“เมื่อสส.ไม่ได้ประกันตัว”

รัฐธรมนูญ ฉบับนี้……
ถ้าเปรียบเป็นผ้ายันต์ “อาจารย์มีชัย” ก็ต้องบอกว่า อยู่ในช่วงทดสอบอักขระ ว่าที่จารณ์ไว้แต่ละมาตรา นั้น
ขลัง….
ลื่นไหลทางใช้ปฏิบัติจริงได้หรือไม่?
โดยเฉพาะหมวดรัฐสภาและรัฐมนตรีที่รูปแบบแปลก-ใหม่ เป็นนวัตกรรมประชาธิปไตยเลือกตั้ง เหมือนไพ่ป๊อกแกะกล่องแจกลูกวง ประมาณนั้น

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

ระบบจัดสรรปันส่วนคะแนนสส.อักขระมาตรานี้ขลังถึงขั้นปั่นป่วนและปวดหัวกันทั้งประเทศ
แต่ก็ผ่านชนิดมีหมายเหตุว่า…ควรแก้ไข!
วันนี้ ยันต์อาจารย์มีชัยได้ทดลองใช้อีก ด้านความยึดโยงแต่ละมาตรา ว่าสอดคล้องต้องกันทางปฏิบัติหรือไม่?
ทราบเรื่องกันแล้วกระมัง……
เพราะเป็นข่าวดังโซเชียลแตกแต่วาน (๒๔ กย.๖๒) คือที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ตัดสินประหารชีวิต “นายนวัธ เตาะเจริญสุข” ส.ส.เขต ๗ ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

ก็คนที่เบิ๊ดกกะโหลก “นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร” สส.มหาสารคาม เพื่อไทยด้วยกัน เป็นที่กรี้ดกร๊าดสะใจกันนั่นแหละ
ฐานเป็นผู้จ้างวานฆ่า “นายสุขชาติ โคตรทุม” อดีตปลัดจังหวัดขอนแก่น เหตุเกิด ๓ พ.ค.๕๖
ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว เพราะเป็นคดีร้ายแรง โทษสูง
นายนวัธจึงต้องเข้าคุกทันที!
ประเด็นก็อยู่ตรงนี้แหละ ว่าแบบนี้ นายนวัธขาดจากความเป็นสส.หรือไม่?
ความจริงตามอักขระยันต์อาจารย์มีชัย ก็ไม่มีความสับสนในการบังคับใช้
แต่ทีนี้ ช่วงเวลามันคาบลููก-คาบดอก คือตัดสินตอนเช้า ก็คุมตัวไว้ที่ศาล ช่วงรอประกัน

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

คือยังไม่รู้แน่ว่า ศาลจะให้ประกันหรือไม่ให้
ระหว่างนี้ ทั้งทีมร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งมือกฎหมายพรรคเพื่อไทย เช่น นายชูศักดิ์ ศิรินิล ให้ความเห็นทางกฎหมายว่า นายนวัธ ยังไม่ขาดจากความเป็นสส.
เพื่อเป็นกรณีศึกษาทางขั้นตอนปฏิบัติ ไม่ได้ว่าใครผิด-ใครถูก จะได้ไม่สับสนกัน เพราะต่อไปนี้ น่าจะมีกรณีสส.ในลักษณะนี้บ่อยขึ้น “นายอุดม รัฐอมฤต” อดีตโฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ บอกว่า
ยังไม่มีผลต่อสถานะความเป็นส.ส.รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของนายนวัธ
เนื่องจากคดียังไม่ถึงที่สุด

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๒๕ วรรคท้าย ระบุไว้ว่า กรณีมีการฟ้องส.ส.หรือส.ว.ในคดีอาญา ไม่ว่าจะได้ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม
ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมก็ได้ แต่ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นต้องมาประชุมสภา
เท่ากับว่าการพิจารณาคดีทั้งในชั้นอุทธรณ์และฎีกาจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
เพียงแต่การเรียกนายนวัธไปดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีในวันที่มีการประชุมสภาจะกระทำไม่ได้เท่านั้น
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๒๕ เขาว่าไง?

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

เอ้า…ก็มาดูกัน เพื่อเป็นกรณีศึกษา
มาตรา ๑๒๕ ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไปทําการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือเป็นการจับในขณะกระทําความผิด
ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะกระทําความผิด ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกโดยพลัน

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

และเพื่อประโยชน์ในการประชุมสภา ประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก อาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับเพื่อให้มาประชุมสภาได้
ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อนสมัยประชุม เมื่อถึงสมัยประชุม พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี ต้องสั่งปล่อยทันที ถ้าประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้ร้องขอ โดยศาลจะสั่งให้มีประกันหรือมีประกันและหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
ในกรณีมีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในคดีอาญา ไม่ว่าจะได้ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมก็ได้ แต่ต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นจะมาประชุมสภา

