‘อนุสรี’ ร่วมเวทีดีเบต เผย ภูมิใจไทย ยกปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมจับมือทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมรับผิดชอบครบวงจร

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ที่อาคารเทพทวารวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวอนุสรี ทับสุวรรณ เป็นตัวแทนพรรคภูมิใจไทย ร่วมเสวนาเวทีดีเบตเลือกตั้ง 66 ประชันวิสัยทัศน์ 6 ประเด็นคำถาม ในหัวข้อ “พรรคการเมืองกับความหวังในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว” ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ และคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สมาคมเพศวิถีศึกษา มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ

น.ส.อนุสรี กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยถือว่า “ผู้ที่ถูกกระทำรุนแรง คือ ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งพื้นฐานที่สุด คือ สิทธิที่จะอยู่อย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี และถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคุ้มครองและอำนวยความยุติธรรมให้ผู้ถูกละเมิด” แต่การแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ มิใช่หน่วยงานใดหน่วยงานเดียวที่จะรับผิดชอบต้องมีการบูรณาการ โดยมีแกนหลัก

หากภูมิใจไทยได้เป็นรัฐบาล และได้รับผิดชอบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งกระทรวง พม.จะเป็นแกนหลักในการประสานงานบูรณาการกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการยุติธรรม สาธารณสุข มหาดไทย องค์กรปกครองท้องถิ่น ศึกษาธิการ สังคม และสื่อมวลชน

โดยจะต้องมีการเสนอเป็นวาระแห่งชาติ และมีแผนปฏิบัติการที่มีผู้รับผิดชอบแก้ไขให้ครบวงจร ตั้งแต่การให้ความช่วยเหลือเหยื่อที่พบความรุนแรง ตั้งแต่ต้นทางจนถึงจบปัญหาที่ไม่ใช่แค่จบที่ศาลตัดสิน หรือปลายทางที่ไกล่เกลี่ยให้เหยื่อยอมรับสภาพการคงสภาพการเป็นครอบครัว แม้จะไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริงของผู้ถูกกระทำ แต่ต้องแก้ปัญหาที่ทำให้ใช้ชีวิตต่อไปได้

น.ส.อนุสรีฯ ยังได้เสนอแผนปฎิบัติการในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวว่า ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำรุนแรง 2550 ที่ส่งต่อมายัง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ที่เจตนารมย์ของกฎหมาย โดยเฉพาะ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงให้น้ำหนักการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวมากกว่าสิทธิของผู้ถูกกระทำจนเป็นพิมพ์เขียวให้เจ้าหน้าที่ระบบยุติธรรมมีพิมพ์เขียว

หรือธงว่า เรื่องกระทำรุนแรงจบที่ไกล่เกลี่ย ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ระบบยุติธรรมเริ่มตั้งแต่พนักงานสอบสวนชายที่มีแนวคิดว่า เรื่องทำร้ายร่างกายภรรยา เป็นเรื่องปกติของสังคมที่ชายในฐานะสามี มีอำนาจเหนือกว่า

จึงควรเพิ่มพนักงานสอบสวนที่เป็นสตรี และอบรมเรื่องทัศนคติรวมทั้งคัดสรรพนักงานสอบสวนชายให้มีแนวคิดความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น สถานที่สอบสวน ที่พักฉุกเฉินเพื่อให้รู้สึกปลอดภัย ไม่ถูกละเมิดซ้ำ รวมทั้งการมีเจ้าหน้าที่สหวิชาชีพที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ถูกกระทำ ที่มีจำนวนมากขึ้นลงไปถึงระดับท้องถิ่น ชุมชน ก่อนจะไปถึงกระบวนการแจ้งความที่ต้องมีสภาพการรับแจ้งความที่ไม่เป็นการละเมิดซ้ำ ไม่เป็นมิตร กับผู้ถูกกระทำ”น.ส.อนุสรี กล่าว

“สังคมต้องตระหนักรู้ตั้งแต่เด็ก ในเรื่องของความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) มีกระทรวงศึกษาธิการควรสอนเรื่องนี้ และสื่อมวลชนต้องมีจรรยาบรรณในการเสนอข่าว หลายกรณีสื่อสามารถเป็นที่พึ่งของผู้ถูกกระทำ ในการเสนอข่าวติดตามคดี แต่ไม่ใช่การขายข่าวโดยไม่คำนึงถึงเหยื่อผู้ถูกกระทำ

บทสรุปของสุดท้ายของเหตุการณ์ไม่ใช่การชนะคดี แต่คือการที่ไปต่อได้ในชีวิต การได้รับการบำบัดเยียวยาร่างกาย จิตใจ และต้องมีกระบวนการติดตามว่าจะใช้ชีวิตต่ออย่างไร อาชีพ รายได้ หรือการศึกษา ที่ต้องเดินต่อไปด้วยความมั่นใจ น.ส.อนุสรี กล่าวท้ายสุด

Written By
More from pp
มาสำรวจตัวเองกันหน่อย คุณเป็นโรคนิ้วล็อกอยู่หรือเปล่า 
หลาย ๆ คนคงจะเคยมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว เหยียดนิ้ว–งอนิ้วไม่สะดวก หรือรู้สึกว่าการงอนิ้ว เหยียดนิ้ว มีความรู้สึก “กึ๊กๆ” คล้ายสปริง และที่ร้ายสุดคือมีอาการเจ็บมากจนไม่สามารถงอนิ้วได้ ลักษณะอาการดังที่กล่าวมา เราเรียกภาวะนี้ว่าผู้ป่วยเป็น “โรคนิ้วล็อก”  (Trigger Finger)
Read More
0 replies on “‘อนุสรี’ ร่วมเวทีดีเบต เผย ภูมิใจไทย ยกปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมจับมือทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมรับผิดชอบครบวงจร”