ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า: กรณีการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

คำถาม: วัคซีนป้องกับโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าทำให้เกิดการอุดตันของเลือดและภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จริงหรือไม่
ตอบ: สืบเนื่องจากประกาศของหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของสหราชอาณาจักร (MHRA) และหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของยุโรป (EMA) เมื่อวันพุธ ที่ 7 เมษายน 2564 ผลการตรวจสอบพบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีความเชื่อมโยงกับกรณีการเกิดลิ่มเลือดที่ผิดปกติในร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าบางราย ซึ่งถือว่าพบได้ยากมากในประชาชนกว่า 34 ล้านคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าในสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป (WHO, เกือบ 200 ล้านคน ทั่วโลก)

จากผลการตรวจสอบเชิงลึกใน 62 ราย ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำที่รับเลือดจากสมอง และ 24 ราย ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำในช่องท้อง (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มีนาคม 2564) และส่วนใหญ่เป็นรายงานจากสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรซึ่งมีผู้ได้รับวัคซีนแล้วประมาณ 34 ล้านรายขณะนี้ จากรายงานดังกล่าวพบว่าภาวะนี้ส่วนใหญ่พบในสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีน จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถยืนยันปัจจัยเสี่ยงที่เฉพาะเจาะจงได้

ความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในประชากรที่ได้รับวัคซีน คิดเป็น 4 คน ในประชากรหนึ่งล้านคนซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก

ในขณะเดียวกัน หน่วยงานทั้งสองแห่งยังยืนยันอีกครั้งว่า โดยภาพรวมแล้ววัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถช่วยป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19ในทุกระดับความรุนแรงได้และประโยชน์เหล่านี้นั้นยังคงมีมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์

ที่มา:
https://www.ema.europa.eu/en/news/astrazenecas-covid-19-vaccine-ema-finds-possible-link-very-rare-cases-unusual-blood-clots-low-blood
https://www.gov.uk/government/news/mhra-issues-new-advice-concluding-a-possible-link-between-covid-19-vaccine-astrazeneca-and-extremely-rare-unlikely-to-occur-blood-clots

คำถาม: EMA / MHRA ประกาศห้ามใช้วัคซีนป้องกับโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าแล้วหรือไม่ หรือมีกฎเกณฑ์ / ข้อบังคับในการใช้วัคซีนอย่างไรบ้าง
ตอบ: ทั้ง MHRA และ EMA ได้มีการขอให้แอสตร้าเซนเนก้าเพิ่มเติมข้อมูลบนฉลากวัคซีนที่ใช้ในสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ยังไม่สามารถระบุถึงปัจจัยเสี่ยงใดๆ อาทิ อายุ เพศหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งพบได้ยากมากนี้

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานทั้งสองมีความเห็นต่อเหตุการณ์นี้ว่า ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อพิสูจน์ถึงความเชื่อมโยงเชิงเหตุและผลที่ชัดเจนระหว่างการฉีดวัคซีนและการเกิดภาวะลิ่มเลือดที่ผิดปกติในร่างกาย แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้น จึงขอให้ระบุว่าเป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ยากมาก

ที่มา:
https://www.ema.europa.eu/en/news/astrazenecas-covid-19-vaccine-ema-finds-possible-link-very-rare-cases-unusual-blood-clots-low-blood
https://www.gov.uk/government/news/mhra-issues-new-advice-concluding-a-possible-link-between-covid-19-vaccine-astrazeneca-and-extremely-rare-unlikely-to-occur-blood-clots

คำถาม: วัคซีนป้องกับโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถใช้ได้ในคนช่วงอายุใดบ้าง
ตอบ: ในขณะนี้ หน่วยงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (MHRA) ยังไม่ได้มีการจำกัดช่วงอายุของผู้ที่สามารถได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าแต่อย่างใด โดยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถฉีดให้แก่ผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปี ขึ้นไป โดยจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านสุขภาพอื่น ๆ ประกอบการฉีดด้วย

สำหรับคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการให้วัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันโรค (Joint Committee on Vaccination and Immunisation—JCVI) ซึ่งเป็นคณะผู้เชี่ยวชาญอิสระที่มีบทบาทในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับวัคซีนแก่รัฐบาลสหราชอาณาจักร แนะนำให้ประชาชนที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี รับวัคซีนชนิดอื่นแทน

ทั้งนี้การจำกัดช่วงอายุขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของหน่วยงานที่กำกับดูแลในแต่ละประเทศ

