ตามก้าวไกลให้ทัน – ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

ช่วงนี้นักกีฬาไทยขึ้นหม้อ

ทีมวอลเลย์บอลสาวไทยตบสาวจีนดุเดือดชนะไป ๓  ต่อ ๒ เซต ในการแข่งขัน วอลเลย์บอลหญิง เนชันส์ ลีก ๒๐๒๒ สัปดาห์แรก ที่กรุงอังการา ประเทศตุรกี เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ ๕ มิถุนายน ที่ผ่านมา

ค่ำคืนเดียวกัน ทีมฟุตบอลชายไทย ฟาดแข้งถล่มมาเลเซียยับ ๓  ต่อ ๐ ในศึกฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย  ๒๐๒๒ รุ่นอายุไม่เกิน ๒๓ ปี (AFC U23 ASIAN CUP) ที่ประเทศอุซเบกิสถาน

“กีฬาทีม” ของไทยลบคำสบประมาทที่ว่า คนไทยเล่นกีฬาเป็นทีมไม่เก่ง

ครับ…มีการตั้งคำถามกันมานานแล้วว่า ทำไมคนไทยทำงานหรือเล่นกีฬาเป็นทีมไม่เก่ง

ถนัดเดี่ยวมากกว่า

เท่าที่นำมากล่าวอ้างกันส่วนใหญ่จะให้เหตุผลว่า  เพราะคนไทยชอบขัดแข้งขัดขากันเอง

ไม่ยอมรับคำวิจารณ์ซึ่งกันและกัน

ไม่ชอบแสดงความคิดเห็น

สุดท้ายสะดวกที่จะทำงานคนเดียวมากกว่า

แต่ไม่เสมอไปครับ คนไทยทำงานเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน เพียงแต่วัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันของคนไทยนั้น มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไป

ดูการเมืองเป็นตัวอย่างครับ

การทำงานเป็นทีมบางทีก็น่ากลัวอยู่ไม่น้อยเช่นกัน

เช่นการปูแนวคิดปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ของพรรค ในขณะที่กลุ่มมวลชนไปไกลกว่า เพราะต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์

ทีมแบบนี้น่ากลัวครับ

อีกเรื่องที่จะบอกว่าน่ากลัวก็ไม่เชิง แต่มีการปูพื้นฐานเพื่อเปลี่ยนแปลงทางสิ่งบางอย่าง โดยการปูพรมแนวความคิดเพื่อให้สังคมถกเถียง แล้วค่อยเฉลยทีหลังว่าต้องแก้ปัญหาอย่างไร

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ เกิดวาทะเรื่องงบประมาณ สวัสดิการข้าราชการ ทำนองว่าเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ

เป็นภาระของงบประมาณแผ่นดิน

คนอภิปรายเรื่องนี้ในสภาคือ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์”

เกิดข้อถกเถียงหลากหลายครับ ส่วนใหญ่มองว่าพรรคก้าวไกลไม่เห็นหัวข้าราชการบำนาญ

ฟังความให้รอบด้าน เพจเฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat –  พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ชี้แจงกรณีนี้เช่นกัน

…..”Fake News” ข่าวปลอมที่กำลังแพร่ระบาดในกรุ๊ป Line – อย่าหลงเชื่อ

พรรคก้าวไกล “ไม่มี” และ “ไม่เคยมี” นโยบายยกเลิกบำนาญข้าราชการ

มีแต่จะหาวิธีบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินเพื่อ  “เพิ่ม” สวัสดิการให้ประชาชนที่น้อยนิด ใช้เทคโนโลยีให้ข้าราชการทำงานได้ดีขึ้น งดการเพิ่มข้าราชการใหม่ในงานที่ไม่จำเป็น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับข้าราชการและประชาชนทุกๆ คน

ขอทุกท่านช่วยแชร์รูปภาพ พร้อมข้อความนี้ย้อนกลับไปในทุกกรุ๊ป Line ที่ได้รับข่าวเท็จนี้มาด้วยครับ…..

