กองเชียร์อย่าฝันหวาน-ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

ช่วงนี้พูดกันเยอะ

การเมืองสายกลาง

จุดเริ่มต้นมาจากชัยชนะแลนด์สไลด์ เป็นการเทคะแนนเสียงครั้งใหญ่จากเพื่อไทย พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ เพื่อให้ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.

ในแง่ปรากฏการณ์ หาก ๑.๓ ล้านเสียง สะท้อนถึงความต้องการการเมืองที่สมานฉันท์ ก็ถือเป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะประเทศไทยติดหล่มความขัดแย้งมานานนับสิบๆ ปีแล้ว

แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไม่อาจอธิบายถึงความขัดแย้งทางการเมืองในภาพใหญ่ได้ทั้งหมด

ฉะนั้นการพูดถึงการเมืองสายกลาง พรรคการเมืองสายกลาง ยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย

ยกตัวอย่างง่ายๆ การเลือกตั้งทั้งสนามเล็กและสนามใหญ่ใน กทม. มักมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ

ไม่มีพรรคการเมืองไหนยึดครองพื้นที่ได้อย่างยาวนาน

ครั้งหนึ่งคนกรุงเทพฯ เทคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์

เบื่อประชาธิปัตย์ก็เทคะแนนให้พรรคประชากรไทยของสมัคร สุนทรเวช

เบื่อสมัคร ก็ชอบจำลอง ศรีเมือง ทำให้พรรคพลังธรรมได้ ส.ส.ยกแผง

ครั้นเบื่อจำลอง ก็กลับไปเลือกประชาธิปัตย์

ถึงยุคที่ไม่เอาประชาธิปัตย์ ก็เลือกไทยรักไทย

วนไปวนมา เลือกตั้งล่าสุดมีพลังประชารัฐอยู่ในดวงใจ

แต่ถ้าเลือกตั้งวันนี้ พลังประชารัฐ “สาหัส” ก็ยังเดาไม่ออกว่าคนกรุงจะหันไปเลือกพรรคการเมืองไหน หรือจะเลือกพรรคสายกลาง

ผิดกับสนามเลือกตั้งภาคใต้ ประชาธิปัตย์ ยึดครองมาร่วมครึ่งศตวรรษ

สนามเลือกตั้งภาคอีสานเป็นของระบอบทักษิณมาตั้งแต่ยุครัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐

การสร้างสมานฉันท์ ไม่ใช่ให้คนใช้สิทธิ์เลือกตั้งไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากทำเช่นนั้นจะเกิดเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยเสียงส่วนใหญ่ได้

แต่การสร้างความสมานฉันท์ที่แท้จริงคือทุกอย่างต้องเป็นความจริง และทุกคนต้องยอมรับความจริง

ฉะนั้นต่อให้เกิดพรรคการเมืองสายกลางก็ใช่ว่าจะเกิดความสมานฉันท์ได้ เพราะหากพรรคสายกลางนั้นไม่ได้กลางจากข้อเท็จจริง แต่กลางเพราะแค่อยากรวบรวมคะแนนเสียงที่มีความขัดแย้งมาไว้ด้วยกัน โดยมีเป้าหลักอยู่ที่การเข้าสู่อำนาจ

เงื่อนไขการเมืองสายกลาง ยังอยู่ที่ความไว้วางใจด้วย

ถามว่าวันนี้สาวก “ชัชชาติ” ไว้ใจการเมืองอีกฝ่ายหรือเปล่า

เช่นเดียวกันฝ่ายไม่เลือก “ชัชชาติ” ไว้ใจว่าจะไม่มีการแทรกแซงผู้ว่าฯ กทม.โดยระบอบทักษิณหรือ

ลองมาดูตัวอย่างกันครับ

โพสต์ล่าสุดของ “ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” วานนี้ (๗  มิถุนายน)

“ชัชชาติ และกองเชียร์ โปรดอย่าวางใจ อย่าฝันหวาน  อย่านอนใจ เผด็จการอำนาจนิยมไทย

อยู่มานานเปนร้อยปี ยึดอำนาจซ้ำๆ แล้วเขียนกติการัฐใหม่ๆ เสมอๆ ทำมาแล้วเป็นศตวรรษ..และก็จะกระทำอีก”

หรืออย่าง รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  โพสต์ว่า

“…ความผิดพลาดของการสร้างประชาธิปไตยตั้งแต่เริ่มต้นปฏิวัติ ๒๔๗๕ คือ คณะราษฎรเป็นข้าราชการประจำ จึงยอมรับข้อเสนอฝ่ายอนุรักษนิยม จับให้นักการเมืองจากเลือกตั้งทั้ง ส.ส. ผู้ว่าฯ กทม. นายกรัฐมนตรี ใส่ชุดสีกากี

ทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ ถูกเรียกว่า ข้าราชการการเมือง

เมื่อพวกเขามาจากประชาชน แต่ถูกจับให้เป็นข้าราชการ เราประชาชนจึงถูกกินรวบ เพื่อสร้างประชาธิปไตยของประชาชน ให้นักการเมืองไม่เป็นข้าราชการ แต่เป็น นักการเมือง จะใส่ชุดอะไรก็ได้!…”

