‘ซาก’ จากจำนำข้าว – ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

ปลุกผีจากป่าช้า

วานซืนนี้ (๓๑ พฤษภาคม) “ลุงตู่” พูดถึงงบประมาณ  แล้วแวะไปที่การตั้งงบประมาณชดเชยโครงการรับจำนำข้าว

 “ถ้าพูดเรื่องข้าวที่พูดว่างบวันนี้เป็นงบในอดีตไม่ใช่อนาคต ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ เป็นต้นมา โครงการจำนำข้าว ขาดทุนกว่า ๙.๕ แสนล้านบาท รัฐบาลนี้ตั้งงบชำระหนี้ไปแล้ว  ๗.๘ แสนล้านบาท คงเหลือเงินต้น และดอกเบี้ยอีก ๓ แสนล้านบาท เงินตรงนี้ถ้าอยู่เอามาทำอะไรได้อีกเยอะ ถามว่าใครทำเอาไว้ ผมก็ไม่อยากจะพูด ไม่อยากจะย้อนกลับ”

ทัวร์ลงครับ!

ถล่ม “ลุงตู่” ว่าพูดไม่ครบ ชี้แจงไม่หมด

ก็จริงครับ “ลุงตู่” พูดไม่ครบจริง เพราะตัวเลข ๙.๕  แสนล้านบาทนั้น มาจากเงินที่ใช้ไปตามนโยบายการจำนำสินค้าเกษตรทุกประเภท ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๗ ใช้เงินไป  ๙.๕ แสนล้านบาท

ทีนี้มีการอธิบายว่า “เงินที่ใช้ไป” กับ “หนี้”  นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ก็เท่ากับว่าที่ “ลุงตู่” พูดมานั้นผิดหมด

แล้วข้อเท็จจริงคืออะไร?

“ลุงตู่” พูดเหมารวมจริง แต่โครงการรับจำนำข้าว หรือรับจำนำพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ สร้างภาระด้านงบประมาณจำนวนมหาศาลจริงเช่นกัน

เลือกตั้ง ส.ส.สมัยหน้าผมอยากเห็นพรรคการเมืองที่ชูโครงการรับจำนำข้าวครับ

พรรคไหนยังกล้า จะยกนิ้วให้เลย เพราะเท่ากับว่าจ้องจะโกงกันอีกแล้ว

ฝากไปถึงนักวิชาการ นักวิชาเกิน ที่ออกมาอัดลุงตู่ ปกป้อง “ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ” คราวหน้าคราวหลังเห็น “ลุงตู่” พูดไม่หมด ตัวเองก็ต้องพูดให้ครบด้วย

จะได้เป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการจริงๆ ไม่ใช่วิชาโกง

โฟกัสไปที่นโยบายรับจำนำข้าวก่อนนะครับ ยังไม่พูดถึงเรื่องโกง

นโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย  ทางสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เขาสรุปไว้ชัดเจนว่า ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการค้าข้าวไทย และภาวะหนี้สิน

ช่วงปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕ แม้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยอมรับว่าการจำนำข้าว มีปัญหาในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะปัญหาการทุจริตในบางขั้นตอน

แต่ “ยิ่งลักษณ์” ก็ยังยืนยันว่าการจำนำข้าวเป็นนโยบายที่ดี

ครัวเรือนชาวนาทั่วประเทศมีประมาณ ๔ ล้านครัวเรือน

แต่ชาวนาที่เข้าโครงการจำนำมีไม่ถึง ๙ แสนครัวเรือน

คำถามคือชาวนาที่ยากจนได้รับประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าวเท่าใด เงินจำนวน ๓ แสนล้านบาท ที่นำมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวตกไปอยู่ในมือใครบ้าง

ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่าชาวนาส่วนใหญ่เป็นคนจน

แต่ข้อเท็จจริงปรากฏในข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงว่า บรรดาครัวเรือนคนไทยทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้ครัวเรือนสูงสุด ๔๐% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด ปรากฏว่าเป็นครัวเรือนชาวนาจำนวน ๑.๑๘๕ ล้านครัวเรือน

