คลิกฟังบทความ..⬇️
เปลว สีเงิน
บ้านเมืองกำลังมีภัยทางความมั่นคงด้านเศรษฐกิจเสถียรภาพประเทศ
ถึงขั้น “ล่มจม-ล้มละลาย” ได้ง่ายๆ
แต่เราๆ ชาวบ้าน ประหนึ่ ง”ฝูงปลากระหายเหยื่อ”!
ในภาวะ “ล่อแหลม”
เป็นปรากฏการณ์ “น่าดีใจ” ที่มีคณะชนชั้นปัญญาชน นักวิชาการ ครูบาอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ นำโดย ๒ อดีต “ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ”
“ดร.วิรไท สันติประภพ” และ “ดร.ธาริษา วัฒนเกส”
เมื่อเห็นรัฐบาลเศรษฐาจะใช้เงิน ๕๖๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นเหยื่อเกี่ยวเบ็ด “ตกปลาการเมือง”
ท่ามกลางความเริงร่าของ “ปลาตาบอด” ที่รอตอดเหยื่อ
ปัญญาชนเหล่านั้น เป็นผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ รู้ทันเล่ห์พรานเบ็ด ที่สำคัญ รักชาติ-บ้านเมือง มองเห็นมหันตภัยนั้น
ถ้าเขา “อยู่เฉย” ก็ไม่มีใครว่าได้
ทั้งเขาเหล่านั้น ก็จะไม่เปลืองเนื้อ-เปลืองตัวด้วยซ้ำ!
แต่นักวิชาการ-ครูอาจารย์เศรษฐศาสตร์ ๙๙ ท่าน ทนเห็นความวิบัติอันจะเกิดกับประเทศกับฝูงมัสยาหลงเหยื่อไม่ได้!
ท่านจึงอุทิศตน “เข้าชื่อ-ประกาศนาม”
“ออกแถลงการณ์” เรียกร้องให้รัฐบาล “ยกเลิก” นโยบายแจกเงินดิจิทัล ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมชี้แจงเหตุผลโดยสรุป
1.ไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้น การบริโภคภายในประเทศ รวมถึงไม่มีความจำเป็นที่จะกระตุ้นการบริโภคส่วนบุคคล
แต่ควรเน้นการใช้จ่ายของภาครัฐในการสร้างศักยภาพในการลงทุนและการส่งออกมากกว่า
และการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศยังเป็นปัจจัยให้เกิดเงินเฟ้อสูงขึ้นมาอีก หลังเริ่มลดลงได้ในปีนี้ มาอยู่ที่ 2.9% ท่ามกลางราคาพลังงานที่สูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะหลัง
เพราะฉะนั้น การกระตุ้นการบริโภคในช่วงนี้จะทำให้คาดการณ์เงินเฟ้อสูงขึ้น และอาจนำมาซึ่งสภาวะที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด
เหตุผลที่ 2 เงินงบประมาณของรัฐที่มีจำกัด ย่อมมีค่าเสียโอกาสเสมอ
เงินจำนวนมากถึง 560,000 ล้านบาทนี้ ทำให้รัฐเสียโอกาสที่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
ซึ่งล้วนที่จะสร้างศักยภาพการเติบโตในระยะยาว แทนการกระตุ้นการบริโภคในระยะสั้นๆ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลต่อการสร้างหนี้สาธารณะให้เป็นภาระคนรุ่นหลัง
3.การที่ผู้กำหนดนโยบายหวังว่านโยบายนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจ “เป็นสิ่งที่เลื่อนลอย”
เพราะการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงิน 560,000 บาท เข้าระบบเป็นการคาดหวังเกินจริง
เนื่องจากการใช้จ่ายของรัฐในลักษณะเงินโอนหรือแจกเงิน มีค่าต่ำกว่า 1 และต่ำกว่าตัวทวีคูณทางการคลังสำหรับกาารใช้จ่ายโดยตรงและการลงทุนภาครัฐ
4.ไทยอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมานาน และการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทนี้ ก็จะยิ่งทำให้ไทยเสียค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอีก
เพราะก่อนหน้านี้เงินเฟ้อสูงขึ้น
การก่อหนี้จำนวนมาก ทั้งออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงิน ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับดอกเบี้ยทั้งนั้น
หนี้สาธารณะของรัฐอยู่ที่ประมาณ 10.1 ล้านล้านบาท หรือ 61.6% ของจีดีพี เป็นภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูง
เมื่อต้องจ่ายคืนหรือกู้ใหม่ ย่อมมีผลต่อภาระเงินงบประมาณรัฐในแต่ละปี
5.นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท สวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น
คือ หลังจากทั่วโลกเผชิญทั้งโรคระบาดและเศรษฐกิจถดถอย หลายประเทศพยายามลดการขาดดุลภาครัฐและหนี้สาธารณะลง
เพื่อสร้างที่ว่างทางการคลังได้รองรับวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต แต่นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท สวนทาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง…..
