เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาระพิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายประจํา ปีงบประมาณ 2568 นายชัชวาล แพทยาไทย สส.ร้อยเอ็ด พรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า
จากการศึกษาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 68 อย่างละเอียด ทําให้เห็นว่า การจัดสรรงบประมาณเป็นไปแบบผิดฝาผิดตัว ไม่ตอบโจทย์ หลายโครงการตั้งงบประมาณไว้สูงกว่าความเป็น จริง เปิดโอกาสให้มีการทุจริตคอรัปชั่นได้ง่ายเพราะหน่วยงานสามารถซื้อของในราคา แพงเกินจริง เพื่อให้คนขายนําเงินมาทอนให้กับผู้มีอํานาจในภายหลัง โดยฮั้วกันตั้งแต่การทํา TOR “จากช่องว่างของระเบียบที่เอื้อให้กับบางหน่วยงาน โดยเฉพาะหน่วยงานด้านความมั่นคง จึงเปิดโอกาสให้ ไอ้โม่งออกมาบงการผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ไปเข้ากระเป๋าของตัวเอง และพวกพ้อง
ในการพิจารณางบประมาณปี 67 ตนมีโอกาสทําหน้าที่เป็นอนุกรรมาธิการฯ ด้านความมั่นคง พบว่า หน่วยงาน หรือเหล่าทัพ จะของบประมาณจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ในกรอบกว้างๆ ไม่มีรายละเอียดเหมือนกับกระทรวงอื่นๆ โดยอ้างว่าเป็นความลับด้านความมั่นคง ซึ่งตรงนี้เองเป็นจุดอ่อน ให้คนชั่วเข้ามาทุจริต เพราะงบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์บวมออกมาเกินความเป็นจริง และเวลาที่ หน่วยมาชี้แจงงบประมาณ ผู้ชี้แจงจะรายงานความจําเป็นออกมาแบบหวานหยดย้อย แถมสัญญาด้วยว่า จะมีการจัดหาอย่างโปร่งใส พึ่งพาตัวเองให้มากที่สุด ให้งบประมาณรั่วไหลออกนอกประเทศน้อยที่สุด “พอสภาฯ อนุมัติเงินให้ไป กลับหน้ามือเป็นหลังมือ ก้นเปรี้ยวกันหมด
บางกองทัพตั้งราคายุทโธปกรณ์สูงกว่า ความเป็นจริงถึง 2 เท่า ส่วนบางกองทัพ เลือกที่จะจัดหาจากต่างประเทศ 100% ทั้งๆที่ทําในเมืองไทยทําเองได้ไม่น้อยกว่า 30-40% กลายเป็นเอาเงินไปให้ต่างชาติทั้งหมด นายชัชวาล ยกตัวอย่างการตั้งงบประมาณสูงเกินจริง นําไปสู่พฤติการณ์การจัดซื้อที่เข้าข่ายทุจริตคอรัปชั่น ด้วยว่า ครั้งหนึ่งสภาฯแห่งนี้เคยอนุมัติเงิน 900 ล้านบาทเศษ เพื่อให้กองทัพอากาศนําไปจัดหายุทโธปกรณ์ที่ เป็นวิทยุสื่อสาร และกรรมการจัดหาในครั้งนั้นก็ตั้งราคากลางตาม TOR ไว้ที่ 900 ล้านบาทเศษ ในขณะที่ มูลค่าของโครงการไม่ถึง 500 ล้านบาท และหลังจากมีการออกมาเปิดโปง มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายก รัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม สุดท้ายกองทัพอากาศก็ต้องล้มเลิกการจัดหาในครั้งนั้นไป
