โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ 3 ครั้งขึ้นไปภายใน 24 ชม. และมีอาการมานานไม่เกิน 7 วัน อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว ส่วนใหญ่โรคอุจจาระร่วงมักจะหายเองภายใน 2-3 วัน

ซึ่งบทความให้ความรู้โดย พญ.จิตราภา แสนโภชน์ อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคระบบทางเดินอาหาร ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร (Gastroenterology and Hepatology Center) โรงพยาบาลนวเวช ได้ตอบคำถามพร้อมอธิบายอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันเอาไว้อย่างละเอียด สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการดังกล่าวจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัว หรือได้รับพิษของแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหาร เป็นต้น

อาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

• ถ่ายเหลวเป็นน้ำ เป็นมูก หรือมีเลือดปน
• ปวดท้อง ปวดบีบเกร็ง หรือ ปวดบิดๆในท้อง
• คลื่นไส้ อาเจียน
• ไข้ ปวดเมื่อยตัว ปวดหัว
• อาการของการขาดน้ำ ได้แก่ ปากแห้ง เวียนหัว หน้ามืด เป็นลม ชีพจรเต้นเร็ว

สาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

 สาเหตุที่พบได้บ่อย ในโรคอุจจาระร่วง ได้แก่ การติดเชื้อ และได้รับพิษจากแบคทีเรียในอาหาร
 การติดเชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ โรต้าไวรัส (Rotavirus) โนโรไวรัส (Norovirus) แบคทีเรีย โปรโตซัว พยาธิ

นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การติดเชื้อ ได้แก่ การกินอาหารรสจัด หรืออาหารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของระบบทางเดินอาหาร ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสบกพร่อง การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาเบาหวานบางชนิด ยารักษาโรคเก๊าท์ ยาระบาย

อาหารที่อาจเป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

• อาหารที่รับประทานโดยไม่ผ่านการปรุงสุก โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ไข่ไก่ดิบ อาหารทะเล
• ผักสด และผลไม้ ที่ไม่ได้ล้างให้สะอาด
• นม หรือผลิตภัณฑ์จากนม ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
• อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือ พิษของเชื้อ

การปฏิบัติตนเมื่อมีอาการอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

• รับประทานน้ำเกลือแร่ โดยจิบบ่อย ๆ เป็นระยะ หากมีอาการท้องเสียบ่อยครั้ง เพื่อชดเชยภาวะการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย
• รักษาด้วยยาตามอาการ ได้แก่ ยาแก้ปวดบิดเกร็งในช่องท้อง ยาแก้คลื่นไส้ หรืออาเจียน ยาลดอาการท้องร่วง ยาแก้ไข้
• รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ อาจมีความจำเป็นในบางราย ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ก่อน
• รับประทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด รสจัด อาหารมัน
• ควรไปพบแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีไข้ หรืออุจจาระมีเลือดปน หรือมีอาการของการขาดน้ำ ได้แก่ เวียนหัว หน้ามืด เป็นลม ร่วมด้วย
• ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อนของอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ได้แก่ ผู้ป่วยอายุ>65 ปี ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ

วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วง

 รับประทานอาหารปรุงสุก และ สะอาด
 รับประทานผักสด และ ผลไม้ ที่ผ่านการล้างอย่างสะอาดเท่านั้น
 ล้างมือด้วยสบู่ ก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำเสมอ

เพราะทุกวินาทีคือชีวิต “โรงพยาบาลนวเวช” ให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน (Advance ambulance) พร้อมทีมแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉินและทีมสหสาขาวิชาชีพ(Multidisciplinary Team) ประจำการตลอด 24 ชั่วโมง ควบคู่กับเครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการช่วยชีวิตคนไข้วิกฤตและผู้ประสบเหตุฉุกเฉิน กรณีต้องการเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินทันทีโทร. 0-2483-9944 ซึ่งหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน สามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์ระบบทางเดินอาหาร โทร. 1507 I Line: @navavej

Written By
More from pp
บิ๊กซี ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) จัดงาน “ฟินเต็มคำแซลมอนนอร์เวย์ คุณภาพพรีเมี่ยม” เอาใจสาย Salmon Lover ชวนลิ้มรสความอร่อย สด ฟิน ส่งตรงจากประเทศนอร์เวย์
สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) พร้อมด้วย นางอัสตริด เอมีเลีย เฮลเล เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ฟินเต็มคำ แซลมอนนอร์เวย์ คุณภาพพรีเมียม”
Read More
0 replies on “โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)”