ที่มา:
https://www.gov.uk/government/publications/use-of-the-astrazeneca-covid-19-vaccine-jcvi-statement/jcvi-statement-on-use-of-the-astrazeneca-covid-19-vaccine-7-april-2021

คำถาม: การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง และความร้ายแรงของผลข้างเคียงแต่ละอันเป็นยังไง

ตอบ:

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป (Normal side-effect) :

ประกอบไปด้วย อาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ หรือ คลื่นไส้ เจ็บคอ มีอาการคล้ายไข้หวัด บวมแดงร้อนบริเวณตำแหน่งที่ฉีด ฯลฯ ซึ่งในเบื้องต้นผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนสามารถเฝ้าสังเกตอาการได้ ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถหายเองได้ภายใน 2-3 วัน หรือในช่วงสัปดาห์แรก

ผลข้างเคียงรุนแรง (Severe side-effect):

อาการไม่พึงประสงค์ที่มีรายงานพบบ่อยมากที่สุดคือ กดเจ็บบริเวณที่ฉีด ปวด บริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ มี ไข้หนาวสั่น และปวดตามข้อ คลื่นไส้ อาการไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่มี ความรุนแรงในระดับน้อยถึงปานกลาง และโดยทั่วไปมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังจากฉีดวัคซีน ภายในวันที่ 7 อุบัติการณ์ของอาสาสมัครที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์เฉพาะที่หรือทั่วร่างกายเท่ากับร้อยละ 4 และร้อยละ 13 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบโดสแรก อาการไม่พึงประสงค์ที่รายงานพบหลังจากโดสที่สองมีความรุนแรงน้อยกว่า และ มีการรายงานความถี่ที่น้อยกว่า
https://www.azcovid-19.com/content/dam/azcovid/pdf/thailand/th-epil-azd1222-th.pdf

การเกิดลิ่มเลือดที่ผิดปกติในร่างกายร่วมกับภาวะเกร็ดเลือดต่ำ อาจทำให้มีอาการดังต่อไปนี้ เช่น หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก บวมที่ขา ปวดท้องแบบต่อเนื่องโดยเฉพาะบริเวณระดับสะดือ อาการผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งรวมถึงอาการปวดศีรษะรุนแรงต่อเนื่อง สายตาพร่ามัว หรือมีจุดจ้ำเลือดใต้ผิวหนังในบริเวณที่ไม่ใช่ตำแหน่งที่รับการฉีดวัคซีน ซึ่งผู้รับวัคซีนจะต้องทำการติดต่อไปยังแพทย์ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำการรักษาในทันทีหากมีอาการที่สงสัยภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

https://www.ema.europa.eu/en/news/astrazenecas-covid-19-vaccine-ema-finds-possible-link-very-rare-cases-unusual-blood-clots-low-blood

คำถาม: วัคซีนโควิด-19 ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่มีจากผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน
ตอบ: ด้วยประสิทธิผลและประโยชน์ที่จะได้รับจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าที่สามารถช่วยป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในทุกระดับความรุนแรงได้และประโยชน์เหล่านี้นั้นยังคงมีมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์

https://www.ema.europa.eu/en/news/astrazenecas-covid-19-vaccine-ema-finds-possible-link-very-rare-cases-unusual-blood-clots-low-blood
https://www.gov.uk/government/news/mhra-issues-new-advice-concluding-a-possible-link-between-covid-19-vaccine-astrazeneca-and-extremely-rare-unlikely-to-occur-blood-clots

 

 

Written By
More from pp
“เฮือนครัว บ้านเฮา” ไอเดียครัวนักศึกษา ม.ขอนแก่น คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวด “Häfele Kitchen Design Award 2019”
‘ห้องครัว’ นับเป็นความมหัศจรรย์อีกหนึ่งเรื่องของบ้าน ที่สามารถบ่งบอกถึงตัวตนของวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เพราะองค์ประกอบทุกอย่างในครัว คือสิ่งที่บรรจุเรื่องราวทุกสิ่งอย่างไว้ ทั้งการเปลี่ยนแปลง พัฒนาการ ศิลปะ วิถีชีวิต จนกลายเป็นห้องครัวห้องหนึ่ง ที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ชนิดที่ควรถูกยกเป็น ‘มรดกวัฒนธรรม’ สุดล้ำค่า ที่หาจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว
Read More
0 replies on “ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า: กรณีการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน”