ข่าวดี ศูนย์บริการโลหิตฯ พัฒนาการตรวจหมู่โลหิตหมู่พิเศษ Rh+ (Asian-type DEL) สำเร็จ ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่มีความเหมาะสม ลดความเสี่ยง และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษา

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย พัฒนาการตรวจหมู่โลหิตเชิงลึกระดับโมเลกุล เพื่อหาหมู่โลหิตพิเศษ “Rh+ (Asian-type DEL)” หรือหมู่โลหิต “อาร์เอชเดลชนิดเอเชี่ยน” สำเร็จ ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่มีความเหมาะสม ลดความเสี่ยง และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษามากขึ้น

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า โลหิตที่ได้รับบริจาคทุกยูนิต จะได้รับการตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการ ให้ได้โลหิตที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากลเพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยซึ่งการให้โลหิตแก่ผู้ป่วยจำเป็นต้องพิจารณาหมู่โลหิตเบื้องต้น 2 ชนิดที่ต้องให้ตรงกันหรือเข้ากันได้ ได้แก่ หมู่โลหิตระบบ ABO และ Rh จึงจะปลอดภัยที่สุด การตรวจหมู่โลหิตระบบ ABO และ Rh จึงมีความสำคัญมากในการให้โลหิตแก่ผู้ป่วย

โดยหมู่โลหิตระบบ ABO มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ระบบ Rh ซึ่งถูกกำหนด โดยสารแอนติเจน D ที่อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง (D-antigen) คนที่มีสารแอนติเจน D บนผิวเซลล์ เม็ดเลือดแดง จะเป็นหมู่โลหิตอาร์เอชบวก (Rh-positive) ส่วนคนที่ไม่มีสารแอนติเจน D อยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง จะเป็นหมู่โลหิตอาร์เอชลบ (Rh-negative) ซึ่งจัดป็นโลหิตหมู่พิเศษหรือหายาก เป็นหมู่โลหิตที่พบน้อยมาก ในคนไทย 1,000 คน จะพบเพียง 3 คน หรือร้อยละ 0.3 เท่านั้น คนไทยส่วนใหญ่จะมีหมู่โลหิต Rh-positive ร้อยละ 99.7 และหากผู้ที่มีหมู่โลหิต Rh-negative เมื่อต้องรับโลหิต เพื่อการรักษาจำเป็นจะต้องได้รับหมู่โลหิต Rh-negative ด้วยกันเท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่า เมื่อศึกษาลึกถึงระดับโมเลกุลในกลุ่มคนที่มีหมู่โลหิตอาร์เอชลบ บางคนมีแอนติเจนชนิด “Rh+ (Asian-type DEL)” หรือหมู่โลหิต “อาร์เอชเดลชนิดเอเชี่ยน” ซึ่งพบได้ในกลุ่มคนเอเซีย ที่มีหมู่โลหิต Rh-negative ร้อยละ 15

ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการ ในปี พ.ศ. 2561-2565 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการตรวจหาหมู่โลหิตพิเศษ Rh+ (Asian-type DEL) ในผู้บริจาคโลหิต ขึ้น ซึ่งผู้ที่มีหมู่โลหิตพิเศษ Rh+ (Asian-type DEL) นี้ จัดเป็นหมู่โลหิต Rh positive (Rh+) เนื่องจากมีแอนติเจน D บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่มีในปริมาณน้อยมากจนการตรวจในห้องปฏิบัติการทั่วไปไม่สามารถตรวจพบได้ จึงทำให้ Rh+ (Asian-type DEL) นี้ถูกระบุเป็น Rh- มาโดยตลอด

ดังนั้น สำหรับผู้บริจาคโลหิตที่ได้รับการตรวจว่าเป็นหมู่โลหิต Rh- ในช่วงที่ผ่านมา หากท่านมาบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ หรือภาคบริการโลหิตแห่งชาติ แล้วได้รับการตรวจด้วยวิธีตรวจแบบใหม่นี้ ท่านจะมีโอกาสถูกตรวจพบว่าเป็นหมู่โลหิตพิเศษ Rh+ (Asian-type DEL)

การเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ Rh+ (Asian-type DEL)

1. ผู้บริจาคโลหิตจะได้บัตรผู้บริจาคโลหิตใหม่ ระบุหมู่โลหิตที่ถูกต้องเป็น Rh+ (Asian-type DEL) ซึ่งจัดว่าเป็นหมู่โลหิต Rh+ สามารถให้แก่ผู้ป่วยหมู่โลหิต Rh+ เท่านั้น

2. กรณีผู้บริจาคโลหิตมีความจำเป็นต้องได้รับเลือดในการรักษา สามารถรับเลือดกลุ่ม Rh+ ได้อย่างปลอดภัย

3. ผู้บริจาคโลหิตยังคงสามารถเป็นผู้บริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตเฉพาะส่วน รวมทั้งการบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ได้อย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์ของการตรวจวิเคราะห์หมู่โลหิตด้วยวิธีใหม่นี้ นอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่มีความเหมาะสมมากขึ้น ยังช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการรักษา

จึงขอเชิญชวนผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ Rh-negative และผู้บริจาคโลหิตทุกท่าน ร่วมบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งทั่วประเทศ โดยโลหิตที่ได้รับบริจาคทุกยูนิต จะได้รับการตรวจหาหมู่โลหิตพิเศษ Rh+ (Asian-type DEL) ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป

แหล่งอ้างอิง
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC10273079/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6143459/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37840046/

Line Open Chat *เพิ่มช่องทางการรับข่าวสาร จากเว็บไซต์ *อ่านคอลัมน์ เปลว สีเงิน ก่อนใคร *ส่งตรงถึงมือทุกคืน *เปิดกว้างเพื่อแฟนคอลัมน์พูดคุยแบบกันเอง ทุกเรื่องราว ข่าวสารบ้านเมือง สังคม ฯลฯ

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/38899801/

Written By
More from pp
โรงรับจำนำ กทม. เปิดประมูลทรัพย์หลุดจำนำ ส.ค. 67
7 สิงหาคม 2567 นายชนาธิป ล.วีระพรรค ผู้อำนวยการสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร หรือ โรงรับจำนำ กทม. จะดำเนินการนำทรัพย์หลุดจำนำของสถานธนานุบาล...
Read More
0 replies on “ข่าวดี ศูนย์บริการโลหิตฯ พัฒนาการตรวจหมู่โลหิตหมู่พิเศษ Rh+ (Asian-type DEL) สำเร็จ ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่มีความเหมาะสม ลดความเสี่ยง และเพิ่มความปลอดภัยในการรักษา”