อย. เผย ผลตรวจวิเคราะห์อาหารทะเลจากญี่ปุ่น ปลอดสารกัมมันตรังสี

อย. เผยผลตรวจวิเคราะห์อาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น ไม่พบปริมาณกัมมันตรังสีเกินเกณฑ์มาตรฐาน และเฝ้าระวังติดตามข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างเข้มงวด ไม่ให้อาหารทะเลปนเปื้อนกัมมันตรังสีเล็ดลอดเข้ามาในประเทศ ขอให้ผู้บริโภควางใจ

เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่นอย่างเข้มงวด ตั้งแต่ได้รับข้อมูลการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดฟุกุชิมะลงสู่ทะเล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 โดยดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารทะเลนำเข้าจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงไปแล้ว 75 ตัวอย่าง เช่น ปลาหมึก หอย ปู เป็นต้น ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณกัมมันตรังสี ซีเซียม-134 (Cs-134) และซีเซียม-137 (Cs-137)

ที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เนื่องจากซีเซียมเป็นสารกัมมันตรังสีหลักที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สู่สิ่งแวดล้อม ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารทั้งหมด 42 ตัวอย่าง ไม่พบปริมาณกัมมันตรังสีเกินเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข และอีก 33 ตัวอย่าง ยังอยู่ระหว่างการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดย อย. ได้กักสินค้าระหว่างตรวจวิเคราะห์ หากไม่พบสารกัมมันตรังสี จะสามารถนำสินค้าไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ แต่หากตรวจพบสารกัมมันตรังสีจะทำลายสินค้าและระงับการนำเข้าทันที

ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นและวางใจในการดำเนินงานของ อย. ซึ่งมีการเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลทั้งจากในและต่างประเทศอย่างเข้มงวดเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย อนึ่ง หาก อย.พบผลิตภัณฑ์อาหารใดที่เป็นอันตราย จะประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนทราบทันที และหากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์อาหารใดสงสัยว่าจะเป็นอันตราย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

Written By
More from pp
CPF รุกแพลตฟอร์มโซเชียล โชว์ผลงานสุดเจ๋ง! คว้ารางวัลจากเวที Thailand Social Award 2024
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ สร้างผลงานยอดเยี่ยมบนโลกโซเชียลมีเดีย ติดอันดับแบรนด์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุด คว้ารางวัล FINALIST สาขา BEST BRAND...
Read More
0 replies on “อย. เผย ผลตรวจวิเคราะห์อาหารทะเลจากญี่ปุ่น ปลอดสารกัมมันตรังสี”