เจ้ากรรมนายเวร

คำว่า เจ้า กับ นาย มักใช้คู่กัน เช่น เขาชอบทำงานอิสระ เพราะไม่อยากมีเจ้ามีนาย. ลูก ๆ ควรจะเรียนสูง ๆ จะได้เป็นเจ้าคนนายคน.

คำว่า กรรม กับ เวร มักใช้คู่กัน เช่น เวรกรรมมีจริง คนทำผิดในที่สุดก็ต้องได้รับโทษ. คุณอย่าทำกรรมทำเวรต่อไปเลย.

คำว่า เจ้า กับ นาย กับคำว่า กรรม กับ เวร อาจใช้ซ้อนสลับกันเป็น เจ้ากรรมนายเวร หมายถึง ผู้มีกรรมมีเวรกันมาแต่ชาติก่อน  สัตว์ต่างๆ ที่เราฆ่าก็ถือเป็นเจ้ากรรมนายเวร

ตัวอย่างการใช้คำนี้ เช่น คุณย่าใส่บาตรแล้วก็อุทิศส่วนกุศลให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว และเจ้ากรรมนายเวร.

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐

Written By
More from pp
‘เอส แอนด์ พี’ ผู้นำธุรกิจร้านอาหารไทย จัดงานแถลงข่าว ‘การแข่งขันการปรุงอาหารไทยร่วมสมัยระดับประเทศ ในโอกาส S&P ครบรอบ 50 ปี’ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่ระดับสากล
บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) จัดงานแถลงข่าว โครงการ ‘การแข่งขันการปรุงอาหารไทยร่วมสมัยระดับประเทศ ในโอกาส S&P...
Read More
0 replies on “เจ้ากรรมนายเวร”