ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ช่วงยมราช – พญาไท บริเวณชุมชนบุญร่มไทร เพื่อติดตามความคืบหน้าการส่งมอบที่ดินให้ภาคเอกชน และมาตรการดูแลประชาขนที่ได้รับผลกระทบ

๘ มิถุนายน ๒๕๖๕-นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม และผู้บริหาร รฟท. เดินทางลงพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ช่วงยมราช – พญาไท บริเวณชุมชนบุญร่มไทร เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหาการบุกรุก พร้อมกับติดตามการดูแลผู้ได้รับผลกระทบ ชุมชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. เปิดเผยว่า การลงพื้นที่เขตก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ช่วงยมราช – พญาไท บริเวณชุมชนบุญร่มไทรครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามนโยบายของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ที่ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการลงทุนภาครัฐ ควบคู่กับการบริหารจัดการนำทรัพย์สินที่ดินมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ ระหว่างการแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ รฟท. ได้มีการพบปะพูดคุยกับชุมชนฯ เพื่อแก้ปัญหาการบุกรุก และหาทางออกร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของชุมชนบุญร่มไทร รฟท. ได้มีความร่วมมือกับการเคหะแห่งชาติ จัดสร้างอาคารที่พักอาศัยขนาด ๓๑๕ ยูนิต บริเวณพื้นที่ริมบึงมักกะสัน เขตราชเทวี สำหรับรองรับการย้ายของชุมชนให้ไปเช่าอยู่อาศัยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการขออนุมัติของหน่วยงานรัฐ และการออกแบบเพื่อก่อสร้าง

ประกอบด้วย ห้องพักขนาด ๒๘.๕ ตารางเมตร ขนาด ๑ ห้องนอน และขนาด ๓๔.๖ ตารางเมตร ขนาด ๒ ห้องนอน และมีพื้นที่รองรับศูนย์ดูแลเด็ก ศูนย์สุขภาพสำหรับกลุ่มเปราะบาง ห้องประชุม พื้นที่ส่วนกลางสำหรับประกอบอาหาร พื้นที่เก็บรถเข็นสำหรับประกอบอาชีพ รวมถึงมีตลาดสดภายในชุมชน ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างในปี ๒๕๖๗ ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ ๑ ปี

“รฟท. มีความตั้งใจอย่างยิ่งในการดูแลประชาชนทีได้รับผลกระทบจากโครงการลงทุนของรัฐ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ มีส่วนร่วมในการพิจารณาพื้นที่ปลูกสร้าง และรูปแบบที่พักอาศัยที่เหมาะสม ตลอดจนความสามารถในการชำระค่าเช่าของแต่ละครัวเรือน ซึ่งเป็นนโยบายที่ รฟท. ให้ความสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนมาโดยตลอด”

นายนิรุฒกล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าการส่งมอบที่ดินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ขณะนี้ รฟท. สามารถแก้ปัญหาในภาพรวม พร้อมกับทำความเข้าใจกับผู้บุกรุกจนได้รับความยินยอมออกจากพื้นที่ครบ ๑๐๐% แล้ว และหลังแก้ไขเสร็จ รฟท. ได้กำหนดแผนส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนผู้ได้รับสัมปทานโครงการในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยตลอดโครงการมีระยะทาง ๒๒๐ กิโลเมตร มูลค่าโครงการ ๒๒๔,๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน และสนับสนุนการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของชุมชนได้ในอนาคตอันใกล้



Written By
More from pp
Blue Card ชวนสมาชิก ลุ้นสร้อยคอทองคำได้ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้คะแนน
Blue Card โปรแกรมสะสมคะแนน พร้อมความสุขหลากสไตล์ในบัตรเดียว เชิญชวนสมาชิกร่วมกิจกรรมพิเศษลุ้นรับของรางวัลสุดปังได้ทุกเดือน ลุ้นง่ายไม่ต้องใช้คะแนนสะสม คะแนนไม่พอก็ลุ้นได้
Read More
0 replies on “ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ช่วงยมราช – พญาไท บริเวณชุมชนบุญร่มไทร เพื่อติดตามความคืบหน้าการส่งมอบที่ดินให้ภาคเอกชน และมาตรการดูแลประชาขนที่ได้รับผลกระทบ”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();