“ทฤษฎีใหม่” รัฐประหาร

เข้าใจเลย……

ที่นาย “ชินโซ อาเบะ” ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ ญี่ปุ่น สาเหตุหนึ่ง จากโรค “ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง”พลอยห่วง “นายกฯ ประยุทธ์”
เพราะตัวการโรคคือ “ความเครียด” ฉะนั้น นายกฯ เครียดน้อยๆ จะได้อยู่นานๆ

มาคุยเรื่องของเราดีกว่า …….
ตอนนี้ ขบวนการชักใยพังชาติ ปรากฏตัวออกมาเรื่อยๆ

นอกจาก “สามสัส-เอ็นจีโอ” แล้ว “แก๊งนอกชาติ” ก็เริ่มปิดไม่มิด
ออก “เวิร์ดดิ้ง” ใหม่ จากนายกฯ ออกไป เป็น “รัฐบาลคุกคามประชาชน”

อย่างที่เห็นในสภา หน้าโรงพักสำราญราษฏร์ และที่พวกเสร่อรุ่นใหม่ใช้ตบท้ายคำปราศรัย-คำสัมภาษณ์

ยิ่งตะโกน ยิ่งประจานตัวเอง
เพราะที่พวกเสร่อทำ ตรงข้ามกับที่พูด คือวันๆ มีแต่พวกเสร่อนั่นแหละ เที่ยวคุกคามรัฐบาล เอาทัวร์ไปลง พยายามทำเถื่อน อยากให้เกิด “ตีนตบ”
โชว์ยูเอ็น โชว์แอมเนสตี้ ฮิวแมนไรช์ ที่ออกมาดูผลงาน ว่านี่ไง..นี่ไง “ตำรวจทำร้ายประชาชน”

วันก่อน เสร่อ สส.คณะสามสัส ชู ๓ นิ้วในสภา ปากก็ท่อง รัฐบาลคุกคามประชาชน คงนึกว่า เท่มาก
สลิ่ม ยังหอมหวาน แต่เสร่อนี่ ไม่มีราคา ใช้ไถนาแทนควายก็ยังไม่ได้!

“เผด็จการ-ประชาธิปไตย” เหมือนกลางวันกับกลางคืน มันตัวเดียวกัน พวกเสร่อไม่เข้าใจ เพราะสามสัสเอากะโหลกพวกนี้ไปใช้เป็นที่ล้างตีนหมด

มีบุคคลสำคัญของประเทศท่านหนึ่งคือ “คุณอานันท์ ปันยารชุน” อดีตนายกฯ
ให้คำอธิบายประเด็นนี้ไว้ชัดเจน เมื่อปี ๒๕๕๗ หลังพลเอกประยุทธ์เข้าควบคุมอำนาจปกครองประเทศ ๓-๔ เดือน
ในงานหาทุนสร้าง “ประติมากรรมอนุสาวรีย์วีรชนพฤษภา ๓๕” ที่โรงแรมมมณเฑียร เมื่อ ๑๔ สิงหา.ปี ๕๗

๗ ปีมาแล้ว
แต่คำตอบเรื่อง “รัฐประหาร-ประชาธิปไตย” ของท่าน มันเป็นมิติสังคมโลกใหม่ที่ควรรู้-ควรเข้าใจกันยิ่งนัก

คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ปุจฉา ท่านอานันท์ วิสัชนา ผมจะแกะเทปบางตอนมาให้อ่าน

ภิญโญ:
ถึงวันนี้ ผ่านไป ๒๒ ปี คุณอานันท์มองประเทศไทย เงื่อนไขวันนั้นกับเงื่อนไขวันนี้ ต่างกันอย่างไร?

เพราะพฤษภา.๓๕ เกิดจากรัฐประหาร ๓๔ แต่วันนี้ เราอยู่ภายใต้รัฐประหารเหมือนกัน คุณอานันท์มองสถานการณ์วันนั้นกับวันนี้ ประเทศไทยเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

อานันท์:
ปัญหาโลกแตก ผมมองโลกในหลักความจริง เล่าเรียนในเรื่องของทฤษฎี จำได้ รู้สึกว่า อารยธรรมต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศตะวันตก มีนักปราชญ์หลายร้อยคนในระยะหลายพันปี ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ มาจากเขาส่วนใหญ่

ส่วนเราเป็นเด็กเกือบ ๘๐๐ ปี เราเป็นรุ่นน้อง แต่เป็นรุ่นพี่ของมหาอำนาจ คือ สหรัฐอเมริกา ที่มีอายุ ๒๕๐-๓๐๐ ปี

สิ่งหนึ่ง ที่ปรากฎในสังคมไทยคือ ไม่ค่อยเรียนรู้จากทฤษฎีหรือไม่ค่อยเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือจากความจริง
ยังฟังความเห็นจากคนอื่นส่วนใหญ่ ซึ่งขัดหลักพุทธศาสนา ที่ได้ยินอะไรมาต้องตรวจสอบก่อน

