ยูโอบีและเดอะฟินแล็บ กับบทบาทพี่เลี้ยง SMEsไทย ให้พร้อมเดินหน้าธุรกิจในยุคดิจิทัล ด้วยโครงการ Smart Business Transformation

จากความมุ่งมั่นและตั้งใจที่เต็มเปี่ยมของ SMEs ไทยทั้ง 15 องค์กร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนให้เท่าทันการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัล ทำให้พวกเขาเดินหน้าเข้าร่วมโครงการ บ่มเพาะผู้ประกอบการ Smart Business Transformation  ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยธนาคารยูโอบี (ไทย) และเดอะฟินแล็บ ด้วยการเปิดใจที่จะเรียนรู้ทดลองสิ่งใหม่พร้อมความทุ่มเทเต็มที่ทั้งเวลาและกำลังคน ตลอดระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ธนาคารยูโอบี (ไทย) และเดอะฟินแล็บ สวมบทบาทเป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำแก่ SMEs แปลงเปลี่ยนจากความไม่รู้และความไม่ชัดเจนในโจทย์ของธุรกิจ รู้แต่ว่าต้องการเพิ่มยอดขายด้วยดิจิทัลเพื่อรุกตลาดใหม่ๆ เป็นโมเดลธุรกิจและโซลูชันที่ช่วยแก้ pain points และตอบโจทย์ ซึ่งเห็นผลลัพธ์เชิงบวกที่สำคัญในเรื่องประสิทธิภาพการทำธุรกิจที่ดีขึ้น ต้นทุนต่างๆลดลง ที่สำคัญทัศนคติและความคิดดิจิทัลได้เกิดขึ้นในองค์กร

เส้นทางลัดสู่ธุรกิจดิจิทัล

คุณชนกพร ศิระนานนท์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ บริษัท เอ็ม.ซี.ซี. 4x4 แอคเซสซอรี่ กล่าวว่า ภายหลังเข้าร่วมโครงการ  เรามีความมั่นใจมากขึ้นในการขับเคลื่อนธุรกิจครอบครัวของเรา ว่าจะสามารถเติบโตรับยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้  ขณะนี้ เราได้มีการประเมินและทดลองใช้ โซลูชันต่างๆ เพื่อมาปรับปรุงระบบหลังบ้านเพื่อให้การทำงานกับบริษัทคู่ค้าต่างๆ ได้เร็วขึ้น  ตอบโจทย์ธุรกิจ B2B2C เพิ่มความคล่องตัวในการสร้างระบบการทำงาน ระหว่างบริษัท และคู่ค้า รวมถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว สามารถค้นหาดีลเลอร์ที่เหมาะสมที่สุดเร็วขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้นถึง 25%

และในกลุ่มของการบริหารจัดการ B2B2C  นั้น บริษัท ทวีโชค พาณิช ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผ่านการรับรอง พร้อมบริการผลิตตามสั่ง อาทิ การตัดตามความยาว การตัดขึ้นรูป และการบีบอัด พบความสำเร็จในการบริหารจัดการ ครอบคลุมไปยังผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก และผู้ซื้อ ด้วยการนำโซลูชัน  Boostorder มาใช้เชื่อมโยงคู่ค้า และซัพพลายเออร์เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างกระบวนการเชื่อมโยงในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก รวมถึงการทำธุรกิจทางดิจิทัลร่วมกับคู่ค้าอื่นๆในกลุ่มธุรกิจเหล็กได้อย่างดี เช่นเดียวกับ

คิงด้อม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค ผู้จัดจำหน่ายอาหารออร์แกนิกและผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบรนด์ของตนเองสำหรับผู้บริโภค นอกจากการยืดอายุสินค้าบนชั้นวาง  ยังต้องการพัฒนาระบบรวมศูนย์สำหรับเครือข่ายเกษตรกร ออร์แกนิก เพื่อการป้อนข้อมูลและบริหารขั้นตอนในตารางการผลิตเพื่อให้เกิดการวางแผนการขนส่งที่ดียิ่งขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงกระบวนการบริหารฟาร์มด้วยตัวเองพร้อมกับการสร้างเครือข่ายสำหรับผู้ทำฟาร์ม โดยมีความคาดหวังว่าจะช่วยให้อย่างน้อย 10 ฟาร์มมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีแผนที่จะสร้างแพลตฟอร์มบนบล็อคเชนซึ่งจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อ และติดตามผลการขายได้