เมื่อไทยมีรายรับจากภาษีเพียง 13.7% ของจีดีพี ถือว่าต่ำมากๆ
6.การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้ทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี เป็นนโยบายที่ไม่สร้างความเป็นธรรม
เศรษฐี มหาเศรษฐี ที่อายุมากกว่า 16 ปี ล้วนได้รับเงินทั้งที่ไม่มีความจำเป็น
7.ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย การเตรียมตัวทางการคลังเป็นสิ่งจำเป็น
ภาระการใช้จ่ายด้านสวัสดิการและสาธารณสุขจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ผู้บริหารประเทศที่มองการณ์ไกลจึงควรใช้งบประมาณให้คุ้มค่า และรักษาวินัยและเสถียรภาพทางการคลังอย่างเคร่งครัด
ด้วยเหตุผลทั้งหมดต่างๆ ข้างต้น
นักวิชาการ และคณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท แก่ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป
เพราะประโยชน์ที่ประเทศจะได้นั้นน้อยกว่าต้นทุนที่เสียไป
และสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงินเพื่อกระตุ้นให้คนจับจ่ายใช้สอยระยะสั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพทางการคลังในระยะยาว
และควรทำแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ผู้มีรายได้น้อย ไม่เหวี่ยงแหครอบคลุมคนทุกกลุ่ม
นั่นแถลงการณ์สรุป……..
ผมอยากนำทั้ง ๙๙ รายชื่อมาบันทึกด้วยขอบคุณแทนคนไทย-ประเทศไทย เอาเท่าที่เนื้ออำนวยก่อนก็แล้วกัน
- ดร.วิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ
- ดร.ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ
- ดร.บัณฑิต นิจถาวร อดีตรองผู้ว่าฯแบงก์ชาติ
- รศ.ดร.อัจนา ไวความดี อดีตรองผู้ว่าฯแบงก์ชาติ
- ดร.ธัญญา ศิริเวทิน อดีตรองผู้ว่าฯแบงก์ชาติ
อดีตคณบดีเศรษฐศาสตร์ มธ.
- รศ.ดร.สิริลักษณา คอมันตร์
- รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
- ศ.ดร.ปราณี ทินกร
- ดร.วิญญู วิจิตรวาทการ
- ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา
- รศ.ดร.สุกัญญา นิธังกร
- รศ.ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ
- รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
- ศ.ดร.พลายพล คุ้มทรัพย์ อดีตรองอธิการบดีและรองคณบดีเศรษฐศาสตร์ มธ.
- ผศ.ปภัสสร เลียวไพโรจน์ อดีตรองอธิการบดีและอดีตอาจารย์เศรษฐศาสตร์ มธ.
- รศ.ดร.ลิลี่ โกศัยกานนท์ อดีตรองอธิการฯและอดีตคณบดีเศรษฐศาสตร์ มธ.