ก็ชี้แจงเท่านั้น

มีบางคนบอกว่า อ่านคำอภิปรายงบประมาณปี  ๒๕๖๖ ของ “พิธา” ชัดเจนแล้วหรือยัง ว่าพูดเอาไว้อย่างไรกันแน่

ก็ตามไปดู เพจ Pita Limjaroenrat – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เช่นเคย โพสต์เอาไว้เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม หลัง  “พิธา” อภิปรายเสร็จสิ้น

๒๐ ตัวเลขสำคัญของงบประมาณปีนี้ที่เจ้าของภาษีควรรู้ครับ

๑) ถ้างบประมาณเรา ๑๐๐ บาท

๒) รายได้ เราหาเอง ๗๘ บาท ต้องกู้ชดเชย ๒๒  บาท เพื่อ

๓) เอาไปจ่าย บุคลากรภาครัฐ ๔๐ บาท

๔) จ่ายดอกเบี้ย เงินกู้เดิม ๑๐ บาท

๕) จ่ายสนับสนุน อปท. เดิม ๑๐ บาท

๖) จ่ายสวัสดิการเดิม ๗ บาท

๗) จ่ายภาระผูกพันเดิม ๕ บาท

๘) เหลือใช้เพื่ออนาคต ๒๙ บาท

๙) ค่าใช้จ่ายอันดับ ๑ อยู่ที่งบกลาง

๑๐) ๘๒% ของงบกลาง คือ งบบำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ

เรียงจากมากไปน้อย ไอเท็มที่มากที่สุดคือ

๑๑) เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ๓๒๒,๗๙๐ ล้านบาท เท่ากับ กระทรวงศึกษาฯ ดูแลเด็กทั้งประเทศ

งบที่โตไวที่สุด คือ งบรัฐวิสาหกิจ – ธ.ก.ส., รฟท.,  รฟม., ออมสิน

๑๒) งบการเกษตร ใช้หนี้การอุดหนุนสินค้าการเกษตรที่ ธ.ก.ส.ออกไปก่อน ย้อนหลังไปถึงปี ๕๑-๕๒ ทั้งหมด 84,000 ล้านบาท

๑๓) งบเครื่องจักร วิศวะการเกษตร รายละ ๓,๐๐๐  (ซื้อปุ๋ยลูกครึ่งก็หมดแล้ว อย่าว่าถึงเครื่องจักรเลย)

๑๔) งบ SME ๒,๗๐๐ ล้าน vs. งบ EEC ๑๑,๐๐๐  ล้าน

๑๕) งบ BCG Economy – ถ้าดูงบอุตสาหกรรมชีวภาพในแผนอุตสาหกรรมอนาคตแค่ ๑๔๐ ล้าน (เห็นนายกฯ พูดถึงทุก speech) ดูแผนการเติบโตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๑.๒ แสนล้าน คืองบชลประทาน +  กระทรวงทรัพยากรฯ

๑๖) งบ Soft Power – ๖๐ ล้าน, งบเพื่อจริยธรรม ศีลธรรม – ๕,๐๐๐ ล้าน

๑๗) งบ Smart City ๗,๔๐๐ ล้าน เป็นงบของมหาดไทย ๗,๒๐๐ ล้านบาท

๑๘) ถ้า search คำว่า “รับรอง” = ๓๘๐ ล้าน

๑๙) “ประชุม” = ๑,๐๐๐ ล้าน

๒๐) “สัมมนา” = ๔,๐๐๐ ล้าน

คือ…ถ้าให้วิเคราะห์เอาตามที่สรุปมานี้ “พิธา” ต้องการชี้ให้เห็นภาระด้านงบประมาณโดยไม่มีการนำเสนอวิธีแก้ไขปัญหา