ไปได้ไกลทำได้เร็ว

นอกจากนี้เมื่อเจาะไปที่ ภาพของการจัดการด้านการตลาดของ SMEs ในโครงการ นั้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน และน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับ SMEs  กลุ่มอื่นที่ยังไม่กล้าลงมือทำได้เร่งการตัดสินใจได้เร็วขึ้น  อีธอสกรุ๊ป  ได้ริเริ่มธุรกิจใหม่ขึ้นเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำหรับผิวกายขึ้นภายใต้แบรนด์  “ทรีฮัท ไทยแลนด์” และประเมินว่าด้วยเครื่องมือดิจิทัลนี้ จะลดเวลาในการค้นหาผู้มีอิทธิพลทางการตลาดรายเล็กลงได้ถึง 80%

นอกจากนี้อีก 2 องค์กร SMEs  ประกอบด้วย นครราชสีมา ฮอนด้า  ออโตโมบิล ยานยนต์  เป็นผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ซีดานฮอนด้ารุ่นใหม่ในจังหวัดนครราชสีมา และแกรนด์ฟูดโปรเซสซิ่ง ผู้ผลิตน้ำผลไม้สดจากผลไม้เขตร้อน ที่ใช้การนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้วยระบบออนไลน์โซลูชันมาปรับในกระบวนการนำเสนอ คาดการณ์ว่าจะทำให้ลดเวลาในการสร้างวีดีโอลงได้ถึง  50% ทำให้ไปใช้เวลาในการโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

ก้าวที่กล้า ก้าวที่แกร่ง

จากการจัดการที่ทำได้จริง ผสานกับความมั่นใจของ เจ้าของธุรกิจและผู้บริหารเอสเอ็มอีในโครงการ Smart Business Transformation  นายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด  กล่าวถึงการทำงานร่วมกับ Boostorder และ Anchanto เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่สามารถเชื่อมลูกค้าไปสู่ร้านว่า “ในฐานะผู้ค้าส่งและค้าปลีกเครื่องแต่งกายกีฬา Warrix มุ่งมั่นที่จะเป็นแบรนด์ที่คนใช้และรู้จักทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โครงการ Smart Business Transformation ช่วยให้บริษัทพัฒนาโครงสร้างการบริหารและปรับขยายขนาดธุรกิจ ซึ่งเพียง 3 เดือนหลังจากดำเนินการเราสามารถบรรลุเป้าการเติบโตยอดขายประจำเดือนที่สูงขึ้นถึง 270% และเราคาดว่ายอดขายจะเพิ่มสูงขึ้น 400% ภายในสิ้นปีนี้ และ ตอนนี้เรายังมั่นใจมากขึ้นในแผนการขยายธุรกิจไปสู่ประเทศอื่นๆ ด้วยแพลตฟอร์มการขายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประเทศแรกที่เราตั้งใจไว้ คือประเทศอินโดนีเซียเราเชื่อว่าจะได้รับประโยชน์จากเครือข่ายที่มั่นคงและแข็งแกร่งของธนาคารยูโอบีในประเทศอินโดนีเซีย”