- ผศ.ดร.วัชรียา โตสงวน อดีตรองอธิการฯมธ.
คณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.
- ผศ.ดร.ประชา คุณธรรมดี
- ผศ.ดร.ธีรวุฒิศรีพินิจ
- อจ.พงศ์พลิน ยิ่งชนม์เจริญ
- ผศ.ชล บุนนาค
- ผศ.ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
- ผศ.สุวรรณี วัธนจิตต์
- อจ.พีรพัฒน์ เภรีรัตนสมพร
- อจ.กุศล เลี้ยวสกุล
- รศ.ชูศรี มณีพฤกษ์
- ผศ.จรินทร์ พิพัฒนกุล
- ผศ.จินตนา เชิญศิริ
- รศ.ดร.ดาว มงคลสมัย
- รศ.ดร.ภาวดี ทองอุไทย
- รศ.ดร.ภิรมย์ จั่นถาวร
- รศ.ดร.เกรียงไกร เตชกานนท์
- รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
- รศ.วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน
- ผศ.ดร.โอม หุวะนันทน์
- รศ.พรพิมล สันติมณีรัตน์
- รศ.ดร.เพลินพิศ สัตย์สงวน
- รศ.ดร.เลิศศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย
- รศ.สุขุม อัตวาวุฒิชัย
- ผศ.มณีรัตน์ ภิญโญภูษาฤกษ์
- รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ
- รศ.ดร.สมนึก ทับพันธุ์
- รศ.ดร.เยาวเรศ ทับพันธุ์
- อจ.สุพรรณ นพสุวรรณชัย
เศรษฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
- ดร.สินาด ตรีวรรณไชย
- ผศ.ดร.โสภิณ จิระเกียรติกุล
- ดร.พิชญา บุญศรีรัตน์
- ผศ.สุกำพล จงวิไลเกษม
เศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรฯ
- ผศ.ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ
- ผศ.ดร.ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล
- รศ.ดร.กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย
- รศ.ดร.โสมสกาว เพชรานนท์
- ผศ.ดร.ธนสิน ถนอมพงษ์พันธ์
- รศ.ดร.กัมปนาท วิจิตรศรีกมล
- ผศ.ดร.สันติ แสงเลิศไสว
- ผศ.ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย
- ผศ.ดร.อัฉรา ปทุมนากุล
เศรษฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
- อ.ดร.จีราภา อินธิแสง โธฌีม
- รศ.ปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์
- ผศ.ดร.กรรณิการ์ ดวงเนตร
เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
- รศ.ดร.ธัชนันท์ โกมลไพศาล
- อ.ดร.อติกา ทิพยาลัย
- รศ.ดร.กรรณิการ์ ดำรงค์พลาสิทธิ์
- ผศ.ดร.พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
- ผศ.ดร.จาริต ติงศภัทิย์
- รศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี
- รศ.จันทร์ทิพย์ บุญประกายแก้ว
- วิรัตน์ วัตนศิริธรรม อดีตเลขฯสภาพัฒน์ฯ
- ดร.จิตริยา ปิ่นทอง อดีตเอกอัครราชทูต
- ภัสสร เวียงเกตุ อดีตรองผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- รศ.ดร.โกวิทย์ กังสนันท์ ม.ราชพฤกษ์
- ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ
- ผศ.ดร.วิศาล บุปผเวส สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
- ผศ.ดร.ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ศ.ดร.วุฒิ ศิริวัฒน์นานนท์ วิศวกรมโยธา ม.เทคโนโลยีซิดนีย์
- รศ.ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม ม.รังสิต
- ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ โรงพยาบาลเทพประทาน
- เกริกไกร จีระแพทย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
……………..
นักข่าวถามเศรษฐา คำตอบท่านมีว่า……
“ไม่ครับ…เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่แจก ๕.๖ แสนล้าน”!
เปลว สีเงิน
๗ ตุลาคม ๒๕๖๖