คำว่า เล้ง เขียน สระเอ ล ลิง ไม้โท ง งู มาจากคำภาษาจีนแต้จิ๋วว่า เอียเล้ง ซึ่งย่อจากคำว่า เอียเหล่งกุก

เอีย แปลว่า หลัง เล้ง แปลว่า ยาว กุก แปลว่ากระดูก

เอียเล้ง หมายถึงกระดูกสันหลังของหมูที่มีลักษณะเป็นเส้นยาวแต่เดิมชาวจีนนิยมนำเอียเล้งมาต้มเคี่ยวเพื่อใช้น้ำที่ต้มเคี่ยวนั้นทำน้ำแกงซึ่งจะมีรสหวานเพราะเป็นกระดูกที่มีเนื้อหมูติดอยู่
ร้ายขายก๋วยเตี๋ยวหมูส่วนมากใช้น้ำต้มเคี่ยวเอียเล้งทำเป็นน้ำซุปหรือน้ำก๋วยเตี๋ยว

ปัจจุบันนิยมนำเนื้อหมูจากเอียเล้งที่ต้มเคี่ยวแล้วและน้ำที่ได้จากการต้มเคี่ยวนี้มาปรุงเป็นอาหารประเภทต้มยำ  ต้มแซ่บ หรือนำทั้งน้ำที่ได้จากการต้มเคี่ยวและเนื้อติดกับเอียเล้งและมาใส่ก๋วยเตี๋ยวแทนเนื้อหมู และเรียกสั้นๆ ว่า เล้ง เช่น เล้งต้มยำ  เล้งต้มแซ่บ  ก๋วยเตี๋ยวเล้ง

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

Written By
More from pp
“วราวุธ” เผย พม. ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 แห่ง ใน 13 จว. ช่วยกลุ่มเปราะบาง-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมริมแม่น้ำโขง ขอเป็นกำลังกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกคน-แสดงความเสียใจกับผู้เสียชีวิต
16 กันยายน 2567 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว กรุงเทพฯ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า...
Read More
0 replies on “เล้ง”