ผสมโรง
สันต์ สะตอแมน
เงินใส่ซองช่วยงานศพ 1,000 เป็นความผิด!
แต่เมื่อกติกา ยังสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ได้..“กรุง ศรีวิไล” อดีตพระเอกนักบู๊ หรือ “กรุงศรีวิไล สุทินเผือก” นักการเมือง จึงได้ประกาศ..
จะลงสมัครส.ส.เขต 5 จ.สมุทรปราการ ในนามพรรคพลังประชารัฐอีกครั้ง!
และในฐานะเป็นดารา-คนบันเทิง ที่รักชอบพอกัน ผมก็หวังนอกจากตัวพี่เอ็ด (ชื่อเล่นคุณกรุง) จะได้รับความเชื่อถือ-ศรัทธาจากประชาชนในพื้นที่แล้ว
ด้วย “บารมี” ของหัวหน้าพรรคป้ายแดงระดับ “พลเอก” ประวิตร วงษ์สุวรรณ เชื่อแน่ว่าจะสามารถเดินเข้าสภาได้อย่างสง่างาม-บริสุทธิ์..
ดุจเช่น “พระเอกของประชาชน”!
ครับ..วันสองวันผ่านตาข้อความน้องท่านหนึ่งทางเฟซบุ๊ก บอกชื่อ-แซ่ก็ได้ “คุณอาร์ม ทิพยจันทร์” ลูกชายคนโตของพล.อ.ธันวาคม ทิพยจันทร์ หรือที่ผมคุ้นปากเรียก “พี่หมึกดำ” ด้วยความเคารพ
คุณอาร์มมีมุมมองต่อเรื่องสื่อที่ค่อนข้างน่าสนใจ จึงขออนุญาตลอกมาทั้งดุ้นให้ได้ลองอ่านกัน ตามนี้..
“ในฐานะอดีตคนทำสื่อสารมวลชน
ประชาชนเลือกเสพสื่อตามความสนใจและรสนิยมของตัวเอง และกระแส..จรรยาบรรณ และ กฎหมายควบคุมต่าง ๆ ก็มีหมดแล้ว เลยไม่รู้จะต้องไปปฏิรูปอะไร หรือ ควบคุมอะไรอีก
กับ สื่อสารมวลชนในปัจจุบัน
ที่ทุกคนสามารถเป็นสื่อได้ด้วยตัวเอง.. การปฏิรูปออกกฎอะไรมาบังคับ ควบคุม เปลี่ยนแปลงมันยากมากครับ และแทบจะเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบันและอนาคต
แต่ที่รัฐจะควบคุมและปฏิรูปได้.. คือสื่อในมือของรัฐ ที่ควรต้องปฏิรูป และปรับบทบาท รวมถึง เลิกใช้ผู้นำองค์กรที่มีความคิดเดิมๆ ไม่ทันโลก
แล้ว เทงบเพื่อสร้างสื่อของคนไทย ที่เป็นสื่อสร้างสรรค์ ออกมาให้ครบทุกระดับคนดู รวมถึงเพศ และ วัย
ซึ่งรายการแบบนั้น จะไม่สามารถหารายได้เพียงพอในสถานีเอกชน จึงไม่มีรายการดีๆและเหมาะสมในสื่อต่าง ๆ
ผู้นำองค์กรควรถูกประเมินผลงาน ด้วย KPI ที่อาจจะไม่ใช่เรตติ้งผู้ชม. แต่เป็นคะแนนประเมินจากผู้ชม หรือ จากคณะกรรมการเหมือนออสการ์
ที่มีจำนวนกรรมการ และความหลากหลายมากพอในการให้คะแนนรายการต่าง ๆ ที่ย่อมส่งผลถึงภาพรวมการทำงานของผู้นำองค์กร
เปิดโอกาสให้ มีการนำเสนอรายการโดยประชาชน / ผู้ผลิต เพื่อสร้างรายการใหม่ๆที่น่าสนใจ โดยใช้งบจากภาษีบาป หรือ ล็อตเตอรี่
สื่อของรัฐ ทั้ง ช่อง 5 / NBT / ThaiPBS และ ช่อง 9 ควรต้องยกเครื่องล้างใหม่ เหมือนการบินไทย เพื่อเริ่มต้นสร้าง สื่อในอุดมคติ ขึ้นมา
เมื่อมีสื่อที่ดีให้ประชาชนได้เลือกเสพมากขึ้น. สื่ออื่นๆที่ไม่ดีก็จะค่อยๆลดลงตามกระแส norm ของสังคม การได้แต่ประชุม และ หาวิธีปฏิรูปสื่อเอกชน แต่ทิ้งสื่อของรัฐให้เป็น เต่าล้านปี
ให้อีกร้อยปี ก็ปฏิรูปไม่ได้
ส่วนงบกองทุนสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้การดูแลของก.วัฒนธรรมปีละ 400 ล้าน ตราบใดที่มีรูปแบบการให้ทุนแบบปัจจุบัน และ มีกรรมการที่มีแนวคิดโบราณ
ทั้งการคัดเลือกให้ทุนกับคนที่ได้รับแบบที่เป็นอยู่ และ แนวคิดการให้ทุนแบบ ยิ่งให้เยอะทุน แต่ ทุนละน้อยๆ เพื่อให้มีผลงานเยอะ นี่
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเปล่าๆครับ”
ก็..ไม่มีอะไรจะเสริม-เติม นอกเสียจากจะย้ำว่า..
ได้เวลาปฏิรูปสื่อของรัฐแล้วล่ะ!