ครัวเรือนเหล่านี้ได้ประโยชน์จากการจำนำมากที่สุด

เพราะมีผลผลิตข้าวเหลือขายให้รัฐบาลมากที่สุดถึงร้อยละ ๕๒ ของผลผลิตที่ชาวนาทั่วประเทศนำออกขายในตลาด

ดังนั้นโครงการรับจำนำข้าวจึงเป็นการนำเงินภาษีที่เก็บจากประชาชนทุกคน รวมทั้งคนจน ไปแจกจ่ายให้เกษตรกรที่มีฐานะร่ำรวยและฐานะปานกลาง

นโยบายแบบนี้เป็นการเพิ่มความไม่เท่าเทียมของการกระจายรายได้ ซึ่งสวนทางกับวัตถุประสงค์ของรัฐบาล

เรื่องโกง โครงการรับจำนำข้าวก่อให้เกิดการรั่วไหลและความสูญเปล่าจำนวนมหาศาล

ก้อนแรก คือ เงินที่ซื้อข้าวจากชาวนาบางส่วนรั่วไหลไปยังโรงสี และชาวนาในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมีโรงสีบางแห่งลักลอบนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิ์การจำนำ

นักวิชาการในกัมพูชาคาดว่าอาจจะมีข้าวจำนวนหลายแสนตันเข้ามาในประเทศไทย ถ้ามีข้าวลักลอบสวมสิทธิ์ ๕  แสนตัน

แปลว่ามีเงินภาษีคนไทยจำนวน ๒ พันล้านล้านบาท รั่วไหลไปยังชาวนาในประเทศเพื่อนบ้านและโรงสีที่ทุจริต

โรงสีบางแห่งลักลอบนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์ โดยใช้ชื่อของเกษตรกรบางคน

โรงสีตัดค่าความชื้นและสิ่งเจือปนในข้าวของชาวนาเกินความจริง

โรงสีบางแห่งร่วมมือกับเจ้าของโกดัง เซอร์เวเยอร์และเจ้าหน้าที่รัฐในการจัดส่งข้าวจำนวนต่ำกว่าจำนวนที่ต้องส่งจริง

ส่งข้าวคุณภาพต่ำเข้าโกดังรัฐบาล

หรือแม้แต่การที่มีข่าวว่ามีนายหน้านักการเมืองวิ่งเต้นนำข้าวของรัฐบาลไปส่งขายให้แก่ผู้ส่งออกบางคน   โรงสีบางแห่งต้องจ่ายเงินค่าวิ่งเต้นเพื่อขออนุญาตข้ามเขตไปซื้อข้าวในจังหวัดอื่นๆ

โครงการรับจำนำข้าวจึงก่อให้เกิดการทุจริตที่เป็นระบบอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เพียงแต่การทุจริตเล็กๆ น้อยๆ เพียงบางจุด

ระบบป้องกันทุจริตมีแต่บนกระดาษ และไม่สามารถตรวจจับผู้ทุจริตรายใหญ่ๆ ได้ เพราะผู้เกี่ยวข้องต่างได้ประโยชน์ร่วมกันจากการทุจริต

การทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวจึงเป็นอาชญากรรมไร้เจ้าทุกข์

โครงการรับจำนำข้าวเป็นการส่งเสริมให้ทุกคนทุจริต

เมื่อชาวนาและโรงสีที่สุจริต เห็นว่าคนอื่นที่ทุจริตไม่เคยถูกลงโทษ แต่กลับร่ำรวยมากขึ้น คนเหล่านี้ก็อาจเปลี่ยนใจหันมาร่วมกระบวนการทุจริต

ทีดีอาร์ไอเขาสรุปเอาไว้เยอะครับ โครงการรับจำนำข้าวยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์มันพัฒนาไปถึงขั้นโกงกันทั้งระบบ

