ส่องเผือกร้อนป.ป.ช.ยุค “สุชาติ” ลุยคดีการเมือง ไม่สนหน้าใคร

องค์กรตรวจสอบทุจริตของนักการเมือง อย่างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถูกตั้งคำถามจากสังคมถึงความเป็นกลาง และมาตรฐานการทำงาน ดังกระหึ่มมากที่สุดในยุค “ยืมนาฬิกาเพื่อน” จนถูกมองว่าอุ้มพวกพ้อง และพร้อมจะหันดาบฟันฝ่ายตรงข้ามด้วยคดีอาญา และมาตฐานจริยธรรม

คำถามเหล่านี้ ปกคลุมมาถึง ป.ป.ช. ยุค “นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข” เป็นประธานป.ป.ช. หลังได้รับโปรดเกล้า ฯ เมื่อวันที่ 13 กพ. 68 ว่าจะขับเคลื่อนภารกิจและฟื้นฟูองค์กรได้เป้าหมายได้หรือไม่

หลังก่อนหน้า ก็มีข้อครหา เช่นมีสายสัมพันธ์กับ “บิ๊กนักการเมือง” รวมถึงยังถูกดิสเครดิสต่างๆ ทั้งคลิปฉาว กับประธานรัฐสภา หลังขัดขากับบึ๊กข้าราชการมีสีคนดัง

“สุชาติ” ปฏิเสธเรื่องเห่ล่านี้ด้วยความเงียบ แต่เลือกจะพิสูจน์ตัวเองด้วยการกระทำ มากกว่าพูด พร้อมเดิน ใช้กฎหมายลุยคดีทางการเมืองอย่าง โดยไม่สนหน้า หรือเกรงใจใคร ไม่ว่าจะเป็น นายน้อย นายใหญ่ นักการเมืองระดับสูงศักดิ์ รัฐมนตรี ข้าราชการรวางตัวเหมือนลูกจ้าง และ บรรดาสส. ต้องอยู่ในอาการหนาวๆร้อนๆ

โดยเฉพาะคดีต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ได้แด่

1. ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ให้รับตรวจสอบกรณี “นส.แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง และอาจมีลักษณะเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อ รธน. หรือกฎหมาย กรณีมีการเผยแพร่คลิปเสียงสนทนาระหว่าง “แพทองธาร” กับสมเด็จฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา เกี่ยวกับความขัดแย้งตามแนวชายแดนไทยกับกัมพูชา ตามคำร้องของ 36 คน โดยคดีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญยังได้รับพิจารณาและสั่งให้ นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้แล้ว

2. มีมติรับเรื่องกรณีกล่าวหา “แพทองธาร” นายกรัฐมนตรี และพวกเป็นร้อยคน จัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 จำนวน 2 สำนวน

สำนวนแรก มีผู้ถูกกล่าวหา ได้แก่ 1. น.ส.แพทองธาร , 2. นายเศรษฐา ทวีสิน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 3. คณะรัฐมนตรี 4. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 5. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) และสมาชิกวุฒิสภา (สว.)ที่ลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปิงบประมาณ พ.ศ. 2568ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 กรณีปรับลดหรือตัดทอนงบใช้ต้นเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้ และรายจ่ายตาม เข้าไปมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งมีการนำงบประมาณไปใช้ แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต

สำนวนสอง อนุมัติโครงการทั้งสิ้น 28,990 โครงการ และปรากฏว่าชื่อ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นผู้อนุมัติเสนอเข้าสู่ที่การประชุม ครม.รวมงบประมาณทั้งสิ้น 51,584.00817 ล้านบาท พร้อมกล่าวหา มีการจัดงบประมาณการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับนักการเมืองพรรคเพื่อไทย คนละ 50 ล้านบาท

ประกอบด้วย 1.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขต พรรคเพื่อไทย (พท.) 2.นายสาโรจน์ หงษ์ชูเวช 3.นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ อดีต ส.ส.พรรค พท. 4.นายจักรพงษ์ แสงมณี ที่ปรึกษานายกฯ และ 5.นายอนันต์ แก้วกำเนิด ผอ.สำนักงบประมาณ มีการจัดงบประมาณการแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับนักการเมืองพรรค พท.คนละ 50 ล้านบาท ซึ่งอาจจะเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 144

