วิศวะมหิดล MOU ผนึกพลัง ครีเอตุส พัฒนาการศึกษาและสตาร์ทอัพ อะคาเดมี ตอบรับโลกอนาคต

อนาคตประเทศไทยขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและสตาร์ทอัพเปลี่ยนโลก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี ลงนาม MOU บันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน กับบริษัท ครีเอตุส คอร์โปเรชั่น จำกัด โดย นายไตรนุภาพ จิระไตรธาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้นำธุรกิจโซลูชั่นและนวัตกรรม เพื่อมุ่งสร้างวิศวกรเปลี่ยนโลกและบ่มเพาะเทคสตาร์ทอัพ ตอบรับโลกอนาคต ณ อินโนจีเนียร์ สตูดิโอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เศรษฐกิจใหม่มีความต้องการบุคคลากรที่ก้าวหน้าด้วยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีไอเดียสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ สามารถต่อยอดร้างนวัตกรรมได้ ซึ่งทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการพัฒนาการศึกษา Active Learning อย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคทฤษฎีและทักษะห้องปฏิบัติการ มี Maker Space ต่างๆ เพื่อเจนเนอเรชั่นใหม่ทุกคน ความร่วมมือครั้งนี้ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับบริษัท ครีเอตุส คอร์โปเรชั่น จำกัด ในฐานะองค์กรภาคธุรกิจชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นครบวงจร (End-to-End Solutions) และผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมระดับโลก จะนำองค์ความรู้ผสานประสบการณ์ที่สั่งสม ตลอดจนระบบนิเวศทางธุรกิจมาสร้างประโยชน์ให้กับการอุดมศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้กับประเทศ ทั้งในรูปแบบการบ่มเพาะนักศึกษาสู่การเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ (Startup Incubation) ร่วมสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้แก่บัณฑิต (Curriculum Partnership) โดยบริษัทฯ จะมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน โดยจะจัดทีมผู้เชี่ยวชาญมาร่วมบรรยายคลาสในชั้นเรียนด้วยการร่วมผลิตผลงานวิชาการที่ตอบโจทย์ธุรกิจอุตสาหกรรม (Joint Publication) ทั้งในรูปแบบของงานวิจัย บทความทางวิชาการม กรณีศึกษา หรืองานให้คำปรึกษา เป็นต้น รวมทั้งการร่วมสร้างเสริมประสบการณ์จริงทางธุรกิจให้กับนักศึกษา (Experiential Learning) อาทิ การฝึกงาน และการนำนักศึกษาเข้าไปศึกษาดูงานในโลกธุรกิจจริง

นายไตรนุภาพ จิระไตรธาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ครีเอตุส คอร์โปเรชั่น จำกัด กล่าวว่า บริษัท ครีเอตุส คอร์โปเรชั่น จำกัด ก่อตั้งมากว่า 39 ปี เป็นองค์กรผู้นำธุรกิจโซลูชั่นและนวัตกรรมของประเทศไทย สำหรับธนาคาร สถาบันการเงิน อุตสาหกรรมระบบรักษาความปลอดภัย ค้าปลีก โรงแรมและสำนักงาน โรงพยาบาลและผลิตภัณฑ์ที่ก้าวล้ำด้วย เราเห็นความสำคัญของพลังความร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงประเทศ แนวทางความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรามุ่งที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนสนับสนุนระบบนิเวศทางธุรกิจเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ได้มีพื้นที่ในการศึกษาและพัฒนาความรู้ สั่งสมความรู้ความสามารถไปพัฒนาต่อยอดโอกาสทางธุรกิจเป็นสตาร์ทอัพในอนาคต ซึ่งเรามีพื้นที่ Eco System หรือระบบนิเวศที่เป็นเวทีให้คนรุ่นใหม่สามารถคิด และแสดงออกได้ โดยนักศึกษาไม่ต้องเสี่ยงหรือต้องลงทุนเอง ในการดำเนินงานของโครงการบ่มเพาะ Startup Academy เริ่มแรกจะให้คำแนะนำนักศึกษาในการจัดตั้งทีมเทคสตาร์ทอัพ ประกอบด้วย หัวหน้าทีมฝ่ายขายฝ่ายการตลาดฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น และนำทีมนักศึกษาที่สมัครมาเข้าร่วมกิจกรรม Onboarding Program ที่ครีเอตุสฯ ซึ่งจะประกอบด้วย การเรียนรู้ รูปแบบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และบริการ โอกาสทางธุรกิจ รวมถึงกระบวนการบ่มเพาะไอเดีย  จะมีแผนกต่างๆ มาช่วยให้คำแนะนำนักศึกษาในการจัดทำแผนธุรกิจ และแปลงแผนธุรกิจสู่การปฏิบัติจริง

ด้านแนวโน้มโซลูชั่นและนวัตกรรมในปี 2020 พบว่า ภาคธุรกิจอยู่ระหว่าง Disrupt ตัวเอง เพื่อรับมือกับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมและกระทบต่อธุรกิจอย่างรุนแรง สภาพการณ์ดังกล่าว ทำให้ภาคธุรกิจมีความต้องการบุคคลากรและโซลูชั่น-นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำ Digital Transformation ขององค์กร รวมถึงโซลูชั่นและนวัตกรรมหลังยุคดิจิทัล (Post-Digital Era) ซึ่งครอบคลุมพื้นฐานเทคโนโลยีหลักอย่างน้อย ด้าน ได้แก่ โซลูชั่นและนวัตกรรมบนพื้นฐานเทคโนโลยี Social Media, โซลูชั่นและนวัตกรรมบนพื้นฐานเทคโนโลยี Mobile, โซลูชั่นและนวัตกรรมบนพื้นฐานเทคโนโลยี Analytic และโซลูชั่นและนวัตกรรมบนพื้นฐานเทคโนโลยี Cloud เป็นต้น

Written By
More from pp
ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 2564
มูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชิดชู “ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ” เป็นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 2564 
Read More
0 replies on “วิศวะมหิดล MOU ผนึกพลัง ครีเอตุส พัฒนาการศึกษาและสตาร์ทอัพ อะคาเดมี ตอบรับโลกอนาคต”