ฉะนั้นการที่นักวิชาเกินบอกว่า งบประมาณที่ตั้งไว้ เป็นเม็ดเงินที่้นำไปใช้ชดเชยโครงการที่ใช้ตามนโยบายรัฐ ไม่ใช่เอาไปใช้หนี้ มันยังไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

มันโกงกันทั้งระบบ มันก็คือเงินภาษีประชาชนทั้งประเทศที่ตั้งไว้ ไปเพื่อชดเชยการโกงให้ขบวนการโกงในโครงการรับจำนำข้าวยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์

การทุจริตโครงการรับจำนำข้าวยุคยิ่งลักษณ์ ทำให้เกิดความสูญเปล่า ไปหลายแสนหลายหมื่นล้านบาท

รัฐบาลเก็บข้าวไว้ในโกดังกลางเป็นเวลาเกือบหนึ่งปีทำให้ข้าวเสื่อมคุณภาพ

การสูญเสียตลาดส่งออกข้าวของไทย เพราะรัฐไม่มีความสามารถในการขายข้าวเหมือนพ่อค้าส่งออก ยังมีการสูญเสียรายได้จากการส่งออกข้าวคุณภาพที่ไทยเคยขายได้ในราคาสูง คือ ข้าวหอมมะลิ

ระบบการค้าข้าวแบบแข่งขันของภาคเอกชนถูกทำลาย และทดแทนด้วยระบบการค้าข้าวของรัฐ ที่ต้องอาศัยเส้นสายทางการเมือง

รัฐบาลลุงตู่หันมาใช้ระบบประกันราคา ซึ่งก็ถือว่าถูกต้อง เพราะไม่ต้องรับภาระด้านงบประมาณหนักหน่วงแบบโครงการรับจำนำข้าว

เห็น “ยิ่งลักษณ์” โพสต์เฟซบุ๊กแถว่า

“…ดิฉันจึงอยากขอฝากอะไรไว้ให้เป็นแง่คิดระหว่างพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีว่า แม้รัฐบาลดิฉันถูกโจมตีอย่างหนักว่า ‘สร้างหนี้’ ทั้งๆ ที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ  GDP อยู่เพียง ๔๕.๙๑% แต่หลังรัฐประหารผ่านไป ๘ ปี หนี้ได้พุ่งขึ้นไปที่ ๖๐.๕๘% โดยรัฐบาลคุณประยุทธ์จัดทำงบประมาณขาดดุลมากขึ้นๆ ทุกปี…”

ก็ไม่รู้จะว่าไงดี

“ยิ่งลักษณ์” บริหารประเทศในช่วงโลกสงบ แต่ก็มาตกม้าตายเพราะตัวเองจะนิรโทษโกงให้พี่ชาย

ขณะที่รัฐบาลลุงตู่ ถือว่าซวยเจอสารพัดโดยเฉพาะโควิด-๑๙ เข้าปีที่ ๓ แล้ว มาเจอสงครามรัสเซีย-ยูเครนอีก

ก็ลองหลับตานึกดู หาก “ยิ่งลักษณ์” บริหารประเทศช่วงโควิดระบาด ประเทศไทยจะอยู่ในสภาพไหน

ไทยเศรษฐกิจรุ่งเรืองอยู่ประเทศเดียว ส่วนประเทศอื่นๆ ฉิบหายวายป่วงอย่างนั้นหรือ

วันนี้วิกฤตไปทั่วโลก แต่หนี้สาธารณะไทย โน้น…อยู่ในลำดับที่ร้อยกว่า

สถานการณ์ของเรายังดีกว่าที่อื่นอีกตั้งร้อยกว่าประเทศ

คอ-นก-รีต จริงๆ



Written By
More from pp
ฉลองเปิด
ศรัทธา ทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด “ศูนย์การค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ และห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาฉลอง”  เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการ
Read More
0 replies on “‘ซาก’ จากจำนำข้าว – ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();