ข่าวปลอม!!!!!!! การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกาที่ให้เรียกคืนที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง

ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวสารประเด็นเรื่อง การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกาที่ให้เรียกคืนที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการให้ข้อมูลที่ระบุว่าผู้ว่าการรถไฟประเทศไทย ไม่ปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกา ที่ตัดสินคดีให้ยึดที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็นดังกล่าวว่า สำหรับที่ดินที่มีข้อพิพาท รฟท. ได้ยึดแนวทางในการดำเนินการทุกขั้นตอนบนหลักการว่าประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการ และอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว ถือว่าเป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต

โดยจะต้องมีการดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดจากกระบวนการสำรวจ และออกเอกสารสิทธิ์ที่คลาดเคลื่อนในอดีตทำให้เกิดกรณีของการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อน ซึ่ง รฟท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการพิสูจน์สิทธิ์ และขั้นตอนของกฎหมายมาโดยตลอด

สำหรับปัญหาที่ดินของ รฟท. บริเวณเขากระโดง แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

1. ปัญหาการบุกรุกที่ดินบริเวณเขากระโดง มีปัญหามาอย่างยาวนาน มีผู้บุกรุกประมาณ 83 ราย ที่ผ่านมา รฟท. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการบุกรุกตามขั้นตอนภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด และ

2. ปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณเขากระโดง มีปัญหามาอย่างยาวนาน และมีความสลับซับซ้อน เกิดขึ้นจากกระบวนการสำรวจการออกเอกสารสิทธิ์ที่คลาดเคลื่อน

ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา รฟท. ได้เสาะหาข้อเท็จจริง และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายมาโดยตลอด โดยล่าสุดเมื่อต้นปี 2564 รฟท. ได้ดำเนินการสำรวจที่ดินบริเวณเขากระโดงโดยไม่ได้มีการสำรวจที่ดินของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นการเฉพาะ

พบว่ามีผู้ถือครองเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยหน่วยงานราชการประมาณ 900 ราย แบ่งเป็น โฉนดที่ดิน จำนวน 700 ราย ที่มีการครอบครอง (ท.ค.) จำนวน 19 ราย น.ส.3ก. จำนวน 7 ราย หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 1 ราย ทางสาธารณประโยชน์จำนวน 53 แปลง และอื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏเลขที่ดินในระวางแผนที่อีกจำนวน 129 แปลง

โดยการดำเนินการกรณีประชาชนฟ้อง รฟท. ประชาชน ได้ฟ้อง รฟท. โดยอ้างสิทธิ์ตาม ส.ค.1 และ นส.3 ก. และ รฟท. ได้เข้าต่อสู้คดีตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาในคดีเหล่านั้นเชื่อข้อเท็จจริงตามแผนที่ที่นำเสนอโดย รฟท. ว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. ซึ่ง รฟท. ได้ดำเนินบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในแต่ละคดีแล้ว

อย่างไรก็ดีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีโดยไม่ผูกพันบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความตามคดีนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 การดำเนินการกรณีไม่มีข้อพิพาทในศาล รฟท. ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อหาข้อยุติในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์บนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอให้กรมที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎร และให้บริการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เพื่อพิจารณาทบทวนการใช้อำนาจดังกล่าว

โดยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 รฟท. ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน ขอให้กรมที่ดินดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 61 วรรคหนึ่ง ซึ่งระบุว่า “เมื่อความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือได้จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ใด โดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย

จึงให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้” ทั้งนี้ รฟท. ยืนยันที่จะดำเนินการในเรื่องนี้จนถึงที่สุด และหากในอนาคตจะปรากฏผลการวินิจฉัยอันถึงที่สุดเป็นประการใด รฟท. ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวอย่างเคร่งครัดต่อไป

ส่วนที่มีการตั้งคำถามว่าทำไมไม่ฟ้องประชาชนตามคำแนะนำของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ตามคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรณีที่กรมที่ดินได้มีหนังสือหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่แจ้งให้กรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ซึ่ง รฟท. ไม่ทราบว่ากรมที่ดิน ได้หารือประเด็นใดรวมถึงการจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดเพียงใด

อย่างไรก็ดี รฟท. ได้นำคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดมาพิจารณาในการดำเนินการแล้วเห็นว่า การที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ทับบนที่ดินที่สันนิษฐานว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. เป็นกรณีที่ประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการและอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว เป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต รฟท. จึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยทางราชการ

แต่จะดำเนินการโดยมุ่งเน้นพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อกรมที่ดินเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎรและให้บริการ จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น และมีข้อเท็จจริงปรากฏตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น ทำให้ รฟท. เชื่อได้ว่าการออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่บริเวณเขากระโดงโดยความคลาดเคลื่อนเกิดจากเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกโฉนดที่ดินตามกฎหมาย

ย่อมต้องทราบถึงการมีอยู่ของที่ดินดังกล่าว หากได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการรถไฟฯ จึงยืนยันขอให้กรมที่ดินพิจารณาดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่โดยพิจารณาการเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ต่อไป

ดังนั้น ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากการรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่ เฟซบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือสามารถจองตั๋วออนไลน์ได้ทาง เว็บไซต์ www.thairailwayticket.com หรือโทร Call Center 1690



Written By
More from pp
เอปสัน เปิดตัว EcoTank ใหม่ คุ้มค่า ประสิทธิภาพสูง ตอบโจทย์การใช้งานสำหรับออฟฟิศขนาดกลาง
เอปสัน เปิดตัวเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชั่นรุ่นใหม่จากตระกูล EcoTank ได้แก่ Epson EcoTank L6550 และ L6580 ที่มีจุดเด่นในเรื่องของการรองรับงานพิมพ์ปริมาณมากและมีต้นทุนการเป็นเจ้าของ (Total Cost of Ownership หรือ TCO) ที่ต่ำ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าในระยะยาว
Read More
0 replies on “ข่าวปลอม!!!!!!! การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกาที่ให้เรียกคืนที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();