How to ต่อสู้ฝุ่น PM2.5

PM 2.5 หรือ ฝุ่นควันพิษ ยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข และยิ่งดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้

ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง กระตุ้นให้เกิดโรคหอบหืด ภูมิแพ้ คัน พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ PM 2.5 เพิ่มเติมว่า

นอกจากจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแล้ว ในฝุ่นควันพิษยังมีสารโลหะหนักปนอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ตะกั่ว ปรอท สารหนู แคดเมียม และอื่นๆ เมื่อเราต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษไปนานๆทำให้เกิดของเสียสะสมในร่างกายได้ค่ะ ซึ่งถ้าปล่อยไว้เรื้อรังก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ เช่น

 โรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์
 โรคหัวใจและหลอดเลือด
 ความดันโลหิตสูง
 เบาหวาน
 โรคมะเร็ง
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

คุณหมอได้แนะนำวิธีการดูแลตัวเองง่ายๆ เพื่อรับมือกับฝุ่นควันพิษและโลหะหนักสะสมดังนี้ค่ะ

1. สวมหน้ากากอนามัย ที่สามารถกรองอนุภาคได้ละเอียด หรือ ป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ เมื่อต้องออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือสถานที่มีฝุ่นควันพิษสะสม

2. หลีกเลี่ยงหากต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ ควรหาเวลาพักในที่ร่มเป็นระยะ หรืออยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก

3. เปิดเครื่องฟอกอากาศ ที่สามารถกรองอนุภาคได้อย่างละเอียด เมื่ออยู่ในบ้านหรืออาคาร

4. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดหลังกลับจากบริเวณที่มีฝุ่นควันพิษ

5. ทาครีมหรือโลชั่นที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของผิว

6. ตรวจหาสารพิษสะสมเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และทำการล้างสารพิษ ด้วยวิธีทางการแพทย์หรือที่เรียกว่า Chelation โดยการใช้สารที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น EDTA ในการจับกับสารพิษและขับออกจากร่างกาย ซึ่งนอกจากช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายแล้ว ยังช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น เปรียบเสมือนการล้างหลอดเลือดให้สะอาดขึ้นค่ะ ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานได้ดีขึ้น แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้นค่ะ

Written By
More from pp
ม.มหิดล ตรวจมะเร็งช่องปากสุนัขด้วยน้ำลายได้ครั้งแรก
การให้ขนมขัดฟันเป็นรางวัลแก่สุนัข อาจไม่ได้เป็นการแสดงความรักและใส่ใจต่อการดูแลช่องปากของสุนัขได้มากเท่าการหมั่นดูแลรักษาความสะอาดช่องปากของสุนัขด้วย “การแปรงฟัน” เพื่อให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี และเพื่อสังเกตความผิดปกติ หรือโรคที่อาจมาเยือนและทำให้จากไปอย่างรวดเร็ว เช่น “โรคมะเร็งช่องปาก” ซึ่งอาจก่อให้เกิด “ความสูญเสีย” เพราะเซลล์มะเร็งของโรคมะเร็งช่องปากนั้น มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว...
Read More
0 replies on “How to ต่อสู้ฝุ่น PM2.5”