตัวอย่างการอนุรักษ์ การประยุกต์และสร้างสรรค์เอกลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมล้านนาต่อไป
รมว.อว. กล่าวในพิธีเปิดการแสดง “ดนตรีไหว้สาบูรพาจารย์” ว่า ผมภูมิใจแทนคนเชียงใหม่ที่สามารถรักษาวัดเจดีย์หลวงวรวิหารไว้จะถึงทุกวันนี้ การแสดงดนตรีของเราในครั้งนี้ คือการที่นำเอาเพลงโบราณมาเก็บมาต่อยอด ซึ่งประเทศไทยมีเพลงโบราณเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่ภาคกลาง แต่ทุกภาคมีเพลงโบราณหมด ทุกจังหวัดมีเพลงโบราณหมด เชียงใหม่ ก็เช่นกัน
เชียงใหม่เป็นเมืองเอก เมืองที่สำคัญของภาคเหนือ ผมเชื่อว่ามีของดีหลายๆอย่างซ่อนอยู่ ซึ่งเราไม่เพียงอนุรักษ์อดีตเอาไว้ แต่เป็นการต่อยอดวัฒนธรรมไปสู่สากล จนกลายเป็นอนาคตของโลก ไม่ใช่อดีตกลืนวัฒนธรรมไทยไป แต่เราสามารถนำมาประยุกต์ ผสมผสาน จนกลายเป็นนวัตกรรมเพลงโบราณที่ทันสมัย ตอบรับกระแสโลกาภิวัตน์