ตอนนี้โจทย์เริ่มชัดขึ้น

คนกลุ่มหนึ่งมองว่าความขัดแย้งทางการเมืองที่ลากยาวมาถึงทุกวันนี้ เริ่มต้นจากการก่อกำเนิดของระบอบทักษิณ

แต่อีกฝ่ายมองย้อนไปเป็นร้อยปี

คิดง่ายๆ ความขัดแย้งยาวนานเป็นศตวรรษ ไม่น่าจะจบลงได้เพราะผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

ทีนี้มาดูความขัดแย้งทางการเมืองก่อนก่อเกิดระบอบทักษิณ มีจริงหรือไม่ ใครเป็นคู่ขัดแย้ง

หลังปี ๒๔๗๕ เกิดความขัดแย้งจริงระหว่างคณะราษฎร ที่ยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ หวังจะสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น แต่สุดท้ายคณะราษฎรต้องรบราฆ่าฟันกันเอง

ความขัดแย้งในคณะราษฎร เริ่มต้้งแต่การนำเสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจ

ถัดมาช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา

และกบฏแมนฮัตตัน

“ชาญวิทย์” พูดถึงการรัฐประหารซ้ำ ก็นี่แหละครับต้นแบบการทำรัฐประหารที่สืบเนื่องกันมา

แต่การเอาปัจจุบันไปตัดสินอดีต อาจไม่ถูกต้องนัก

รัฐประหารในอดีตเอาเป็นเอาตาย เพราะเป็นการช่วงชิงอำนาจกันเอง

รัฐประหารยุคหลัง อ้างปัญหารัฐบาลคอร์รัปชันเป็นหลัก และไม่มีการนองเลือด

ฉะนั้นรัฐประหารเหมือนกัน แต่ใช่ว่าจะเหมือนกัน

การนับเป็นภาคต่อตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจนมาถึงปัจจุบัน มองในแง่ประวัติศาสตร์ทางการเมือง  แล้วจะไปสรุปว่าเป็นเผด็จการอำนาจนิยมไทยไม่ได้

แต่ผู้ที่สรุปเช่นนี้ มีเหตุผลเดียวคือ เชื่อว่ารัฐประหารกับราชบัลลังก์มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งผิดถนัด

จอมพล ป. หนึ่งในแกนนำคณะราษฎร ทำรัฐประหาร ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสถาบันเบื้องสูงเลย

แต่ความมั่นคงของสถาบันฯ กองทัพมีบทบาทสูงจริง  และที่ชัดเจนสุดคือ ยุคสงครามเย็น ไทยเกือบจะเป็นหนึ่งในโดมิโนอินโดจีนที่ล้มลง

เรารอดจากภัยคอมมิวนิสต์มาได้

มีคอมมิวนิสต์ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ สิ่งนี้นักวิชาการอย่าง “ชาญวิทย์” รู้ดี
ฉะนั้นสิ่งที่เกิดซ้ำกันมาเป็นศตวรรษ มันไม่ใช่เรื่องที่ต่อเนื่องกันมา

การไปสรุปว่า ฝ่ายที่มีอำนาจปกครองประเทศในปัจจุบันคือผลิตผลของ เผด็จการอำนาจนิยมไทย อายุร้อยปีจึงดูเป็นการสรุปที่มักง่ายไปหน่อย

ชุดสีกากี เป็นปัญหาสำหรับประเทศนี้หรือเปล่า

สีกากี ไม่ได้เป็นตัวแทนอะไรเลย เป็นเพียงสัญลักษณ์ว่า ผู้สวมใส่คือ ข้าราชการ

เหมือนข้าราชการหลายประเทศสวมชุดสีน้ำเงิน ก็เป็นเพียงสัญลักษณ์

การชินตา ก็อาจเป็นปัญหาได้เช่นกัน เห็นสีกากีมาตั้งแต่เกิด อาจเบื่อ ไม่ชอบ แต่มันไม่ได้เป็นตัวแทนฝ่ายอนุรักษนิยม

ข้าราชการในประเทศเอเชียใต้ ล้วนสวมใส่ชุดสีกากี

ไม่มีที่ไหนอยากเปลี่ยนสีเพราะคิดว่ามันคือตัวแทนของฝ่ายอนุรักษนิยม

ข้าราชการไทยอยากเปลี่ยนสีเสื้อก็เปลี่ยนได้ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นอยู่เช่นกัน แต่ก็แค่บางหน่วยงานเท่านั้น

และไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับฝ่ายอนุรักษนิยมเช่นกัน

ครับ…เราอยากมีการเมืองสายกลาง อยากให้สังคมมีความสมานฉันท์ แต่ผู้นำทางความคิด นักวิชาการ ยังติดอยู่กับความเชื่อที่ว่า จารีตในอดีตเป็นศัตรูกับประชาธิปไตยในปัจจุบัน

ขนาดสีเสื้อก็ยังเป็นปัญหา



Written By
More from pp
“สาทิตย์” มอง อาจถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนบางอย่างในรัฐธรรมนูญเพื่อขจัดเงื่อนไขความขัดแย้งในสังคม
24 ก.ย. 2563 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตรัง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ในการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณา แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยระบุว่า
Read More
0 replies on “กองเชียร์อย่าฝันหวาน-ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();