มาครั้งนี้ขอให้ นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม และผู้บัญชาการทหารอากาศ ตรวจสอบการตั้งงบประมาณการจัดซื้อวิทยุสื่อสาร ที่มีการตั้งราคาสูงกว่าความเป็นจริงกว่า 1 เท่าตัวอีกครั้ง ขอให้รีบตรวจสอบและแก้ไขโดยด่วน โดยเรื่องนี้เชื่อว่า ทั้ง รมว.กลาโหม ไม่รู้เรื่องและ ผบ.ทอ. ก็ก็อาจจะไม่รู้เรื่องด้วยเช่นกัน แต่พลาดที่มอบอํานาจให้คน ไม่ดีมารับผิดชอบเรื่องการจัดซื้อ ทั้งๆที่มีมลทิน และยังมีเรื่องทุจริตค้างอยู่ใน ป.ป.ช. แต่เรื่องนี้ความผิดยังไม่สําเร็จ เพราะกรรมการกลัวติดคุก เลยส่งข้อมูลมาให้ตน “บอกใบ้ให้นิดนึง เป็นฝีมือของคนๆเดิมที่อยู่เบื้องหลัง 3 โครงการ งบประมาณเกือบ 3 พันล้านบาทของกองทัพอากาศที่เคยถูกอภิปรายในสภาฯ จนสุดท้ายต้องยกเลิกการจัดหาในครั้งนั้นไปทั้งหมด เป็นไอ้โม่งที่ตอนนั้นเป็นนายพล 3 ดาว มาวันนี้เป็นนายพล 4 ดาว ที่มีชื่ออยู่ในสํานวนของ ป.ป.ช.ด้วย” นายชัชชาล กล่าว
นายชัชวาล กล่าวต่อถึงปัญหาการตั้งงบประมาณไม่เหมาะสมกับข้อเท็จจริงและปัญหาของประเทศว่า ใน ขณะที่คนไทยยังไม่มีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ คนไทยที่ถูกทําร้ายจากอาชญากรทางคอมพิวเตอร์ ทุกวันความเสียหายปีๆหนึ่งหลายหมื่นล้านบาท ความเสียหายทางชีวิตและจิตใจที่ประเมินค่าไม่ได้มีทั้งคนที่ ฆ่าตัวตาย และคนที่ซึมเศร้า จากการโดนทําร้ายของมิจฉาชีพเหล่านี้ แต่เหมือนรัฐบาลจะเพิกเฉย และไม่ให้ ความสนใจ เพราะดูจากการตั้งงบประมาณในปีนี้ มองไม่เห็นเลยว่า ตั้งงบประมาณเหล่านี้ไว้ตรงไหน ทั้งที่การต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์เป็นเรื่องเร่งด่วน และร้ายแรงซึ่งน่าเห็นใจ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มีอํานาจตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แต่หากรัฐบาลไม่ให้เครื่องมือไปด้วย เปรียบเสมือนตํารวจถือกระบองที่ต้องไปสู้กับโจรที่ถือปืน
พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลส่งเสริม และสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ของไทยด้วยว่า ปัจจุบันเป็นทราบกันว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของเรา มีคุณภาพ และ มาตรฐานในระดับสากล ซึ่งตนและเพื่อน สส.หลายคนก็ได้อภิปรายสนับสนุนเรื่องของการ พึ่งพาตนเอง โดยเฉพาะด้านความมั่นคงมาโดยตลอด รัฐบาลจึงควรส่งเสริม และสนับสนุนให้กองทัพและ หน่วยงานด้านความมั่นคงต่างๆ ต้องใช้ของที่ผลิตในประเทศ ให้บริษัทของคนไทยได้เข้าแข่งขันอย่างเป็นธรรม โดยหากทําไม่ได้ทั้งหมด ระบบ หรือชิ้นส่วนใดที่ทําได้ในประเทศ ก็ขอให้เหล่าทัพพิจารณานําไปใส่ ไว้ใน TOR ด้วย
อย่างกรณีการต่อเรือฟรีเกตของกองทัพเรือ ซึ่งสามารถทําได้ในประเทศไทย เป็นโอกาส ของคนไทย และเป็นโอกาสที่ดีของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย ที่จะได้พิสูจน์ความพร้อม และ มาตรฐานของโรงงานในระดับโลก ที่ปัจจุบันมีลูกค้าต่างประเทศมาใช้บริการไม่รู้กี่รายต่อกี่ราย แต่กองทัพ เรือกลับไม่ยอมจ้าง
และขอเรียกร้องรัฐบาลให้สัญญากับสภาฯว่า กรรมาธิการงบประมาณจะมีโอกาสได้ดูรายละเอียดและตรวจสอบการทำสัญญาต่างๆ ไม่เช่นนั้นตนก็ยากที่จะเห็นด้วยกับ พ.ร.บ.งบประมาณฉบับนี้” นายชัชวาล กล่าวทิ้งท้าย