เพราะฉะนั้น สังคมไทยเชื่อข่าวลือเป็นส่วนใหญ่ จึงเกิดขบวนการปล่อยข่าวลือเป็นส่วนใหญ่ ๕๐% เชื่อ อีก ๕๐% อาจไม่เชื่อ อาจสงสัย

เมืองไทยผ่านประวัติศาสตร์การเมือง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ชื่อฟังเพราะ……

จนทุกวันนี้ คนไทยไม่น้อย ไม่เข้าใจประชาธิปไตยคืออะไร ไม่เข้าใจมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญคืออะไร?

เราเคยได้ยินข่าวรัฐประหารในลาติน อเมริกา เราก็มีบ้างรัฐประหาร ในหลักการ รัฐประหารเป็นสิ่งไม่ดีแน่นอน
และประเทศทางตะวันตก ก็เริ่มมาจากสังคมไม่มีหลักเกณฑ์อะไรเลย ต่อมามีประสบการณ์ ความโหดร้าย ความทารุณ มากกว่าที่มีสงครามในเอเชีย และในเมืองไทย

ถ้าดูประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส อังกฤษ แม้แต่ของอเมริกา ความโหดร้าย ทารุณ ความไม่ดี ความไม่เป็นมนุษย์ของเขา มีมากกว่าเราหลายเท่า

เราดูภาพยนตร์ The King and I คนเอาไปเขียนว่ามีการเผาคนตาย เผาคนที่เรียกว่า mistake คนไทยไม่เคยมี ยุโรปมีทั่วไปหมด สงครามครูเสด สงครามอะไรต่ออะไร

สิ่งหนึ่งไม่เข้าใจ…..
ทำไมคนไทยหลงรักฝรั่งเหลือเกิน นึกว่าฝรั่งเป็นพ่อเป็นแม่หรืออย่างไร? นั่นข้อหนึ่ง

ข้อสอง เรียนรู้จากฝรั่ง มีทฤษฎีดีๆวัฒนธรรมดีๆ และมีไม่ดีเหมือนกัน ฝรั่งเปลี่ยนแปลงมาก เขามีโอกาส ๒-๓ ร้อยปี ที่จะวิวัฒนาการระบอบประชาธิปไตยของเขา

ตอนที่เขาแรกเริ่มมี ในอังกฤษ มีวิวัฒนาการตั้งแต่ คศ.๑๖…ซึ่งผมจำไม่ได้ แต่กว่าจะมีประชาธิปไตยสมบูรณ์มัน คศ.๑๙๒๘

เพราะตั้งแต่เริ่มต้นมา อังกฤษผู้หญิงออกเสียงไม่ได้ ก่อนหน้านั้น ที่จะออกเสียงได้ ต้องเป็นคนมีทรัพย์สมบัติ สุดท้าย ค.ศ.๑๙๒๘ ผู้หญิงถึงจะออกเสียงได้

ฉันใด ก็ฉันนั้น ……
ที่อเมริกาเหมือนกัน เกือบ ๓๐๐ ปี เพิ่งมีประชาธิปไตย ค.ศ.๑๙๖๔ สมัยประธานาธิบดีจอห์สัน ที่เรียก Civil Right Act คือมีกฎหมายให้ความเป็นธรรมคนผิวชาติอื่นด้วย

ของเรา เพิ่งมีประชาธิปไตยในรูปแบบมา พ.ศ.๒๔๗๕ ถ้าถามผมจริงๆ ว่า เมืองไทยเรามีประชาธิปไตยแท้จริงมั้ย? คำตอบผมมีว่า “เราไม่เคยมีเลย แต่เราหลอกตัวเองมาตลอดว่าเรามี”

โดยเฉพาะระยะที่ผ่านมา ๓-๕ ปี ฝรั่งเขาบอกว่า “เรามีรัฐประหารคราวนี้ ทำลายประชาธิปไตย”

คำถามที่ผมตอบไป…
“ถามจริงๆเถอะ ยูคิดว่าที่ผ่านมา ๓ ปี ๕ ปี เราเป็นประชาธิปไตยหรือ?
ฝรั่งไม่เคยกล้าตอบผม ว่าเขาคิดว่าเป็นประชาธิปไตย เพราะฉะนั้น ความหน้าไหว้หลังหลอกของฝรั่ง ที่ภาษาอังกฤษเขาเรียก hypocrite คือกลับกลอกของฝรั่ง มันจะทำอะไร หรือมีนโยบายอะไร จะต้องมีผลประโยชน์กับประเทศเขา ซึ่งเราก็ไม่ว่าอะไร!