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

ครับ….
ก็ใช่ ที่นายอุดม และหลายๆคนพรรคเพื่อไทยพูด “ยังแค่ศาลชั้นต้น คดียังไม่ถึงที่สุด” นายนวัธยังไม่ขาดจากสส.
แต่ทุกคนที่พูด น่าจะคาดหมายล่วงหน้าไปทางเดียวกันว่า “เดี๋ยวศาลคงให้ประกัน” เพื่อไปสู้กันต่อในชั้นอุทธรณ์-ฎีกา
หมายถึงว่า ถ้าศาลอนุญาตให้ประกันวันนั้นเลย ก็ถือว่านายนวัธยังไม่ถูกจำคุก
เพราะช่วงคุมตัวที่ศาล ยังไม่ถือว่าจำคุก-คุมขัง เพราะศาล “ไม่ใช่คุก” ตามกฎหมายกำหนด
ขณะนั้น นายนวัธ อยู่ในฐานะถูกควบคุมตัวที่ศาล ระหว่างรอประกัน
แต่ปรากฎว่า ศาลไม่อนุญาตให้ประกัน จะเห็นรายละเอียดจากข่าวล่าสุด เมื่อเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. มีรายงานว่าศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวนายนวัธ เนื่องจากจำเลยมีอัตราโทษสูง เกรงจะหลบหนีคดี
มีคำสั่งให้ส่งตัวเข้ารับโทษที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษทันที

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

ทำให้เจ้าหน้าที่จากกรมราชทัณฑ์นำรถยนต์จากเรือนจำกลางขอนแก่น มาควบคุมตัวนายนวัธจากห้องควบคุมตัวผู้ต้องหาบริเวณชั้น ๑ ของศาลจังหวัดขอนแก่น
เพื่อส่งเข้าคุมขังที่ “ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ” ทันที
เอาหละ………
เมื่อนายนวัธไม่ได้ประกัน ต้องเข้าคุกทันที ก็เกิดคำถามซ้อนขึ้นมาว่า
บอกแค่ศาลชั้นต้น คดียังไม่ถึงที่สุด ยังเป็นสส.อยู่ ก็เข้าใจได้
แต่เมื่อไม่ได้ประกัน ต้องเข้าคุก แบบนี้ ไม่แน่ใจว่า ยังเป็นสส.อยู่ หรือขาดจากความเป็นสส.แล้ว?
คำตอบ มีดังนี้…….

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

“นายสรศักดิ์ เพียรเวช” เลขาฯสภาผู้แทนราษฎร บอก
หากนายนวัธไม่ได้รับการประกันตัว ตามหลักกฎหมายเมื่อนายนวัธ ต้องเข้าไปอยู่ในห้องขัง
ทำให้สถานะภาพความเป็นส.ส.ของนายนวัธสิ้นสุดลงทันที
เนื่องจากเข้าลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๑ ประกอบมาตรา ๙๘(๖)ต้องคำพิพากษาให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
ก็ไปดูมาตรา ๑๐๑ ว่าไง
บอกไว้อย่างนี้ มาตรา ๑๐๑ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อ
……………………
(๖) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๘
ก็ดูต่อซิว่า มาตรา ๙๘(๖)ว่าไง เขาว่างี้
………………
(๖)ต้องคําพิพากษาให้จําคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
อ้าว..เสร็จเลย มือเบิ๊ดกระโหลกของผม!
เป็นอันสรุปชัดเจนตามรัฐธรรมนูญว่า นายนวัธ ถึงแม้ศาลชั้นต้น คดียังไม่สิ้นสุด แต่เมื่อเข้าคุกทันทีตามคำตัดสินศาล ถือว่า
“สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรสิ้นสุดลง” แล้ว!

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({
google_ad_client: “ca-pub-8615230610650868”,
enable_page_level_ads: true
});

สภาจะเปิด สภาจะประชุม ไม่เกี่ยว
เมื่อหมดสภาพสส.แล้ว มาตรา ๑๒๕ ก็ไม่มีอานิสงส์เผื่อแผ่ไปถึงนายนวัธอีกต่อไป
แม้วันนี้ พรุ่งนี้ ปะรืนนี้ หรือวันไหนๆ ได้ประกันตัว จะย้อนกลับมาทรงเครื่องสส.ตามเดิมอีก ก็ไม่ได้แล้ว เพราะ “สมาชิกภาพสส.” สิ้นสุดไปแล้ว ตามมาตรา ๑๐๑!
เป็นอันว่า อักขระยันต์รัฐธรรมนูญของอาจารย์มีชัย ไม่ขัดแย้งหรือลักลั่นทางปฏิบัติ
ฉะนั้น เรื่องนี้ ไม่ต้องตั้งกระทู้นำร้องให้ “นายกฯลาออก” เพราะมันไม่เกี่ยวกัน!
สรุปว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีเหตุให้ “ลองของ” ถึงความขลังไม่ขาดระยะ
พักการทำหน้าที่สส.ก็มีแล้ว
ลาออกจากสส.ก็มีแล้ว
เลือกตั้งซ่อมก็มีแล้ว
เหตุให้สิ้นสภาพสส.ก็มีแล้ว
ยุบพรรคตัวเองก็มีแล้ว
และที่ไม่ยุบ…..
แต่กำลังจะ “ถูกยุบ” ก็กำลังจะมี!

Written By
More from plew
รัฐบาลรักษาการณ์ – เปลว สีเงิน
คลิกฟังบทความ…? เปลว สีเงิน รัฐบาลรักษาการณ์ “หลังเลือกตั้ง” ประชุมครม.แต่ละครั้ง เท่าที่สังเกต เห็นแต่นายกฯ ประยุทธ์เท่านั้น “ยืนโรง”
Read More
0 replies on ““เมื่อสส.ไม่ได้ประกันตัว””