ถอดบทเรียน กู้ชีพ ‘อิริกเซน’ นักฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก เมื่อเครื่อง AED ในที่สาธารณะ ช่วยชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

จากเหตุการณ์ปฏิบัติการช่วยชีวิต คริสเตียน อิริกเซน นักฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก ที่มีอาการช็อกและหมดสติในสนาม ระหว่างการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือ ยูโร 2020 แสดงให้เห็นว่าการมีแพทย์ประจำสนามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินมีความสำคัญอย่างมากกับเหตุการณ์ในครั้งนี้

ซึ่งที่ผ่านมาสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (FIFA) ได้ให้ความสำคัญกับอาการบาดเจ็บและป่วยฉุกเฉินในขณะที่ทำการแข่งขันฟุตบอล ไม่ว่าจะเป็นการหยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น จึงได้ออกข้อกำหนดว่าการแข่งขันฟุตบอลต่างๆ จะต้องมีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator: AED) รถพยาบาลและทีมแพทย์ประจำสนาม

นายสุพิชัย วิจิตรภาพ ผู้อำนวยการฝ่ายขายเครื่องมือแพทย์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health) เปิดเผยว่า นอกจากสนามฟุตบอลหรือสนามกีฬาแล้ว สถานที่สาธารณะอื่นๆ ที่มีผู้คนจำนวนมาก เช่น สถานีรถไฟ สนามบิน โรงเรียน และ อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ก็ควรมีดารติดตั้งเครื่องนี้ด้วย รวมทั้งควรมีการฝึกบุคลากรและประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ให้สามารถทำการฟื้นคืนชีพเบื้องต้น (CPR) ประกอบกับการใช้เครื่อง AED ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้เครื่อง AED จะสามารถช่วยชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ ให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติ ฟื้นได้ถึง 70% หากได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและถูกต้องตามหลักวิธี คือ ทำ CPR ประกอบกับการใช้เครื่อง AED ภายในระยะเวลา นาที ซึ่งจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของประชาชนที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ แต่หากไม่มีเครื่อง AED การฟื้นกลับมาของผู้ป่วยจะมีเพียง 50% เท่านั้น โดยผู้ป่วยโรคหัวใจนั้น มี ประเภท คือ แบบที่จำเป็นต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า กับแบบที่ไม่ต้องการเครื่องช่วย

สำหรับการทำ CPR นั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการปฐมพยาบาลให้หัวใจทำงานต่อไป เปรียบเสมือนการส่งเลือดให้ไปเลี้ยงสมองและอวัยวะอื่นๆไม่ให้ตาย หรือได้รับความเสียหาย ไม่ใช่การรักษาภาวะผิดปกติของหัวใจที่ต้นเหตุ แต่ AED เป็นการรักษาโดยตรงช่วยให้หัวใจดีขึ้นและกลับมาทำงานเป็นระบบ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสนามกีฬาและฟิตเนส เป็นจุดที่จำเป็นต่อการติดตั้งเครื่อง AED เพราะผู้ใช้บริการมีการเคลื่อนไหวร่างกายและมีกลุ่มคนหลายวัยอยู่รวมกันในพื้นที่ ซึ่งไม่สามารถรู้สาเหตุที่เป็นปัญหาสุขภาพได้ทันทีในเบื้องต้น เครื่อง AED จึงมีบทบาทและเป็นสิ่งจำเป็นต่อการช่วยชีวิต

ปัจจุบันประเทศไทยมีเครื่องติดตั้ง AED อยู่ตามสถานที่ต่างๆ ประมาณ 30,000 เครื่อง และมีการช่วยเหลือให้รอดชีวิตจากเครื่อง AED เป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยทุกเพศทุกวัยทุกที่ทุกเวลา ซึ่งอัตราของประชาชนที่เสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีจำนวนมากพอๆกับผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ โดยคาดว่าในอนาคตจะมีกฏหมายประกาศบังคับให้ติดตั้งเครื่อง AED ภายในสถานที่ต่างๆอย่างชัดเจน

N Health เล็งเห็นความสำคัญ การสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในการติดตั้งเครื่อง AED ให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตในกรณีหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ที่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่การทำ CPR ร่วมกับการใช้เครื่อง AED สามารถทำให้การช่วยชีวิตประสบผลสำเร็จมากขึ้น 50-70% N Health จึงยินดีให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่ต้องการติดตั้ง AED ไว้ในพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ให้บริการต่างๆ โทร. 0-2762-4099  หรืออีเมล [email protected]

Written By
More from pp
ออมสิน จับมือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งเป้าพัฒนา 5,000 ราย ได้ต่อยอดอาชีพอย่างยั่งยืน
วันนี้ (2 ตุลาคม 2562) ณ ห้องรามจิตติ ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และนายสุชาติ...
Read More
0 replies on “ถอดบทเรียน กู้ชีพ ‘อิริกเซน’ นักฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก เมื่อเครื่อง AED ในที่สาธารณะ ช่วยชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน”