ตัวเลขมันฟ้อง.. รองโฆษก รทสช. เสนอทางออกนิรโทษกรรม เน้น 3 คดีการเมือง “ฝ่าพรก.ฉุกเฉิน-พรบ.ความสะอาด-ขัดคำสั่งจนท.” รวมกัน 55,490 คดี คิดเป็น96.2% ..ขณะคดีม.112 มีเพียง2% จำเป็นหรือไม่ หากสร้างความขัดแย้งเพิ่ม?

11 มีนาคม 2567 นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง “นิรโทษกรรมอัพเดท” ว่า ตัวเลขไม่หลอกใคร.. จากสัปดาห์ก่อน ที่ผมบอกว่าคณะกรรมาธิการจะตัดสินอย่างตั้งธงอย่างไรว่าจะเลือกนิรโทษกรรม คดีใดบ้าง ต่างพรรคต่างความคิด เถียงกันไม่รู้จบ โดยเฉพาะคดีอย่าง อาญาม.112

ลอรี่ ในฐานะโฆษกกมธ. ได้เสนอที่ประชุมให้มีการเริ่มพิจารณาจากตัวเลขข้อมูลจริง เรียงตามรายคดี ซึ่งที่ประชุมมีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาตัวเลขผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมด และสืบเพิ่มข้อมูลอัพเดท ตามกรอบที่คณะกมธ.ชุดใหญ่วางไว้คือ ตั้งแต่ มค. 2548 – ปัจจุบัน ครอบคลุมทั้ง 4 เหตุการณ์ชุมนุม พันธมิตร/ นปช./ กปปส และกลุ่มเยาวชน

ค้นพบว่า ข้อมูลจากคณะกรรมการสมานฉันท์ปี 66 เลขาธิการสภาฯ รายงานว่า คดีจูงใจทางการเมืองมีทั้งสิ้น (ถึงมีนาคม พศ.2563) จำนวน 57,966 คดี ประกอบด้วย

1) พรก. สถานการณ์ฉุกเฉิน พศ.2548 ⮕ 43,966คดี
2) พรบ. ความสะอาด พศ.2535 ⮕ 8,452คดี
3) อาญา ม.368 ขัดคำสั่งจนท. ⮕ 3072คดี
4) อาญา ม.215 มั่วสุม ⮕ 336คดี
5) อาญา ม.385 กีดขวางการจราจร ⮕ 260คดี
6) พรบ. กระจายเสียงและโทรทัศน์ พศ.2551 ⮕ 238คดี
7) อาญา ม.112 หมิ่นสถาบัน ⮕ 1206คดี
8 ) อาญา ม.116 ยุยงปลุกปั่น ⮕ 150คดี

3 คดี ที่มีการดำเนินคดีมากที่สุด ฝ่าพรก.ฉุกเฉิน + พรบ.ความสะอาด + ขัดคำสั่งจนท. รวมกันมากถึง 55,490 คดี หรือคิดเป็น 96.2%ของทั้งหมด ..ขณะที่ มาตรา112 มีการดำเนินคดีต่ำมาก คิดเป็น 2.08%จากทั้งหมด

หากร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ตั้งใจสร้างความปรองดอง สู่สาธารณะ คือลดคู่ขัดแย้งทางการเมืองให้มากที่สุด.. การนิรโทษกรรม 3 คดีหลักเกี่ยวกับการชุมนุมเหล่านี้ ซึ่งล้วนเป็นคดีลหุโทษที่ยอมความง่าย เท่ากับแก้ปัญหาลดความขัดแย้ง ไปแล้วเกือบทั้งหมด 96.2%

โดยไม่ต้องแตะคดีความ อย่าง ม.116 ปลุกปั่น, ม.112 หมิ่นสถาบัน หรือกระทั่งการผิด พรบ.โบราณสถานเพราะไปพ่นสี ซึ่งเป็นส่วนน้อยมากเมื่อมองจากภาพใหญ่ ที่เมื่อมีการนิรโทษกรรมไปแล้ว อาจก่อความขัดแย้งครั้งใหม่

แต่หากต้องการจะทำจริงๆ กระบวนการสารภาพผิด, เยียวยา และลงนามไม่กระทำอีก จะมีบทบาทเป็นกลไกสำคัญ ซึ่งผมจะมานำเสนอต่อไปครับ
https://www.facebook.com/share/HAmZJR7YkNE94brt/?mibextid=WC7FNe

Written By
More from pp
ผ้าไทยใส่ได้ทุก GEN
นายพรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT เป็นประธานตัดสินผลงานรอบคัดเลือก โครงการประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ (SACICT AWARD 2020) ภายใต้หัวข้อ “ผ้าไทยใส่ได้ทุก GEN”  ซึ่งเปิดโอกาสให้นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ร่วมประชันไอเดียออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกายจากผ้าไทยที่สอดรับกับวิถีชีวิตของคนไทยยุคปัจจุบันในทุกๆเจเนอเรชั่น
Read More
0 replies on “ตัวเลขมันฟ้อง.. รองโฆษก รทสช. เสนอทางออกนิรโทษกรรม เน้น 3 คดีการเมือง “ฝ่าพรก.ฉุกเฉิน-พรบ.ความสะอาด-ขัดคำสั่งจนท.” รวมกัน 55,490 คดี คิดเป็น96.2% ..ขณะคดีม.112 มีเพียง2% จำเป็นหรือไม่ หากสร้างความขัดแย้งเพิ่ม?”