ซีพีเอฟ แจง กมธ. ยืนยันไม่ใช่สาเหตุ ย้ำพร้อมร่วมมือรัฐจัดการปัญหาปลาหมอคางดำ เหตุไม่อนุญาตบันทึกภาพและเสียง เกรงมีผลทางกฎหมาย

1 สิงหาคม 2567  ซีพีเอฟ ชี้แจงคณะกรรมธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (กมธ.) ยืนยันไม่ใช่สาเหตุของปัญหา พร้อมร่วมมือภาครัฐขับเคลื่อนมาตรการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ฟื้นฟูระบบนิเวศ เดินหน้าไม่หยุด 5 โครงการสอดคล้องกับการทำงานของรัฐ

รายงานข่าวจากซีพีเอฟ ระบุว่าบริษัทได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ ตามคำเชิญเพื่อให้ข้อมูลข้อเท็จจริง และแสดงความคิดเห็นการดำเนินการของบริษัท โดยยืนยันว่าเป็นผู้นำเข้าถูกต้องตามกฎหมายเพียงรายเดียว ไม่ใช่สาเหตุของปัญหาปลาหมอคางดำ โดยบริษัทมีการดำเนินการกักกัน (Quarantine) ลูกปลาอย่างถูกต้อง ตลอด 16 วัน และย้ำว่าหลังการทำลายลูกปลาที่เหลือทั้งหมด บริษัทไม่มีการวิจัยหรือเลี้ยงปลาหมอคางดำอีกเลย นับตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2554 รวมถึงไม่การดำเนินการเชิงพาณิชย์ใดๆทั้งสิ้น

สำหรับกรณีที่เจ้าหน้าที่กรมประมงเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มเมื่อปี 2560 เป็นการสุ่มตรวจในบ่อพักน้ำที่เชื่อมต่อกับแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งไม่ได้เป็นส่วนของบ่อเลี้ยง แต่เป็นส่วนที่เชื่อมกับแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อรอการกรองและฆ่าเชื้อทำความสะอาดก่อนนำน้ำเข้ามาใช้ในฟาร์ม ขณะที่ในช่วงเวลาดังกล่าว ฟาร์มไม่มีการเลี้ยงปลาใดๆ เนื่องจากอยู่ระหว่างปิดปรับปรุงฟาร์ม

สำหรับกรณีไม่อนุญาตบันทึกภาพและเสียง เนื่องจากมีรายละเอียดที่มีผลทางกฎหมาย

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า ซีพีเอฟมีความตั้งใจและยินดีให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำตามมาตรการ 7 ข้อของรัฐบาล เช่น การจับปลาเพื่อลดปริมาณปลาหมอคางดำจากแหล่งแพร่ระบาด การปล่อยปลาผู้ล่าหลังปลาหมอคางดำลด การใช้ประโยชน์จากปลาไม่ให้สูญเปล่า ตลอดจนป้องกันการแพร่กระจายไปยังแหล่งน้ำข้างเคียง ให้ความรู้ประชาชนและรู้จักวิธีกป้องกันอันตรายจากสัตว์น้ำต่างถิ่น เป็นต้น

ปัจจุบัน ซีพีเอฟดำเนินโครงการที่สอดคล้องตามแนวทางของภาครัฐ 5 โครงการ ประกอบด้วย

1.) โครงการร่วมกับกรมประมงรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดจำนวน 2 ล้านกิโลกรัม ซึ่งรับมาแล้ว 600,000 กิโลกรัม

2.) โครงการสนับสนุนปล่อยปลาผู้ล่าสู่แหล่งน้ำ จำนวน 200,000 ตัว ตามแนวทางของกรมประมง และมีการปล่อยปลากะพงขาวไปแล้ว 49,000 ตัว โดยร่วมมือกับชุมชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่ที่พบการระบาด

3.) โครงการสนับสนุนการจับปลา ตลอดจนอุปกรณ์จับปลาและกำลังคนในพื้นที่

4.) โครงการร่วมมือกับสถาบันการศึกษา 3 แห่งคือ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลับขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ และ

5.) โครงการร่วมทำวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการหาแนวทางควบคุมประชากรปลาหมอคางดำในระยะยาว รวมทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สนใจเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย

Line Open Chat *เพิ่มช่องทางการรับข่าวสาร จากเว็บไซต์ *อ่านคอลัมน์ เปลว สีเงิน ก่อนใคร *ส่งตรงถึงมือทุกคืน *เปิดกว้างเพื่อแฟนคอลัมน์พูดคุยแบบกันเอง ทุกเรื่องราว ข่าวสารบ้านเมือง สังคม ฯลฯ
Written By
More from pp
มหาดไทยเตรียมชง ครม. ทราบ 18 มาตรการของขวัญปีใหม่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข พี่น้องประชาชนจาก 13 หน่วยงานภายใต้กระทรวง
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ได้มอบหมายให้หน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทย เตรียมมาตรการที่จะเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน
Read More
0 replies on “ซีพีเอฟ แจง กมธ. ยืนยันไม่ใช่สาเหตุ ย้ำพร้อมร่วมมือรัฐจัดการปัญหาปลาหมอคางดำ เหตุไม่อนุญาตบันทึกภาพและเสียง เกรงมีผลทางกฎหมาย”