ขณะเดียวกันการเพิ่มช่องทางใหม่ในการขาย ด้วยเครื่องมือดิจิทัลและโซลูชันที่มีความพร้อมในการใช้งานยังช่วยให้อีก 7 SMEs ที่อยู่ภายในโครงการ ก้าวเดินไปข้างหน้าในธุรกิจของตนเองได้อย่างยั่งยืน ความเห็นของผลสำเร็จเชิงบวกของ เอ ลิทเทิล ลัลลาบาย เจ้าของผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ผลิตจากเยื่อไผ่ภายใต้แบรนด์ Nappi Baby คาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายในช่องทางออนไลน์ที่เติบโตได้ถึง 300%  นางเณริศา อิสรางกูร ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ ลิทเทิล ลัลลาบาย กล่าวว่าหนึ่งในความท้าทายสำคัญ คือ การสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และคำตอบของ Nappi Baby หลังจากเข้าร่วมโครงการ ชัดเจนขึ้นมากด้วยเครื่องมือดิจิทัลใช้ Offeo สร้างสรรค์วิดีโอเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กบนสื่อโซเชียล ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้นถึง 20% และเป้าหมายขยายตลาดสู่ประเทศจีนเป็นความมุ่งมั่นใหม่ที่ท้าทายแต่ด้วยคำแนะนำและเครือข่ายของธนาคารยูโอบี และเดอะ ฟินแล็บ โดยการทำงานร่วมกับบริษัท Verihub ในประเทศสิงคโปร์ ทำให้มั่นใจมากขึ้นว่าการก้าวไปสู่ในตลาดใหม่ๆในภูมิภาคจะทำได้อย่างดี มีระบบ” 

อลเวย์ เวเคชั่น   ธุรกิจท่องเที่ยว ใช้โซลูชันในการสร้างแถบเครื่องมือวิดเจ็ตบนเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มการจัดการและชักชวนลูกค้า และเปลี่ยนไปสู่การขาย สามารถจองคิวเพื่อโทรกลับ หรือนัดหมายออนไลน์ได้ โดยคาดว่ายอดขายเพิ่มขึ้น 20%  ด้านนางพฤทธิดา ศรีสันติสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ทตี้ กรุ๊ปส์ จำกัด ภายใต้แบรนด์ อาร์ทตี้ ออกแบบและผลิตเครื่องประดับระดับพรีเมี่ยม ได้ใช้โซลูชันเพื่อการวางแผนบริหารทรัพยากร ซึ่งประหยัดเวลาในการจัดการสินค้าและบริหารสินค้าคงคลังได้ถึง 80% จากเดิมใช้เวลาในการเช็คสต็อก 1 สัปดาห์ แต่เมื่อนำโซลูชัน BizSmart มาใช้งาน สามารถเช็คสต๊อกสินค้าแล้วเสร็จภายในระยะเวลาเพียง 2 ชั่วโมง  ขณะที่ อีซี่แพ็ค ออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์เกรดอาหารและยา  วางแผนที่จะนำโซลูชันโนโวคอล คลิกเพื่อตอบกลับ มาใช้เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงผู้เข้าชมเว็บให้กลายเป็นลูกค้า โดยคาดว่าจะใช้เวลาการคุยกับลูกค้าลดลง 90%

ฮาโล อินโนเวชั่น นำระบบการสินค้าคงคลังมาใช้ในการบริหารคลังสินค้า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ 40%  เอ็มเอสเอส ไตล์ลิสส์ ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าแฟชั่นทางออนไลน์ ใช้โซลูชันเพื่อการบริหารร้านค้าทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารร้านค้าและรวบรวมสินค้าจาก 20 ร้าน ได้ดีขึ้น 10%  ขณะที่ออกานิก้า เฮ้าส์ ผลิตภัณฑ์สปาและอโรมาเธอราพี ใช้โซลูชันเพื่อการสร้างวิดีโอเพื่อดึงดูดลูกค้าในตลาดโซเชียลโอเรียนสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โลจีสติคส์ ธุรกิจ โลจิสติคส์ / ขนส่ง นำโซลูชันมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดเวลาลง 30% ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการได้รวดเร็วมากขึ้น

