นักวิจัย แนะเด็กควรดื่มนมเสริมอาหาร เพื่อพัฒนาการร่างกายที่ดีอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยรายงาน โครงการความร่วมมือกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการวิเคราะห์สภาวะการได้รับพลังงานและสารอาหารสำคัญจากการบริโภคอาหารใน 1 วัน ของเด็กอายุ 1-6 ปี

พบว่าเด็กกลุ่มอายุ 1-3 ปีประสบปัญหาขาดสารอาหารรอง น้อยกว่าเด็กอายุ 4-6 ปี ที่กำลังมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารรอง หรือไมโครนิวเทรียนส์ ในระดับที่น่ากังวล หลายชนิด ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี เหล็ก วิตามิน A และวิตามิน C แนะควรให้เด็กดื่มนมเสริมอาหารเพื่อพัฒนาการร่างกายที่ดีอย่างต่อเนื่อง

Best Calcium Rich Foods Sources. Healthy eating

ผลการศึกษาดังกล่าว เป็นการศึกษา การได้รับสารอาหารในเด็กวัย 1-6 ปี ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์การบริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมง (24 hour dietary recall) ภายใต้โครงการศึกษาข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2557-2558) เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับค่าประมาณของความต้องการสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน (Estimated Average Requirement: EAR) ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดของสารอาหารที่ได้รับต่อเนื่อง

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลการได้รับพลังงานและสารอาหาร พบว่าค่าเฉลี่ยของพลังงานต่อวันในเด็กเล็กกลุ่มอายุ 1-3 ปี อยู่ที่ 1,094.65 กิโลแคลอรี มีค่าเฉลี่ยการกระจายพลังงานจาก คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 51.32 โปรตีนร้อยละ 15.37 และไขมันร้อยละ 33.31
ในเด็กกลุ่มอายุ 4-6 ปี ค่าเฉลี่ยของพลังงานต่อวันอยู่ที่ 1,250.30 กิโลแคลอรี มีค่าเฉลี่ยการกระจายพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 52.36 โปรตีนร้อยละ 15.53 และไขมันร้อยละ 32.10 ซึ่งทั้งสองกลุ่มอยู่ในช่วงที่เหมาะสมไม่พบปัญหาการบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอ ในประชากรเด็กทั้งสองกลุ่มอายุ

แต่ผลการศึกษากลับพบว่า ในเด็กกลุ่มอายุ 4-6 ปี มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารรองไม่เพียงพอหลายชนิด ได้แก่ แคลเซียมร้อยละ 86.9 , สังกะสีร้อยละ 56.9, เหล็กร้อยละ 37.9, วิตามิน A ร้อยละ 53.4, และวิตามิน C ร้อยละ 52.4

เมื่อเทียบกับเด็กกลุ่มอายุ 1-3 ปี มีความเสี่ยงในการขาดสารอาหารรองอย่างแคลเซียมอยู่ที่ร้อยละ 25.9, สังกะสีร้อยละ 24, เหล็กร้อยละ 25.1, วิตามิน A ร้อยละ 12.1, และวิตามิน C ร้อยละ 22.3 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 25 เท่านั้น

เมื่อพบความแตกต่างในการขาดสารอาหารรอง ผู้ดำเนินโครงการจึงได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมว่ากลุ่มอาหารที่เด็กทั้งสองกลุ่มอายุบริโภคเป็นชนิดใดบ้าง มีความหลากหลายของอาหาร (Dietary diversity) ที่เด็กบริโภคมากน้อยเพียงใด เพราะการบริโภคอาหารที่หลากหลายนั้น ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอ ตามข้อปฏิบัติการให้อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กเล็ก (อายุ 1-5 ปี) โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อต่อวัน ให้อาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย เป็นประจำทุกวัน และ ให้นมแม่ต่อเนื่องถึง 2 ปี เสริมนมสดรสจืดวันละ 2-3 แก้ว

พบว่าเด็กกลุ่มอายุ 1-3 ปี บริโภคนมและผลิตภัณฑ์นม สูงถึงร้อยละ 91.9 ผลิตภัณฑ์ที่บริโภคมากที่สุด คือนมผงที่มีการเสริมสารอาหาร (fortified milk powder) บริโภคในร้อยละ 41.5 ตามด้วยนมพร้อมดื่มรสจืด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนมโคสดทั้งชนิดเสริม และไม่เสริมสารอาหาร ร้อยละ 39.2

ส่วนในเด็กกลุ่มอายุ 4-6 ปี บริโภคนมและผลิตภัณฑ์นมอยู่ที่ร้อยละ 70.2 โดยผลิตภัณฑ์ที่บริโภคมากที่สุดคือ นมพร้อมดื่มรสจืด ที่เป็นนมโคสดทั้งชนิดเสริมและไม่เสริมสารอาหาร ร้อยละ 45.5 ขณะที่การบริโภคนมผงที่มีการเสริมสารอาหาร (fortified milk powder) มีเพียงร้อยละ 2.7 เท่านั้น

ซึ่งพอจะอนุมานได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เด็กกลุ่มอายุ 1-3 ปี ขาดสารอาหารรองในระดับที่ไม่น่ากังวลใจนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เด็กได้ดื่มผลิตภัณฑ์นมผงและนมพร้อมดื่มรสจืดที่เสริมสารอาหาร ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการเติมเต็มความต้องการด้านโภชนาการของเด็กกลุ่มอายุ 1-3 ปี เพื่อการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย

จึงควรแนะนำให้เด็กดื่มนมที่มีการเสริมสารอาหารอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว เพราะเด็กที่กำลังเจริญเติบโต จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ในขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ส่งมอบอาหารให้เด็กในช่วงวัยนี้ ก็จะได้นำข้อมูลงานวิจัยเหล่านี้ มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาวะการบริโภคของเด็กในแต่ละช่วงวัย เพื่อทำให้มั่นใจว่าเด็กจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลการได้รับพลังงานและสารอาหารดังกล่าวอาจเป็นสิ่งบ่งชี้ว่ายังมีเด็กไทยบางส่วนที่ยังไม่สามารถปฏิบัติตามข้อแนะนำดังกล่าวอย่างครบถ้วนทุกวัน

เอกสารอ้างอิง:
1. “รายงานฉบับสมบูรณ์ อ” โดย นวรัตน์ ว่องไวเมธี และคณะ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พฤศจิกายน 2565
2. คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดีสำหรับบุคลากรสาธารณสุข โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2558

Written By
More from pp
“ไทยสร้างไทย” ชู วันสตรีสากล หมุดหมายสำคัญนำสตรีสู่ความเท่าเทียม หนุนบทบาทสตรี ดูแลคนตัวเล็ก ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างอาชีพอย่างยั่งยืน ประกาศเดินหน้า ลุยโครงการ (More Women in Politics) สร้างหญิงเก่งให้มีบทบาททางการเมือง
พรรคไทยสร้างไทย โดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายอุดมเดช รัตนเสถียร และคณะทำงานด้านการพัฒนาบทบาทสตรี รวมพลังจัดเสวนาเนื่องในวันสตรีสากล International Womens Day 8 มีนาคม...
Read More
0 replies on “นักวิจัย แนะเด็กควรดื่มนมเสริมอาหาร เพื่อพัฒนาการร่างกายที่ดีอย่างต่อเนื่อง”