การรถไฟแห่งประเทศไทยแจงแนวทางการดูแลชุมชนมิตรภาพ จังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 นครราชสีมา – หนองคาย ยืนยันมีแผนดูแลผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม ไม่มีการทอดทิ้งประชาชน

ตามที่มีสื่อออนไลน์ Thai E-News ได้เผยแพร่ข่าว เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ในหัวข้อข่าว The Isaan Record โดย อติเทพ จันทร์เทศ เรื่องและภาพ ความว่า ได้ลงพื้นที่เพื่อบันทึกความทรงจำของคนในชุมชนมิตรภาพ ชุมชนริมทางรถไฟที่ถูกการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไล่รื้อเพื่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 โคราช – หนองคาย ซึ่งตอนนี้ รฟท. ยังไม่มีแผนรองรับการอพยพคนกว่า 700 ครอบครัว นั้น

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม ขอชี้แจงว่า การดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟทุกโครงการ รฟท. มีแผนดูแลรองรับผู้ได้รับผลกระทบจากก่อสร้างมาโดยตลอด ซึ่งในส่วนชุมชนมิตรภาพที่อยู่ด้านทิศเหนือของสถานีขอนแก่น รฟท. โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษางานศึกษาออกแบบโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ได้พิจารณาแนวทางการดูแลเบื้องต้น โดยให้ชุมชนมิตรภาพ และชุมชนในเขตที่ดินรถไฟที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่าง กม.444+400 ถึงกม. 470+500 ย้ายที่อยู่อาศัยไปอยู่ในเขตย่านสถานีห้วยไห และย่านสถานีสำราญ

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนที่อยู่ในที่ดินของ รฟท. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 ซึ่งมีนายคมสันต์ จันทร์อ่อน ผู้แทนเครือข่ายสลัม 4 ภาคในฐานะคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการคนที่ 3 เข้าร่วมประชุม ได้มีการรับทราบข้อเสนอเพิ่มเติม จากโครงการบ้านมั่นคงของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ซึ่งได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อขอเช่าพื้นที่ของ รฟท. บริเวณสนามกอล์ฟ ข้างสถานีรถไฟขอนแก่นเดิม เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยรองรับชุมชนโนนหนองวัด 2 (ริมราง) และชุมชนเทพารักษ์ 5 ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเช่นกัน



โดยระหว่างนี้ ทางฝ่ายบริหารทรัพย์สินของ รฟท. ได้รับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับคณะทำงานพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนที่อยู่ในเขตที่ดินของ รฟท. เพื่อหาข้อสรุปว่าจะมีการดูแลชุมชนมิตรภาพไปในพื้นที่ใดเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการย้ายไปสถานีห้วยไห หรือสถานีสำราญตามแผนเดิม หรือการย้ายไปในพื้นที่ 2 ไร่ (สนามกอล์ฟ) ที่ พอช.มีแผนสร้างโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งอาจปรับแบบสร้างเป็นที่อยู่อาศัยแนวตั้งประเภทอาคารสูง เพื่อรองรับประชาชนจากชุมชนมิตรภาพเพิ่มเติม

รฟท. จึงขอเรียนชี้แจงเพื่อทราบเบื้องต้น ไว้ ณ ที่นี้ และขอย้ำว่า มีความตั้งใจในการดูแลประชาชนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ และเหมาะสม โดยจะไม่มีการทอดทิ้ง อย่างไรก็ดี ในการดำเนินการต่างๆนั้น การรถไฟฯ คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและส่วนรวมเป็นสำคัญ

Written By
More from pp
บี.กริม ‘ร่วมใจ สู้ภัยโควิด-19’ รับมือโอมิครอน ส่งมอบ ‘ถุงแห่งความห่วงใย” อุปกรณ์และยาป้องกันโควิด ดูแลสุขภาพชุมชนทั่วประเทศ   
การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโควิด-19 ระลอกใหม่ซึ่งเป็นผลมาจากไวรัสกลายพันธุ์โอมิครอน พบสถิติติดเชื้อและอัตราการตายสูงทั่วโลก โดยเฉพาะในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าประชาชนได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น ก็ยังสามารถติดเชื้อได้ และต้องใช้เวลาอีกพอสมควร กว่าโรคระบาดจะลดความรุนแรงลง ดังนั้นการรับมือที่ดีที่สุด คือ การป้องกันและดูแลรักษาสุขภาพของตนอย่างเคร่งครัด
Read More
0 replies on “การรถไฟแห่งประเทศไทยแจงแนวทางการดูแลชุมชนมิตรภาพ จังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 นครราชสีมา – หนองคาย ยืนยันมีแผนดูแลผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม ไม่มีการทอดทิ้งประชาชน”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();