กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ปี 2565 จากการประชุม ครม. นัดล่าสุด วงเงินรวมกว่า 201 แสนล้านบาท จะทำให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยมีรายการต่าง ๆ ดังนี้
- ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว
- ค่าบริการสาธารณสุขผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ ผู้มีสิทธิจำนวน 445,964 คน
- ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
- ค่าบริการเพื่อควบคุมป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง ผู้มีสิทธิจำนวน 9,7,280 คน(เบาหวาน ความดันโลหิตสูง จิตเวชเรื้อรัง)
- ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 207 แห่ง
- ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน
- ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว(ทีม PHC)
- ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับบริการ กรณีโรคโควิด -19 เป้าหมายบริการตรวจคัดกรอง และบริการรักษาพยาบาล
- เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการ และผู้ให้บริการเป้าหมาย 1,657 คน
- ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค เป้าหมาย 66,210,000 คน
รวมทั้ง งบประมาณบริหารงานสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
โดยสิทธิประโยชน์ใหม่ที่ประชาชนจะได้รับ เช่น การผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ระยะกลาง – ท้าย, การตรวจคัดกรองยีนส์ HLA-B*5801 ก่อนเริ่มยา Allopurinol ในผู้ป่วยโรคเกาต์
นอกจากนี้ ยังเพิ่มรายการอุปกรณ์ Extracorporeal Membrane ในการรักษาภาวะหัวใจ/ปอดล้มเหลวเฉียบพลัน