ประเทศไทยผ่านวิกฤติมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะกระทบกับบ้านเรือน เศรษฐกิจ คนหมู่มาก หรือผลกระทบระดับประเทศก็เห็นว่าจะผ่านมันไปได้ทุกครั้ง

แล้วครั้งนี้ล่ะ…กับการต่อสู้กับโควิด-19 จะผ่านไปได้อีกหรือไม่ ?

วิกฤตแบบนี้ไม่มีใครอยากจะให้เกิดแน่นอน เพราะสีสันของสังคมก็เงียบเหงาลงไปเรื่อยๆ สีสันของชีวิตก็ซบเซาตามลงมา นี่ยังไม่ได้พูดถึงผลกระทบกับเศรษฐกิจประเทศ เศรษฐกิจโลกที่ “เฉามานานเกือบ 2 ปี” ยิ่งยังดูหดหู่ไปกันใหญ่

แต่ไม่ว่าอย่างไร คนไทยในสังคมก็ยังต้องสู้ ต้องดิ้นรนกันไป เพื่อ “ทวงคืนความสดใส” ของสังคมอีกครั้ง

แม้จะยาวนานกว่าทุกวิกฤตที่เคยผ่านมา แม้จะรุนแรงกว่าทุกเหตุการณ์ แม้จะต้องสูญเสียอะไรไปก็ตาม แต่คนที่รู้รักษาตัวรอด ถือว่าเป็นสิ่งดี

แต่แม้ตัวเองจะได้รับผลกระทบ “แต่ความมีน้ำใจของคนไทยเองก็ยังเห็นได้อยู่ตลอดเวลา”

การหยิบยื่นของที่เกินจากความพอมีพอกินให้กัน ช่วยเหลือกันในยามตกทุกข์ได้ยาก เกิดขึ้นในสังคมไทยมาโดยตลอด

และ “วิกฤตินี้ก็ทำให้เห็นน้ำใจ”แบบนั้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะมาจากทิศทางไหนก็ตาม

ประชาชนหยิบยื่นกำลังใจให้กันและกันเอง ภาคเอกชนขนาดใหญ่ที่มีแรงเหลือพอที่จะประคับประคองตัวเองได้ แม้ตัวเองจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ก็พร้อมที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือประชาชนในสังคมไทยก็มีให้เห็นมากมาย

ที่ผ่านมาภาคเอกชนก็พร้อมระดมทรัพยากร เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อให้สถานการณ์ในประเทศดีขึ้นโดยเร็ว

ไม่ว่าจะเป็นตั้งโรงพยาบาลสนาม จัดจุดบริการวัคซีนนอกโรงพยาบาล สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องอุปโภคบริโภคให้โรงพยาบาล ชุมชน และประชาชนที่เดือดร้อน

แถมยังพยายามลงทุนตามแผนงานของบริษัท เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศอีกด้วย

อย่างกลุ่ม ปตท. ก็เห็นว่าใช้ความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรม และผลิตภัณฑ์ขององค์กรมาประยุกต์ใชเ เช่น การพัฒนานวัตกรรมเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ สร้างห้องความดันลบสำหรับผู้ป่วยให้โรงพยาบาลต่างๆ

และวิจัยพัฒนาชุดตรวจคัดกรองของสถาบันวิทยสิริเมธี ช่วยเหลือสังคมและเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 มาโดยตลอด

ซึ่งทั้งหมดต้องถือว่าเป็นกำลังใจที่สำคัญทีเดียว!

แต่ “การระบาดระลอก 3 ก็ทำให้จุกอก” เพราะรุนแรงจริงๆ คนติดคนตายมากที่สุดกระทบหนักไปทุกแขนง

กลุ่ม ปตท. ก็เลยจัดตั้ง โครงการ “ลมหายใจเดียวกัน” สนับสนุนสังคมต่อสู่กับความยากลำบาก

ที่ผ่านมาตั้งแต่ 2563 กลุ่ม ปตท. เองก็ร่วมดูแลสังคมไปไม่ใช่น้อย

ทั้งซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ มอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ

สนับสนุนพื้นที่ให้บริการวัคซีนและวางระบบดิจิทัลให้แก่หน่วยบริการวัคซีนเคลื่อนที่ของ กทม. มอบถุงยังชีพและสนับสนุนสินค้าจากวิสาหกิจชุมชนเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ รวมถึงให้บริษัทลูก บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด นำเข้ายาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) จากต่างประเทศ จำนวน 2,000 ขวด เพื่อใช้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่สามารถใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ได้

ซื้อแอลกอฮอล์ไปแจกจ่ายอีกเพียบทั้งหน่วยงานรัฐ และโรงพยาบาล แล้วสนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 7 แห่ง

แล้วอุปกรณ์การแพทย์ก็มีอีกหลายชนิดที่เอาไปมอบให้อีก 77 โรงพยาบาล

ไหนจะเครื่องช่วยหายใจอีก 2 ล็อต ทั้งเครื่องช่วยหายใจแบบใช้อากาศบริสุทธิ์ (PAPR) 108 ชุด เครื่องให้ออกซิเจนอัตราไหลสูง 306 เครื่อง เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยวิกฤต 62 เครื่อง สนับสนุนเงินจัดซื้อออกซิเจนเหลว

จัดหน่วยฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ (Mobile Vaccine Unit) เชิงรุกเข้าสู่ 4 พื้นที่ใหญ่

ฉีดให้ประชาชนไปแล้ว “61,182 คน”

เขตหลักสี่ 4,270 คน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 5,360 คน เขตดินแดง 31,532 คน และเขตคลองเตยอีก 20,020 คน

นี่ยังไม่นับรวมที่ออกมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้านได้เพื่อความปลอดภัยอีกนะ

เพราะพนักงานในส่วนปฏิบัติการที่ยังต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อ “ดูแลความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ” ในช่วงสภาวะวิกฤต ปตท. ก็ได้ดูแลจัดที่พักอาศัย อีกทั้งได้จัดวัคซีนทางเลือกให้พนักงานเพื่อลดภาระของรัฐบาล

ถือว่าน้ำใจครั้งนี้ รวมๆ แล้วมีมูลค่ามากมายมหาศาลจริงๆ แต่ไม่ใช่มูลค่าทางตัวเงินซะทีเดียว

เพราะมันยังเป็น “มูลค่าทางจิตใจ” อีกด้วยม

ท่ามกลางวิกฤตที่ยังวุ่นวายแบบนี้ แต่ก็ยังมี “บริษัทไทย” ที่มีน้ำใจ ออกมาช่วย “คนไทย” ด้วยกันเอง เป็นเรื่องที่น่ายกย่อง และยินดีจริงๆ

Written By
More from pp
“ดร.ไพลิน เทียนสุวรรณ” ปลื้มชาวบ้านชื่นชอบนโยบาย “ลุงตู่” ไม่แผ่ว อยากให้เข้ามาทำงานต่อ
พรรครวมไทยสร้างชาติ เปิดสำนักงานประจำ จ.สมุทรปราการ นิมนต์หลวงพ่อวัดไร่ขิงมาเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล นักการเมืองท้องถิ่นแห่ร่วมยินดีคับคั่ง
Read More
0 replies on “เติม “น้ำใจ” ช่วงวิกฤต”