“ปัจจุบันการผลิตไส้กรอกของไทยมีพัฒนาการก้าวหน้าไปมาก ผู้ผลิตรายใหญ่นำเทคโนโลยีการผลิต เช่น ระบบการผลิตอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง การผลิตโดยไม่ใช้สารกันเสียอื่นๆ นอกเหนือจากสารที่จำเป็นและมีอยู่ในสูตรการผลิต ทั้งยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ในมาตรฐานความปลอดภัย” รศ.ดร.อินทาวุธ กล่าวสำหรับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไส้กรอก แนะนำให้พิจารณาจากลักษณะภายนอกของไส้กรอก ที่ไม่ควรมีสีชมพูหรือแดงเข้มจนเกินไป สีของผลิตภัณฑ์ควรเป็นตามสีของวัตถุดิบตั้งต้นด้วย ขณะที่รสชาติต้องตรงกับความเป็นธรรมชาติของประเภทของเนื้อสัตว์นั้น ๆ ที่สำคัญ ควรเลือกผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ บนบรรจุภัณฑ์จะต้องระบุสถานที่ผลิต วันผลิต และวันหมดอายุอย่างชัดเจน มีเครื่องหมาย อย. หรือ มอก. เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ไส้กรอก เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูปที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการทำให้สุกโดยใช้ความร้อนดังนั้น ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้วิธี “อุ่น” ไส้กรอกได้ง่ายๆเพียงนำไปลวกในน้ำร้อน นึ่ง หรือ อุ่นในไมโครเวฟ หลีกเลี่ยงการทอดก็จะเลี่ยงการได้รับไขมันจากวิธีทอดด้วย
ทั้งนี้ คนไทยไม่ได้บริโภคไส้กรอกกันเป็นอาหารหลัก หรือมากเท่ากับคนในชาติตะวันตก ดังนั้น ในเรื่องปริมาณการบริโภคจึงไม่มีประเด็น การบริโภค “ไส้กรอกคุณภาพ” อย่างพอดีจึงไม่มีปัญหาใด
อย่างไรก็ตาม หากรับประทานร่วมกับผักต่าง ๆ ก็จะได้สารต้านอนุมูลอิสระและช่วยในการขับถ่าย รวมทั้งควรรับประทานอาหารหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ควบคู่การออกกำลังกายด้วย ก็จะทำให้มีสุขภาพที่ดี แข็งแรง และห่างไกลโรคภัย