โรคอะมิลอยด์ผิวหนัง…โรคที่ควรรู้

โดย ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ 

            ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์  ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคผิวหนังอีกชนิดหนึ่ง  โรคนี้ไม่มีชื่อในภาษาไทย จึงเรียกทับศัพท์ว่า “โรคอะมิลอยด์ผิวหนัง” (cutaneous amyloidosis) จริง ๆ แล้วโรคนี้เกิดจากโปรตีนบางชนิด มีการพับตัวผิดปรกติ และเกิดการเสื่อมบางอย่าง และฝังตัวในผิวหนัง กลายเป็นตุ่ม ๆ ขึ้นมาและมีหลายขนาด โดยปรกติคนในประเทศแถบเอเชีย เป็นโรคนี้จำนวนไม่น้อย แต่อาจไม่รู้ตัวเองว่ามีผื่นอะมิลอยด์ผิวหนัง

ลักษณะของโรคจะเป็นตุ่มมีลักษณะแข็ง ๆ เล็ก ๆ คลำดูจะรู้สึก สากๆ เรียงเป็นแนวยาว คล้ายระลอกคลื่น ซ้อนๆกัน อาการที่สำคัญของอะมิลอยด์ คือ คันมาก ๆ ผู้ป่วยบางคนถึงต้องกับตื่นตอนกลางคืนเพราะมีอาการคันจนทนไม่ไหว  ผื่นของอะมิลอยด์ มักขึ้นที่หน้าแข้ง และ บริเวณแขน วิธีสังเกตการเป็นโรคอะมิลอยด์นอกจากจะเป็นตุ่ม ๆ แล้ว บางชนิดเป็นชนิดผื่นราบและเรียงกันเป็นแนว ผื่นชนิดราบนี้ชอบขึ้นที่บริเวณแผ่นหลัง โดยเฉพาะบริเวณระหว่างสะบัก 2 ข้างหรือตรงกลางหลัง ถ้าไม่รู้จักก็จะนึกว่าเป็นเหมือนขี้ไคลหรือผิวหนังสกปรก  ผู้ป่วยบางท่านมีลักษณะของอะมิลอยด์ 2 ชนิดร่วมกันเรียกว่าไบเฟสิก (Biphasic amyloidosis) คือมีทั้งตุ่มนูนและตุ่มราบร่วมกัน

การรักษาโรคอะมิลอยด์ผิวหนังในปัจจุบันนี้ มีหลายวิธีมาก ทั้งการใช้ยาทา ยารับประทาน การลอกด้วยกรด การฉายแสง และ การรักษาด้วยวเลเซอร์ อะมิลอยด์เป็นโรครู้จักกันไม่แพร่หลาย แต่ไม่ได้หายากในคนไทย ดังนั้นจึงควรจะต้องรู้จักโรคนี้ไว้ด้วย

Written By
More from pp
ธนชาตยกระดับสินเชื่อรถยนต์เป็นแบรนด์ “ธนชาตDRIVE”  พร้อมขับเคลื่อนความก้าวหน้าให้ลูกค้าในทุกมิติ มั่นใจ ธนชาตDRIVE กระตุ้นสินเชื่อทะลุเป้า
ธนชาตต่อยอดแนวคิดหลักของแบงก์ Your Everyday Progress ยกระดับความเป็นผู้นำด้านสินเชื่อรถยนต์ ผุดแบรนด์ “ธนชาตDRIVE” เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์และบริการสินเชื่อรถยนต์ภายใต้ธนาคารธนชาต เพิ่มความเด่นชัดในการสื่อสารให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมากขึ้น ยืนหยัดด้วยพันธกิจ “Drive Your Progress ขับเคลื่อนความก้าวหน้า” ที่พร้อมขับเคลื่อนเคียงคู่ลูกค้าในทุกมิติ เด่นชัดด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่นำเสนอผ่านทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง มั่นใจทั้งปีแบรนด์ใหม่ “ธนชาตDRIVE” กระตุ้นการปล่อยสินเชื่อได้เกินเป้า...
Read More
0 replies on “โรคอะมิลอยด์ผิวหนัง…โรคที่ควรรู้”