รับมือยุคดิจิทัล เปลี่ยนรูปแบบ วิธีการ เพื่อความยั่งยืน  

จากผลสำรวจพบว่าเอสเอ็มอีในประเทศไทยระบุว่า กลยุทธ์สร้างการเติบโต 2 อันดับแรก คือ การรุกตลาดใหม่ (ร้อยละ 54) และการทำการตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขาย (ร้อยละ51) ถือเป็นความมุ่งมั่นที่ชัดเจน และด้วยเครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ จากการสนับสนุนของ ยูโอบีและเดอะฟินแล็ป จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน มียอดขายที่สูงขึ้น ลดต้นทุนการตลาด เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ยอมรับปรับตัวเองและองค์กรให้ไปสู่ดิจิทัล และมีแรงบันดาลใจในการรุกตลาดใหม่ และขยายธุรกิจออกไปสู่ตลาดต่างประเทศอีกด้วย

คุณปิยพร รัตน์ประสาทพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัล ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “ยูโอบี มีความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะช่วยติดอาวุธและทักษะเอสเอ็มอีไทย ให้สามารถเติบโตได้ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านโครงการ Smart Business Transformation ที่ได้ดำเนินการร่วมกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งไม่ว่าจะเป็น เดอะ ฟินแล็บ, depa ,  สวทช. และ สสว. และเชื่อว่าผู้ประกอบการจะได้รับความรู้และทักษะดิจิทัลที่จำเป็น รวมถึงเครื่องมือต่างๆ ที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจได้เติบโตได้ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านเครือข่ายที่มั่นคงและครอบคลุมทั่วภูมิภาคของกลุ่มธนาคารยูโอบี ที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถขยายธุรกิจไปยังตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ได้อย่างดียิ่ง”

นายเฟลิกซ์ ตัน หัวหน้ากลุ่มงานร่วม เดอะ ฟินแล็บ กล่าวว่า “เรารู้สึกภูมิใจกับเอสเอ็มอีทั้ง 15 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation ในประเทศไทยอย่างมาก เพราะแม้โครงการ 3 เดือนจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่เรายังเห็นแรงผลักดันและความมุ่งมั่นปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของพวกเขายังคงเดินหน้าต่อไป หลายบริษัทกำลังใช้ดิจิทัลโซลูชันที่เขาได้จับคู่ทดลองใช้ซึ่งพวกเขากำลังเห็นผลลัพธ์ในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นยอดขายและจำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำธุรกิจ ด้วยความร่วมมือของพันธมิตรทุกรายในโครงการ ในการปรับสู่องค์กรดิจิทัล และยกระดับธุรกิจไปสู่สากลต่อไป”

ผ่านพ้นไปแล้วกับก้าวสำคัญครั้งแรกของ โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ Smart Business Transformation โดยการสนับสนุนของธนาคารยูโอบี (ไทย) พร้อมองค์กรพันธมิตรในการขับเคลื่อนโครงการได้แก่ เดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

ฝากบอกถึง SMEs ไทยที่รอเข้าร่วมโครงการ ที่ตั้งใจปรับเปลี่ยนเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ธุรกิจดิจิทัล สามารถเข้าไปติดตามกิจกรรมโครงการได้ที่ https://thefinlab.com/thailand-event/พบกันกุมภาพันธ์ นี้ เตรียมตัวกันให้พร้อมได้เลย 

Written By
More from pp
เกาะกูดเป็นดินแดนของไทยทุกตารางนิ้ว
“อนุทิน” นำคณะผู้บริหารมหาดไทยลุยเกาะกูด จ.ตราด ให้กำลังใจประชาชน ผู้ประกอบการ ย้ำเกาะกูดเป็นดินแดนของไทยทุกตารางนิ้ว ภาครัฐพร้อมหนุนท่องเที่ยวเสริมแกร่งเศรษฐกิจพื้นที่ เร่งแก้ไขสาธารณูปโภคน้ำ ไฟฟ้า การพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินอยู่อาศัย ทำกิน
Read More
0 replies on “ยูโอบีและเดอะฟินแล็บ กับบทบาทพี่เลี้ยง SMEsไทย ให้พร้อมเดินหน้าธุรกิจในยุคดิจิทัล ด้วยโครงการ Smart Business Transformation”