ประเทศไทยผ่านวิกฤติมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะกระทบกับบ้านเรือน เศรษฐกิจ คนหมู่มาก หรือผลกระทบระดับประเทศก็เห็นว่าจะผ่านมันไปได้ทุกครั้ง

แล้วครั้งนี้ล่ะ…กับการต่อสู้กับโควิด-19 จะผ่านไปได้อีกหรือไม่ ?

วิกฤตแบบนี้ไม่มีใครอยากจะให้เกิดแน่นอน เพราะสีสันของสังคมก็เงียบเหงาลงไปเรื่อยๆ สีสันของชีวิตก็ซบเซาตามลงมา นี่ยังไม่ได้พูดถึงผลกระทบกับเศรษฐกิจประเทศ เศรษฐกิจโลกที่ “เฉามานานเกือบ 2 ปี” ยิ่งยังดูหดหู่ไปกันใหญ่

แต่ไม่ว่าอย่างไร คนไทยในสังคมก็ยังต้องสู้ ต้องดิ้นรนกันไป เพื่อ “ทวงคืนความสดใส” ของสังคมอีกครั้ง

แม้จะยาวนานกว่าทุกวิกฤตที่เคยผ่านมา แม้จะรุนแรงกว่าทุกเหตุการณ์ แม้จะต้องสูญเสียอะไรไปก็ตาม แต่คนที่รู้รักษาตัวรอด ถือว่าเป็นสิ่งดี

แต่แม้ตัวเองจะได้รับผลกระทบ “แต่ความมีน้ำใจของคนไทยเองก็ยังเห็นได้อยู่ตลอดเวลา”

การหยิบยื่นของที่เกินจากความพอมีพอกินให้กัน ช่วยเหลือกันในยามตกทุกข์ได้ยาก เกิดขึ้นในสังคมไทยมาโดยตลอด

และ “วิกฤตินี้ก็ทำให้เห็นน้ำใจ”แบบนั้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะมาจากทิศทางไหนก็ตาม

ประชาชนหยิบยื่นกำลังใจให้กันและกันเอง ภาคเอกชนขนาดใหญ่ที่มีแรงเหลือพอที่จะประคับประคองตัวเองได้ แม้ตัวเองจะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ก็พร้อมที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือประชาชนในสังคมไทยก็มีให้เห็นมากมาย

ที่ผ่านมาภาคเอกชนก็พร้อมระดมทรัพยากร เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อให้สถานการณ์ในประเทศดีขึ้นโดยเร็ว

ไม่ว่าจะเป็นตั้งโรงพยาบาลสนาม จัดจุดบริการวัคซีนนอกโรงพยาบาล สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องอุปโภคบริโภคให้โรงพยาบาล ชุมชน และประชาชนที่เดือดร้อน

แถมยังพยายามลงทุนตามแผนงานของบริษัท เพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศอีกด้วย

อย่างกลุ่ม ปตท. ก็เห็นว่าใช้ความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรม และผลิตภัณฑ์ขององค์กรมาประยุกต์ใชเ เช่น การพัฒนานวัตกรรมเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ สร้างห้องความดันลบสำหรับผู้ป่วยให้โรงพยาบาลต่างๆ

และวิจัยพัฒนาชุดตรวจคัดกรองของสถาบันวิทยสิริเมธี ช่วยเหลือสังคมและเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 มาโดยตลอด

ซึ่งทั้งหมดต้องถือว่าเป็นกำลังใจที่สำคัญทีเดียว!

แต่ “การระบาดระลอก 3 ก็ทำให้จุกอก” เพราะรุนแรงจริงๆ คนติดคนตายมากที่สุดกระทบหนักไปทุกแขนง

กลุ่ม ปตท. ก็เลยจัดตั้ง โครงการ “ลมหายใจเดียวกัน” สนับสนุนสังคมต่อสู่กับความยากลำบาก

ที่ผ่านมาตั้งแต่ 2563 กลุ่ม ปตท. เองก็ร่วมดูแลสังคมไปไม่ใช่น้อย

ทั้งซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ มอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ

สนับสนุนพื้นที่ให้บริการวัคซีนและวางระบบดิจิทัลให้แก่หน่วยบริการวัคซีนเคลื่อนที่ของ กทม. มอบถุงยังชีพและสนับสนุนสินค้าจากวิสาหกิจชุมชนเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ รวมถึงให้บริษัทลูก บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด นำเข้ายาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) จากต่างประเทศ จำนวน 2,000 ขวด เพื่อใช้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่สามารถใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ได้

ซื้อแอลกอฮอล์ไปแจกจ่ายอีกเพียบทั้งหน่วยงานรัฐ และโรงพยาบาล แล้วสนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 7 แห่ง

แล้วอุปกรณ์การแพทย์ก็มีอีกหลายชนิดที่เอาไปมอบให้อีก 77 โรงพยาบาล

ไหนจะเครื่องช่วยหายใจอีก 2 ล็อต ทั้งเครื่องช่วยหายใจแบบใช้อากาศบริสุทธิ์ (PAPR) 108 ชุด เครื่องให้ออกซิเจนอัตราไหลสูง 306 เครื่อง เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยวิกฤต 62 เครื่อง สนับสนุนเงินจัดซื้อออกซิเจนเหลว

จัดหน่วยฉีดวัคซีนเคลื่อนที่ (Mobile Vaccine Unit) เชิงรุกเข้าสู่ 4 พื้นที่ใหญ่

ฉีดให้ประชาชนไปแล้ว “61,182 คน”

เขตหลักสี่ 4,270 คน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 5,360 คน เขตดินแดง 31,532 คน และเขตคลองเตยอีก 20,020 คน

นี่ยังไม่นับรวมที่ออกมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้านได้เพื่อความปลอดภัยอีกนะ

เพราะพนักงานในส่วนปฏิบัติการที่ยังต้องปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อ “ดูแลความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ” ในช่วงสภาวะวิกฤต ปตท. ก็ได้ดูแลจัดที่พักอาศัย อีกทั้งได้จัดวัคซีนทางเลือกให้พนักงานเพื่อลดภาระของรัฐบาล

ถือว่าน้ำใจครั้งนี้ รวมๆ แล้วมีมูลค่ามากมายมหาศาลจริงๆ แต่ไม่ใช่มูลค่าทางตัวเงินซะทีเดียว

เพราะมันยังเป็น “มูลค่าทางจิตใจ” อีกด้วยม

ท่ามกลางวิกฤตที่ยังวุ่นวายแบบนี้ แต่ก็ยังมี “บริษัทไทย” ที่มีน้ำใจ ออกมาช่วย “คนไทย” ด้วยกันเอง เป็นเรื่องที่น่ายกย่อง และยินดีจริงๆ

Written By
More from pp
“คิง เพาเวอร์” เปิดร้านค้าใหม่ พร้อมต้อนรับลูกค้านักเดินทางจากทุกมุมโลก ณ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เร่งเครื่องกลุ่มธุรกิจรีเทลเพื่อการท่องเที่ยวเติบโตรับไฮซีซั่น
กลุ่มบริษัท “คิง เพาเวอร์” ผู้นำธุรกิจค้าปลีกเพื่อการท่องเที่ยวครบวงจร ขานรับท่องเที่ยวไทย เปิด คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี และคิง เพาเวอร์ แท็กฟรี...
Read More
0 replies on “เติม “น้ำใจ” ช่วงวิกฤต”