พูดง่ายๆ ว่าแต่เรื่องปัญหาอย่างเดียว ไม่นำเสนอวิธีแก้

ถัดมาวันที่ ๓ มิถุนายน เพจ Pita Limjaroenrat – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ชี้แจงอีกรอบ โดยเปรียบเทียบ งบรัฐบาลประยุทธ์ vs. งบรัฐบาลก้าวไกล

…งบประมาณฉบับรัฐบาลประยุทธ์ : เป็นงบที่ชำระไปกับอดีตเป็นหลัก เพราะเกินครึ่งเป็นงบที่ล็อกเอาไว้แล้ว ในส่วนของงบบุคลากร ชำระหนี้และดอกเบี้ยภาครัฐ หรืองบผูกพัน จนทำให้รัฐบาลเหลือพื้นที่ทางการคลัง หรืองบที่นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและเตรียมพร้อมรับมือความท้าทายปีต่อปีเพียง ๓๐๐%

 งบประมาณฉบับก้าวไกล : เราจะปรับโครงสร้างงบประมาณใหม่ ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ผ่านการลดงบที่ไม่จำเป็นหรือทยอยลดงบผูกพันโดยไม่กระทบกับสวัสดิการของบุคลากรปัจจุบัน และผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้ภาครัฐ เพื่อขยายพื้นที่ทางการคลังให้ขึ้นมาอยู่ที่ ๔๐๐% ขึ้นไป ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพของรัฐในการมีงบเพื่อรับมือกับความท้าทายในโลกอนาคต

งบประมาณฉบับรัฐบาลประยุทธ์ : งบกระจุกตัวที่รัฐราชการในกรุงเทพฯ มากกว่า ๕๐% ส่วนแบ่งรายได้ ส่วนกลาง-ท้องถิ่น อยู่ที่ ๗๐:๓๐ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย ๖๕:๓๕ ที่ถูกตั้งไว้กว่า ๒๐ ปีที่แล้ว จนทำให้ท้องถิ่นไม่มีงบประมาณเพียงพอในการแก้ปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ตามศักยภาพที่มี

งบประมาณฉบับก้าวไกล : เราจะกระจายอำนาจ งบประมาณ และความเจริญไปทั่วประเทศ การแบ่งรายได้ ส่วนกลาง-ท้องถิ่น ต้องเข้าสู่สัดส่วนที่ ๕๐:๕๐ ซึ่งจะเป็นการระเบิดพลังทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศ และทำให้ท้องถิ่นมีรายได้สูงขึ้น ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท หรือ อปท. ละ ๖๔ ล้านบาท เพื่อพัฒนาคุณภาพประชาชนของคนในพื้นที่…

ถ้าเป็นไปตามนี้ สิ่งที่พรรคก้าวไกลจะปูพรมหลังจากนี้คือ การกระจายอำนาจ การเลือกตั้งท้องถิ่นทุกระดับชั้น  รวมทั้งเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด

ตัดส่วนภูมิภาคออก เลิกผู้ว่าฯ แต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย

ลดจำนวนข้าราชการประจำลงไป ให้เป็นเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นแทน

เท่ากับลดภาระงบประมาณที่เป็นเงินสวัสดิการข้าราชการลงไป

นี่คือวิธีเดียวที่จะตอบสนองการจัดงบประมาณฉบับก้าวไกลได้

“ทีมก้าวไกล” ขยับแล้วครับ

“ทีมลุงตู่” ว่าไง

ขอบคุณภาพจากเพจเฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์



Written By
More from pp
ส.ส.ชลน่าน เพื่อไทย แต่งดำไว้ทุกข์เหตุคว่ำร่างแก้ไข รธน.
18 มี.ค.64- ส.ส.ชลน่าน พรรคเพื่อไทย แต่งดำไว้ทุกข์กับเหตุการณ์โหวตคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ยืนยันเดินหน้าผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประชามติ และเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราต่อ
Read More
0 replies on “ตามก้าวไกลให้ทัน – ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();