แต่ทำไมเมื่อเป็นประโยชน์ประเทศเขา จะต้องมาทำลายเราด้วย?
รัฐประหารเกิดขึ้นหลายครั้ง ผมคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย แต่มีความจำเป็นที่ต้องทำ ในที่นี่… บางคนเห็นด้วยกับผม บางคนก็ไม่เห็นด้วย ไม่แปลก

จริงๆ แล้ว ในการเป็นนักการทูต ยิ่งคนไม่เห็นด้วยกับเรา เรายิ่งต้องคบค้ากับเขาให้มากขึ้น
กลับมาเรื่องรัฐประหาร เขามีเหตุผลจำเป็น ไม่ใช่เห็นชอบนะ แต่ผมเห็นใจเขา นี่ข้อแรก

เมื่อซัก ๕-๖ ปีมาเนี่ย มีโปรเพสเซอร์ที่ฮาร์วาร์ด เขียนหนังสือขึ้นมาใหม่ ถ้าเผื่อตะวันตกหรือรัฐบาลเขาหรือผู้มีผลประโยชน์กับรัฐบาลเขา บอกว่าจะเป็นประชาธิปไตยได้ ต้องเลือกตั้งอย่างเดียว

ซึ่งเดิมเขาไม่ได้คิดอย่างนั้น แต่ตอนหลังนี่ ต้องเลือกตั้ง…เลือกตั้ง โดยไม่คำนึงว่าเลือกตั้งนั้น มาจากความบริสุทธ์ผุดผ่องหรือเปล่า ยุติธรรม มีความเที่ยงธรรมแค่ไหน?

แต่มันมีอีก “ทฤษีใหม่” ขึ้นมา ซึ่งผมอยากให้ฝรั่งเขาอ่านมากขึ้น เขาบอกว่า….
“ขณะนี้ มันไม่ใช่ว่า ประเด็นมันไม่ใช่คำถามว่า “รัฐประหารมันดีหรือไม่ดี”?

แต่เป็นประเด็นที่เขาถามว่า “รัฐประหารเพราะอะไร และจะนำประเทศไปสู่ที่ไหน ถ้าเป็นรัฐประหารที่ต้องทำ เพราะประเทศนั้น กำลังจะสูญเสียประชาธิปไตย?!
อันนี้สำคัญมากนะ….

ทุกครั้งที่รัฐประหาร ไม่ได้หมายความว่า คุณทำลายประชาธิปไตย
อาจมีรัฐประหารหลายแห่ง-หลายครั้งในโลกต่างๆ ที่อาจจะต้องรัฐประหาร
เพราะ “ประเทศกำลังสูญเสียประชาธิปไตย”

ประการที่สอง หลังจากรัฐประหารไปแล้วเนี่ย จะดำเนินไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือเปล่า?
๒ คำถามนี้ หนังสือเล่มนี้ เอาเหตุการณ์แท้จริงที่โปรตุเกส ก็ดี ตุรกีก็ดี กรีซก็ดี มาเป็น Case study

เพราะฉะนั้น มันมีทฤษฏีใหม่แล้ว ซึ่งรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอเมริกัน คงไม่ได้อ่านว่า

“อย่าไปถึงว่า พอมีรัฐประหารแล้ว เลวไปหมด” ต้องดูเสียก่อน ทำไมจึงรัฐประหาร?

ถ้าเป็นรัฐประหารปกป้อง-ป้องกันประชาธิปไตย…ทำได้!

หรือต้องการมาทำลาย คนที่มาทำลายประชาธิปไตย…ทำได้!

แต่หลังรัฐประหารแล้ว จะนำไปสู่ระบบประชาธิปไตยที่แท้จริงได้เร็วแค่ไหน?
๒ คำถามนี้ ต้องตอบให้ได้ ถ้าเผื่อตอบได้ เราจะสบายใจ

ภิญโญ:
ที่รายยาวมาทั้งหมด ให้ความชอบธรรมหรือสนับสนุนการรัฐประหารมากน้อยแค่ไหน?

อานันท์:
ไม่ใช่ผมขี้ขลาดที่จะให้คำตอบนะ ผมเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย มันเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง ในเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ถึงได้มีศัพท์ใหม่ว่า ไม่ condemned คือไม่ประณาม แต่ก็ไม่ condone คือไม่ได้ว่าสนับสนุนเต็มที่ ไม่ใช่ว่างั้น

แต่ผมว่า เถียงเรื่องนี้ไม่เกิดประโยชน์อะไร รัฐประหารเกิดขึ้นแล้ว สมัยผมเป็นนายกฯ ตอนนั้น
คนเขาบอก เอ๊ะ… “คุณอานันท์เป็นนายกฯคราวนี้ ไม่มีความชอบธรรม เพราะมาจากรัฐประหาร”

ผมก็บอก ผมไม่เถียงเลยนะว่ามีความชอบธรรม เพราะไม่ได้เป็นการเปลี่ยนตัวนายกฯ ที่ถูกตามครรลองธรรมนูญ หรือระบอบประชาธิปไตย

แต่คำถามที่ผมต้องถามคือ แล้วแก้ได้มั้ย เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว แล้วคุณแก้ได้มั้ย…ก็ไม่ได้

ปัญหาคือ ที่พวกคุณต้องติดตามผมว่า เมื่อผมเป็นรัฐบาลแล้ว ผมทำอะไรบ้าง ที่ไม่ชอบธรรม?

