ผู้สื่อข่าวรายว่าในวันที่ 11 พฤษภาคม 2568 ซึ่งตรงกับวันวิสาหบูชา ซึ่งเป็นวันพระใหญ่แรก ที่รัฐบาลอนุญาตให้สามารถขายเหล้า- เบียร์ ได้ ประกอบไปด้วย วันมาฆบูชา วันวิสาขบา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา หลังวันที่ 9 พค. ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เซคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดิ่มแฮลกอฮอล์ พ.ศ. 2568 แต่เปิดช่องให้ขายได้ในบริเวณ สนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ, สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ,สถานบนริการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ตามที่รมว.สาธารณสุขกำหนดโดยคำแนะนำของรมว.มหาดไทย , โรงแรม และ สถานที่ซึ่งใช้จัดกิจกรรมพิเศษระดับชาติหรือนานาชาติ และ มีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกัน ตามที่รมว.สาธารณสุขกำหนด โดยการแนะนำของรมว.ท่องเที่ยวและกีฬา
นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวว่า จากสถิติช่วงเปิดผับตี 4 ที่ผ่านมา ก็พบว่า มีอุบัติเหตุจากเมาไม่ขับเพิ่มขึ้น รัฐบาลก็ยังไม่มีมาตรการรองรับและรับผิดชอบอย่างเพียงพอ และต่อมายิ่งมาเปิดโอกาสให้จำหน่ายเครื่องดื่มแฮลกอฮอล์ในวันพระใหญ่ เพิ่มมาอีก อยากถามว่าคืนนี้หากพบว่ามีอุบัติเกิดขึ้น และเป็นผู้บริสุทธิ์ จากคนที่เมาสุรารัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไร เพราะ ที่ผ่านมาจากสถิติพบว่าในวันพระใหญ่ พบว่าจำนวนคนดื่มน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญหากเทียบ กับวันที่ให้จำหน่ายสุราได้
ในขณะที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ เพราะมีคนนับถือมากกว่าร้อยละ 90 และศีลข้อ 5 ก็ระบุว่า ละเว้นจากการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมา แต่กลับส่งเสริมเช่นนี้ อีกทั้งที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นหมอ ตำรวจ ศิลปินดารา ซึ่งเมาแล้วขับ แล้วเกิดอุบัติเหตุยังควบคุมได้ไม่ดีเลย ทั้งที่จริงๆควรจะต้องควบคุม ให้เข้มงวดขึ้นเสียก่อน
ที่ผ่านมาเคยเสนอมาตรการต่างๆควบคุมอย่างเข็มงวด อาทิ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ที่คนบาดเจ็บ ล้มตาย จะต้องให้ตรวจแอลกอฮอล์ทุกกรณี มิให้ใช่ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ หรือ อุบัติเหตุทำให้คนตาย จะต้องติดคุกอย่างเดียว แต่รัฐบาลก็ไม่ทำ และคนผิดก็แค่รอลงอาญา ไม่กลัวต่อความผิด ฉะนั้นรัฐบาล ทำไมไม่ออกกฎหมายส่งเสริมการดื่มสุรา แทนกฎหมายควบคุมไปเลย ทั้งนี้เชื่อว่า นอกจากวันพระใหญ่แล้ว ต่อไป วันก่อนเลือกตั้งก็อาจจะอนุญาตให้ขายเหล้าได้ด้วยใช่หรือไม่
เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวว่า รัฐบาลอ้างกระตุ้นเศรฐกิจ และการท่องเที่ยว ขอตั้งคำถามว่า เศรษฐกิจของใคร ใช้ของคนผลิต คนจำหน่าย เครื่องดื่ม ที่มีผลประโยชน์มหาศาลหรือไม่ และรัฐบาลได้คำนึงถึงอีกด้านหรือไม่ว่า จะไม่เป็นการกระตุ้นให้คนตายเพิ่มขึ้นด้วยหรือไม่ เพราะที่ส่วนใหญ่คนตายกันก็ไม่ใช่คนเมา แต่เป็นคนที่ใช้รถใช้ถนนและไม่ดื่ม แถมยังเป็นหัวหน้าครอบครัวอีกด้วย อยากถามว่าหากเกิดเรื่องเหล่านี้อีกใครจะรับผิดชอบอย่างไร
ขณะที่ นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า กฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์ ที่ใช้มานานและ ไม่อนุญาตไม่ให้ขายสุราในวันพระใหญ่ และ ยังเป็นการรักษาศีล 5 ซึ่งประชาชนก็คุ้นชินมานานแล้ว
แต่เมื่อประกาศสำนักนายกฯออกมาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และออกมาแบบโดดๆ ไม่มีขีดจำกัด และ มาตรการควบคุมรองรับ อาจทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เพราะจะกระตุ้นให้เดินทางไปข้างนอกบ้านเพื่อดื่มสุราและเกิดอุบัติที่เหตุได้จากการขับรถ
นายแพทย์ประพนธ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาบุคลากรทางการแพทย์ และ สาธารณสุขก็ทำงานหนักอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลปีใหม่ และ สงกรานต์ ก็หวังจะให้วันพระใหญ่เป็นวันหยุด หรือทำงานน้อยลง ก็จะทำไม่ได้อีกต่อไป
ดังนั้นในเมื่อประกาศมีผลบังคับใช่แล้ว ก็ต้องมาดูสถิติ ว่าการกระตุ้นเศรษฐได้มากหรือเพียงเล็กน้อย นิด หากเทียบกับชีวิต และ ทรัพย์สินของประชาชน ที่สูญเสียว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ เช่นกระทรวงสาธาณสุข และ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รวมถึงโรงพยาบาลต่างๆ ฯลฯ ต้องทำข้อมูลเปรียบเทียบ หากเห็นว่าไม่คุ้มค่าก็อาจจะเสนอให้รัฐบาลทบทวนทันที