“สุชาติ” ใช้ ตลาดนำการผลิต หนุน “กล้วยหอมเขียว” สู่ตลาดส่งออกญี่ปุ่น เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ชี้โอกาสทองในกรอบ JTEPA

รมช.สุชาติ เดินหน้า ตลาดนำการผลิต นำร่องปลูกกล้วยหอมเขียว (คาเวนดิช) ส่งออกญี่ปุ่น โดยกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ช่วยเพิ่มรายได้เกษตรกรต่อไร่สูงขึ้น 4–14% พร้อมได้รับความเชื่อมั่นจากผู้นำเข้าญี่ปุ่นที่ต้องการกล้วยหอมไทยคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โควตากรอบความตกลง JTEPA เตรียมต่อยอดขยายพื้นที่ปลูกกล้วยหอมเขียวสู่แปลงใหญ่ในจังหวัดอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้และความมั่นคงให้เกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน

วันที่ 18 กรกฎาคม 2568 จังหวัดนนทบุรี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ในการสนับสนุนเกษตรกรให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชตามความต้องการของตลาด โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มขึ้น

กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในจึงได้มีการจัดทำลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง บริษัท พีแอนด์เอฟ เทคโน จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น กับ บริษัท แปลงใหญ่กล้วยหอมทองสุขไพบูลย์ จำกัด เพื่อส่งออกกล้วยหอมทองจากไทยไปยังตลาดญี่ปุ่น โดยใช้โควตาส่งกล้วยหอมภายใต้กรอบความตกลง JTEPA ปริมาณ 8,000 ตัน/ปี ปัจจุบันมีการส่งออก กล้วยหอมทองเพียงปริมาณ 2,000 ตัน ซึ่งการทำความตกลงในครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มปริมาณ ผลผลิตกล้วยหอมเขียว (คาเวนดิช) เพื่อส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ตันมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการรวมกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ ผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพกล้วยหอมเพื่อการส่งออกตามมาตรฐาน GAP และ GMP ซึ่งมีสมาชิกกว่า 100 ราย“

นายสุชาติ  กล่าวต่อว่า “ จากโควตาภายใต้ความตกลงดังกล่าว ไทยสามารถใช้สิทธิประโยชน์ส่งออกกล้วยโดยไม่เสียภาษีนำเข้า ได้อีกจำนวนมาก กรมการค้าภายในจึงเข้ามาต่อยอดโดยการสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยหอมเขียว (คาเวนดิช) ที่มีความได้เปรียบด้านความทนทานต่อโรคและการขนส่ง ผลผลิตต่อไร่สูง และเก็บรักษาได้นาน
โดยกรมการค้าภายใน ได้สนับสนุนกล้วยหอมเขียวครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษาเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ ช่วยเกษตรกรดูแลหลังเก็บเกี่ยว คัดคุณภาพ และเลือกบรรจุภัณฑ์เหมาะสมเพื่อการส่งออก พร้อมสนับสนุนพันธุ์กล้วยหอมเขียวต้นแบบกว่า 128,000 ต้น ครอบคลุมพื้นที่ 400 ไร่ ตอบโจทย์ตลาดญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงตลาดญี่ปุ่นผ่านการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เสริมสร้างโอกาสส่งออกกล้วยหอมเขียวไทยสู่ตลาดญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น

นายสุชาติ กล่าวย้ำว่า “กิจกรรมในวันนี้โดยการสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงสุดถึงไร่ละ 18,000 บาท หรือเพิ่มขึ้นรวมทั้งแปลง 2–7.2 ล้านบาท คิดเป็น 4%–14% โดยการปลูกกล้วยหอมเขียวเพื่อส่งออกประเทศญี่ปุ่น

“กล้วยหอมเขียว (คาเวนดิช) มีผลผลิตต่อไร่สูง ส่งออกได้จริงในกรอบ JTEPA และมีตลาดญี่ปุ่นรองรับต่อเนื่อง กระทรวงพาณิชย์พร้อมผลักดันให้เป็นหนึ่งในสินค้าดาวรุ่งด้านส่งออกของไทย ร่วมกับกล้วยหอมทองที่มีศักยภาพสูง และเรามีแผนขยายผลสำเร็จจากแปลงใหญ่กล้วยหอมทองสุขไพบูลย์ในเสิงสางสู่กลุ่มแปลงใหญ่ในจังหวัดอื่น ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกกล้วยหอมเขียวและกล้วยหอมทอง ด้วยโมเดลการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงตลาดที่แข็งแรง สร้างรายได้ที่มั่นคงให้เกษตรกรไทย ซึ่งหากปริมาณการส่งออกกล้วยหอมของเกษตรกรใกล้โควตา ผมจะดำเนินการเจรจาเพื่อขยายโควตาในการส่งออกกล้วยหอมไปยังญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่าศักยภาพของเกษตรกรไทยสามารถปลูกผลผลิตเพื่อการส่งออกแบบนี้ได้อีกเยอะ” นายสุชาติกล่าว

Written By
More from pp
สปสช.หนุนรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน จ่ายค่าอุปกรณ์-ค่าอาหาร 3 มื้อ/วัน
สปสช. สนับสนุนแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิดที่บ้าน (Home isolation) จ่ายค่าอุปกรณ์วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนสำหรับให้คนไข้ไปใช้ที่บ้าน 1,100 บาท พร้อมค่าอาหาร 3 มื้อ ไม่เกิน...
Read More
0 replies on ““สุชาติ” ใช้ ตลาดนำการผลิต หนุน “กล้วยหอมเขียว” สู่ตลาดส่งออกญี่ปุ่น เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ชี้โอกาสทองในกรอบ JTEPA”