3. สอบสวนและไต่สวนเรื่องกล่าวหา “นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีอยู่จำนวน 8 เรื่อง

โดยเฉพาะที่สังคมจับตามคือ 2 เรื่อง คือ กรณีถือครองหุ้นในบริษัทเอกชนของ นายพีระพันธุ์ นั้น ป.ป.ช.อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการถือครองหุ้นบริษัทเอกชน 3 แห่ง ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นจำนวนเกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ได้แก่ บริษัท วีพี แอโร่เทค จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 37.5 บริษัท โสภา คอลเล็คชั่นส์ จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 10 และบริษัท รพีโสภาค จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 73.33 อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 และเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

กรณีการแจกถุงยังชีพช่วยเหลือน้ำท่วม นั้น คณะกรรมการไต่สวนชุดใหม่พิจารณากำหนดวิธีการเรียกให้นายพีระพันธุ์ มารับทราบข้อกล่าวหาไปแล้ว โดยให้ส่งหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาให้นายพีระพันธุ์ รับทราบทางไปรษณีย์ และให้สิทธิ์เข้ามาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ภายในวันที่ 16 กรกฏาคม 2568 นี้

4. ไต่สวนคดี ก่อนกล่าวหาสส.-อดีตสส. และเจ้าหน้าที่รัฐ รวมกันกว่า 46คน เกี่ยวข้องกับการได้รับเงินค่าเลี้ยงดู (แจกกล้วย) ในช่วงอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล รวม 11 คน ในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีการแจกเงินให้สส.พรรคเล็ก-สส.พรรคใหญ่ (บางคน) เดือนละ 1 แสนบาทต่อคน และเจ้าหน้าที่รัฐอีกจำนวนหนึ่ง รวมเป็นเงิน 200-300 ล้านบาท

5. มีมติให้รับเรื่องที่กลุ่ม สว. ร้องเรียน “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ “พ.ต.ต. ยุทธนา แพรดำ” อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ปฏิบัตืหน้าที่ไม่ชอบ เป็นการจงใจกลั่นแกล้ง ทำให้ สว.ได้รับความเสียหายและอาจถึงขั้นล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ

รวมถึงยังพบอาจมีการสั่งการให้กลุ่มบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ลงพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 2 ราย โดยไม่ได้แต่งเครื่องแบบ ไม่ได้แสดงบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเครื่องหมายใด ๆ ได้เข้าไปในบ้านของอดีตผู้สมัคร สว. และถอดปลั๊กไฟของกล้องวงจรปิด บังคับให้อดีตผู้สมัคร สว. รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดในการฮั้วการเลือก สว.

นอกจากนี้ยังมีคดีนักโทษเทวดาชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ กรณีรับ “ทักษิณ ชินวัตร” เข้าพักรักษาตัวเป็นเวลา 6 เดือนเต็ม โดยไม่ต้องกลับเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ซึ่ง ป.ป.ช.มีมติตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเพื่อไต่สวนเจ้าหน้าที่รัฐ สังกัดกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจรวม 12 คน

รวมถึง คดีกล่าวหาอดีต สส.พรรคก้าวไกลรวม 44คน เข้าชื่อกันเสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ถูกร้องว่า เป็นการเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมหรือไม่

นี่คือตัวอย่างคดีการเมืองร้อนๆ ที่ประชาชนให้ความสนใจในมือ “สุชาติ” ที่หวังว่าจะทำให้สังคมเห็นว่า ป.ป.ช.ยุคนี้จะปราบปรามนักการเมือง และ ข้าราชการทุจริตอย่างจริงจัง ไร้เสียงครหา เปิดดีล วิ่งเต้น ล้มคดี จนกลายเป็นมวยล้มต้มคนดูอีกเช่นเคย

Written By
More from pp
มช. คว้าอันดับ 10 ของ ASEAN ในการจัดอันดับ TOP1000: ISC World University Rankings 2021
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คว้าอันดับ 10 ของ ASEAN อันดับ 3 ของประเทศ ในการจัดอันดับ TOP1000: ISC World...
Read More
0 replies on “ส่องเผือกร้อนป.ป.ช.ยุค “สุชาติ” ลุยคดีการเมือง ไม่สนหน้าใคร”