“Robotic Assisted Surgery” ผู้ช่วยสำคัญ “ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม”

“ข้อเข่าเสื่อม” ปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุที่ทำให้เกิดอาการปวดสร้างความทุกข์ทรมานส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หากปล่อยให้อาการลุกลามอาจทำให้ข้อเข่าผิดรูปจนลุกเดินลำบากหรือเดินไม่ได้จนต้องผ่าตัด

ที่ผ่านมาโรงพยาบาลเวชธานีได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมและข้อสะโพกเทียมมานานนับ 10 ปี ในรูปแบบ MIS (Minimal Invasive Surgery) หรือการผ่าตัดแบบแผลเล็กบาดเจ็บต่อแผลผ่าตัดน้อย ควบคู่ไปกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Assisted Surgery in Total Knee Arthroplasty หรือ CAS)

เพื่อช่วยให้แพทย์มีข้อมูลระหว่างทำผ่าตัด ส่งผลให้สามารถผ่าตัดได้ถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัยมากขึ้น ลดปัญหาการวางตำแหน่งผิวข้อเข่าเทียมที่ไม่เหมาะสม

รวมทั้งเทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมได้ละเอียดและแม่นยำขึ้น ด้วยการใช้ Cartigramเพื่อบอกความสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า ตลอดจนสุขภาพโดยรวมของข้อเข่า และล่าสุดมีการใช้ “หุ่นยนต์” มาช่วยในการผ่าตัดทำให้มีความแม่นยำและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

นายแพทย์เปรมเสถียร ศิริธนาพิพัฒน์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่า ข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงวัยเมื่ออายุมากขึ้น

แต่ปัจจุบันพบผู้ป่วยในช่วงอายุที่น้อยลง หากปล่อยให้เสื่อมมากอาจกระทบต่อการใช้ชิวิตประจำวัน เมื่อมีอาการรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

ปัจจุบันโรงพยาบาลเวชธานีมีการพัฒนาไปอีกระดับหนึ่ง เพื่อให้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้ผลที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น ด้วยการต่อยอดจากการใช้คอมพิวเตอร์นำร่องช่วยผ่าตัด (Computer Assisted Surgery) มาเป็นหุ่นยนต์นำร่องช่วยผ่าตัด (Robotic Assisted Surgery) เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้การผ่าตัดมีความถูกต้องและแม่นยำของการผ่าตัดมีมากยิ่งขึ้น

สำหรับการนำหุ่นยนต์นำร่องช่วยผ่าตัด (Robotic Assisted Surgery) มาใช้ในการผ่าตัดเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรง หลังจากผ่าตัดแล้วจะสามารถทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างความสุข สามารถออกกำลังกายได้ และใช้งานใกล้เคียงกับเข่าที่เป็นธรรมชาติได้มากที่สุด

หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยสามารถลุกยืน เดิน หรือขยับข้อเข่าได้ในระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง อีกทั้งแผลผ่าตัดยังมีขนาดเล็ก ทำให้บาดเจ็บน้อย ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน

“เทคโนโลยีเหล่านี้นอกจากจะส่งผลดีกับผู้ป่วยแล้วยังเปรียบเสมือนผู้ช่วยคนสำคัญของศัลยแพทย์ในการช่วยวางแผนและดำเนินการผ่าตัด จุดเด่นของหุ่นยนต์นำร่องช่วยผ่าตัดจะช่วยกำหนดตำแหน่งเนื้อกระดูกก่อนตัดกระดูก ช่วยวัดว่าตรงกับจุดที่ต้องการผ่าหรือไม่ ลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดที่จะไปทำลายกระดูกที่อาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนได้

นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวหมุดยึดแนวตัดของกระดูกเพื่อไม่ให้มีการขยับ และเมื่อใดก็ตามที่มีการผ่าตัดเกินจุดที่วัดไว้เครื่องก็จะหยุดทันที ทำให้การผ่าตัดไม่เลยจากจุดที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ ด้วยประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม จะช่วยให้สามารถนำผิวข้อเทียมกลับคืนในตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิมที่ถูกต้อง และกลับมาใช้งานได้อย่างธรรมชาติและถูกต้องมากที่สุด” นายแพทย์เปรมเสถียร กล่าว

อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลเวชธานีซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีช่วยการรักษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยจะมีนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมอื่น ๆ มาใช้ เพื่อช่วยวัดแรงดันหรือแรงดึงของเอ็นในข้อ ทำให้การผ่าตัดเหลือเอ็นให้ได้มากที่สุด และสามารถเก็บกระดูกของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด

แต่หากเริ่มมีอาการที่ตรงกับอาการข้อเข่าเสื่อม มีอาการผิดปกติ หรือมีอาการปวดเข่าเรื้อรัง ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านข้อเข่าเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อที่จะได้ไม่ต้องทรมานกับความเจ็บปวดและสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

Written By
More from pp
ร่วมเชียร์สุดใจ ส่งสโมสรไทยไปเป็นแชมป์อาเซียน ทรูไอดี ยิงสดฟรี ศึกเอเอฟเอฟ ฟุตซอลคัพ 2022 (AFF FUTSAL CUP 2022) ดูฟรีทางช่อง ID Station หมายเลข 894
ทรูไอดี เสิร์ฟความเร้าใจให้แฟนๆ กีฬาอย่างต่อเนื่อง เตรียมตัวรับชมความมันส์ในรายการ “เอเอฟเอฟ ฟุตซอลคัพ 2022” (AFF FUTSAL CUP 2022) ทรูไอดีถ่ายทอดสด...
Read More
0 replies on ““Robotic Assisted Surgery” ผู้ช่วยสำคัญ “ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม””