ก.เกษตร เอาจริง “ชัยนาทโมเดล” ติดตามทำธนาคารน้ำใต้ดิน กว่า 800 แห่ง และ ศึกษาเทคโนโลยีเพื่อช่วยหนุนเกษตรกรปลูกหญ้าอาหารสัตว์เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

2 พฤศจิกายน 2566 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาล โดย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน และดูการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสำหรับการทำหญ้าเลี้ยงสัตว์ และโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ณ จ.ชัยนาท

เพื่อสนองเป้าหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งมั่นที่จะสร้างรายได้ให้เกษตรกร ผ่านหลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ซึ่งรวมถึงการทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเป็นการบริหารจัดการน้ำตามความต้องการน้ำในแต่ละพื้นที่ และ การส่งเสริมการทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ เช่น การปลูกหญ้าอาหารสัตว์

จังหวัดชัยนาท ได้รับเลือกเป็นจังหวัดนำร่องที่ดำเนินการใน 6 ด้าน ดังนี้ 1. นวัตกรรมข้าวพันธุ์ดี เมล็ดข้าวพันธุ์ดี 2. ลดต้นทุน เพิ่มศักยภาพการผลิต ส่งเสริมการปลูกพืชแห่งโอกาส 3. บริหารจัดการทรัพยากรดินให้เหมาะสมกับพืช 4. ระบบตลาดนำการผลิต 5. ขยายสาขาและเพิ่มศักยภาพวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และ 6. การบริหารจัดการน้ำด้วยธนาคารน้ำ

ในการประชุม ครม. เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้ย้ำถึงความเร่งด่วนและความสำคัญของการผลักดันโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อเป็นกรณีศึกษาถึงความเป็นไปได้ และประโยชน์ที่จะได้รับ องค์ความรู้ที่จะได้จาก “ชัยนาทโมเดล” นี้ จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในการนำร่องไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลแท้จริงในจังหวัดอื่นๆ อีกทั้งจะยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล “ไม่ท่วมไม่แล้ง” อีกด้วย

“ธนาคารน้ำใต้ดิน” เป็นการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ออกแบบมาช่วยรับมือกับปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งซ้ำซากให้หลายประเทศทั่วโลก สำหรับจังหวัดชัยนาทนั้น จะมีการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินรวมทั้งสิ้น 834 แห่ง

“การทำธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อที่จะนำน้ำใต้ดินมาใช้ในฤดูแล้ง ให้มีการกักเก็บน้ำใต้ดินให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน การทำธนาคารน้ำใต้ดินมีข้อดี คือ แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง แก้ปัญหาพื้นที่ประสบภัยแล้ง การเพิ่มระดับน้ำใต้ดิน การเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวดิน ทำให้ต้นไม้โดยรอบเติบโตงอกงาม ลดปริมาณน้ำเสีย ทั้งระดับครัวเรือนและชุมชน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ธนาคารน้ำใต้ดินจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับการจัดการทรัพยากรน้ำ เพราะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่ช่วยให้ประชากรในสังคมปรับตัวให้อยู่รอดจากภัยแล้ง” นายอนุชากล่าว

Written By
More from pp
“ศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม” ในกลุ่มเอ็กโก คว้ารางวัล “Asia Responsible Enterprise Awards 2021” ด้าน Investment in People
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ส่งโครงการ “ศูนย์เรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม” คว้ารางวัลสร้างสรรค์สังคมแห่งเอเชีย “Asia Responsible...
Read More
0 replies on “ก.เกษตร เอาจริง “ชัยนาทโมเดล” ติดตามทำธนาคารน้ำใต้ดิน กว่า 800 แห่ง และ ศึกษาเทคโนโลยีเพื่อช่วยหนุนเกษตรกรปลูกหญ้าอาหารสัตว์เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้”