ภิญโญ:
ในอนาคต มีโอกาสเกิดรัฐประหารขึ้นอีกในประเทศนี้ เพราะทุกคนบอกเกิดขึ้นแล้วทำอะไรไม่ได้
แต่ถ้าวันนี้ มีคนยืนยัน ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร โดยเฉพาะคนที่มีเสียงดัง มีบารมี รอบหน้าปัญหาความขัดแย้งในประเทศนี้ อาจไม่ต้องนำไปสู่รัฐประหารหรือเปล่าครับ?

อานันท์:
ผมว่านี่เป็นการมองปัญหาที่ค่อนข้างแคบไปหน่อย อันนี้ไม่ใช่อยากชมตัวเองนะ
ผมบอกว่ารัฐประหารเกิดขึ้นแล้วและผมมาเป็นนายกฯ เพราะคิดว่า ตอนนั้นสถานการณ์มันน่าเป็นห่วงมาก ว่าคณะรัฐประหารที่เข้ามา เขายังไม่ค่อยรู้จะเดินไปในทิศทางไหน เขามาเชิญพลเรือนไปเป็น ผมก็เสี่ยง…ไม่เคยเป็นรัฐมนตรี ไม่เคยเป็นอะไรมาเลย

แต่ผมขอบอกว่า คอยดูนะ สิ่งที่ผมทำไปชอบธรรมแค่ไหน ก็อยู่มาได้ ๖ เดือน ๑ ปี ๑ ปีครึ่ง ก็ตลอดรอดฝั่ง แล้วก็เกิดปฏิวัติครั้งที่สอง

ตอนนั้น เสียงสังคมไทยก็เปลี่ยนไปเยอะ ว่า เออ..โอเค. อาจจะมาไม่ชอบธรรม
สุดท้ายก็ยอมรับผม คำถามที่ว่า คุณมาจากไหน โดยชอบธรรมหรือเปล่าเนี่ย ตอนนั้น มันจางไปแล้ว ปัญหาว่า ที่คุณอยู่เนี่ย คุณทำประโยชน์อะไรให้ประเทศชาติ ให้ส่วนรวมบ้าง?

ผมเป็นนายก ๒ ครั้ง มีการเขียนรัฐธรรมนูญ ซึ่งผมก็ไม่ค่อยพอใจในตัวรัฐธรรมนูญเท่าไหร่ แต่อย่างน้อย ๑๔-๑๕ ปีต่อมา ไม่มีรัฐประหาร

ผมไม่คิดว่าทหารเขาสนุกกับการเป็นนะ ผมแน่ใจ พวกนี้เขาอมทุกข์ เขาก็รู้การเข้ามามันเสี่ยงมาก ถ้าไม่สำเร็จ ก็มีโทษ ถ้าสำเร็จ ปัญหาว่า จะปกครองได้-ไม่ได้ จะเป็นรัฐบาลที่ประชาชนต้องการได้-ไม่ได้
ผมว่ามันเสี่ยง ขณะนี้เขาก็ยังเสี่ยงอยู่ แต่ผมว่าไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ทหารนะ ผมจึงบอก อย่าไปคิดนะว่า ทหารเนี่ย.. เอะอะอะไรก็จะรัฐประหาร เขาต้องคิดแล้ว-คิดอีกนะ
และผมเองก็บอก ผมไม่ชอบรัฐประหาร ก็บอกได้เลย ว่าไม่อยากเห็นรัฐประหารในเมืองไทย..ฯลฯ

ครับ….
อ่านแล้ว พวกเสร่ออย่าเอาทัวร์ไปลงท่านอานันท์เชียวนะ!

เพิ่มช่องทางรับข่าวสารได้ที่ LineID:plewseengern.com หรือสแกน QR Code

 


Written By
More from plew
ธนาธร:ไก่อ่อนเผยอเป็นอินทรี
ก็สนุกกันใหญ่…….. พอ ผบ.ทบ. “พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์” เดี่ยวไมโครโฟนจบ “อองตวน-ปิยบุตร” ก็ตั้งเวที เดี่ยวมั่ง ผมฟังบางช่วง-บางตอนแล้ว ต้องบอกว่า ปิยบุตรเอ้ย…...
Read More
0 replies on ““ทฤษฎีใหม่” รัฐประหาร”