มร. ดาร์เรล อดัมส์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย กล่าวว่า “การให้บริการ Cobot แก่ธุรกิจในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการผลิต ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์มหาศาล และที่สำคัญสามารถแข่งขันได้ในตลาดเป็นอย่างดี บริษัท VIMC ถือเป็นตัวอย่างที่ดีและเห็นชัด ที่ใช้ระบบอัตโนมัติควบคู่ไปกับระบบเก่า ซึ่งผลที่ได้ทำให้เกิดผลผลิตที่ดีและมีกำลังในการผลิตสูงขึ้นอีกด้วย ซึ่ง ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ในฐานะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี cobot ได้เข้ามาในประเทศไทยและได้เร่งการปรับเปลี่ยนการผลิตสู่การผลิตอันชาญฉลาดมากขึ้น โดยมีบริษัทจำนวนมากที่กำลังเติบเติบไปอย่างยั่งยืนไปกับเรา อย่างไรก็ตามธุรกิจเหล่านี้ต่างก็ได้ประสบการณ์จากการใช้ cobot ในการผลิตและทำให้มีผลผลิตที่ดีขึ้น เป็นการยืนยันได้ดีว่าการใช้ cobot นั้นเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น เพราะบริษัทต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงศักยภาพอันมหาศาลของระบบอัตโนมัตินี้จริง ๆ ทั้งนี้ระบบ cobot ได้นำไปใช้ในธุรกิจต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เวชภัณฑ์ รองเท้า และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นต้น ”
อัตราการเติบโตของการใช้งานหุ่นยนต์ในประเทศไทย
การใช้งานหุ่นยนต์ในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ หรือ International Federation of Robotics รายงานว่า ประเทศไทยมีการใช้งานหุ่นยนต์จัดเป็นอันดับที่ 7 ในเอเชีย แลอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ลงทะเบียนหุ่นยนต์จำนวน 32,300 ตัว ซึ่งเพิ่มขึ้น 7% จากจำนวน 30,110 ตัว เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานหุ่นยนต์มากที่สุดคืออุตสาหกรรมยานยนต์ คิดเป็น 35% ของการใช้งานหุ่นยนต์ทั้งหมด รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมยาง และอุตสาหกรรมพลาสติก คิดเป็น 19%[1]
ทั้งนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การใช้งานหุ่นยนต์กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งได้รับการจัดอันดับให้เป็น 30 ตลาดใหญ่ที่สุดของการใช้งานหุ่นยนต์ทั้งหมด 87,100 ตัว โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงใช้งานหุ่นยนต์มากที่สุดในภูมิภาค[2]
การใช้งาน cobot UR10 ที่บริษัท VIMC
VIMC ได้ประสานงานกับบริษัท Vnstar Automation JSC (Vnstar) ซึ่งเป็นพันธมิตรของ Servo Dynamics Engineering (Servo) ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่าย ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ในประเทศเวียดนาม เพื่อดำเนินการนำระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิต
มร. พาม ชวน พี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร VIMC กล่าวว่า “ ตั้งแต่เริ่มใช้หุ่นยนต์ cobot ผลผลิตของเราเพิ่มสูงขึ้น 2-3 เท่า และคุณภาพของผลิตก็มีความดีคงที่ ทำให้มีจำนวนยอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นถึง 50-60% และแน่นอนทำให้รายได้ของพนักงานเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ส่วนของผลตอบแทนการลงทุนในประเทศเวียดนามในการลงทุนหุ่นยนต์ดังกล่าวจะอยู่ที่ระหว่าง 6-8 ปี แต่เราคาดว่าจะทำได้ภายใน 1-2 ปีเท่านั้น โดยการทำงานร่วมกับ cobot UR10 นั้นจะใช้พนักงานจำนวนน้อยในไลน์การผลิต ทำให้เราสามารถมอบหมายงานที่มีระดับสูงกว่าได้ เพิ่มความพึงพอใจให้กับพนักงาน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานอีกด้วย”
ทั้งนี้ VIMC ได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวน cobot เป็น 3-5 ตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อปฏิบัติการในกระบวนการผลิตของโรงงานต่าง ๆ ของบริษัท ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมของการใช้งาน cobot ของบริษัท VIMC ได้ที่นี่