“ศ.ดร.นฤมล” ชง 5 วิธีลดราคาพลังงานดูแลปชช. “ยึดกรอบเป็นไปได้-ไม่กระทบระยะยาว-ยั่งยืน”

24 กุมภาพันธ์ 2566-ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน โพสต์Facebook ส่วนตัวแสดงความเห็นถึงราคาพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ก๊าช ไฟฟ้า ต่างส่งผลต่อค่าครองชีพของพี่น้องประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม

การคิดหาแนวทางลดราคาพลังงานจึงเป็นเข็มมุ่งที่ทุกฝ่ายควรร่วมกันทำ แต่ต้องอยู่ในกรอบของ 1. ความเป็นไปได้ 2. ไม่สร้างผลกระทบระยะยาว 3. ยั่งยืน

ดังนั้น 5 เรื่องที่ควรปรับเปลี่ยนภายใต้ 3 กรอบแนวคิดนี้ คือ

1. โครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันที่ดูซับซ้อนนั้น ควรได้รับการปรับเปลี่ยน เช่น เปลี่ยนการคิดต้นทุนด้วยราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นอ้างอิงตามราคาตลาดสิงคโปร์ ให้เป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและเป็นธรรม

2. เปลี่ยนการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุน คือรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันในประเทศ ยกเลิกการนำเงินกองทุนนี้ไปแทรกแซงและอุดหนุนราคา จนทำให้ราคาพลังงานบางชนิดถูกบิดเบือนให้ถูกกว่าราคาตลาด แต่กลับไปสร้างภาระให้คนใช้พลังงานอีกชนิดหนึ่ง การบิดเบือนราคานี้นำไปสู่การบิดเบือนพฤติกรรมผู้ใช้พลังงานด้วย

3. การอุดหนุนราคาพลังงานบางชนิดที่ยังจำเป็นต้องมี ก็ควรดูแลเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ไม่ใช่อุดหนุนเป็นการทั่วไป และควรไปตั้งงบประมาณสำหรับการอุดหนุนต่างหาก แยกออกจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อที่พลังงานที่ถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์จะได้ใช้ราคาตลาดตามกลไกตลาดที่มีการแข่งขันเสรี

4. การช่วยเหลือเกษตรกรผ่านการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงชีวภาพก็ควรแยกตั้งงบประมาณเพื่อการดูแลเกษตรกรต่างหากออกจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จะได้ไม่ไม่ทำให้ราคาตลาดบิดเบือน และจะได้ช่วยเกษตรกรได้ตรงเป้ามากขึ้น

5. จริงจังกับแผนสนับสนุนพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือกเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืนของชาติไทย แค่ข้อ 1 ถึง 4 ก็สามารถลดราคาพลังงานแต่ละชนิดไปได้หลายบาท

Written By
More from pp
ซีพีเอฟ รับ โล่องค์กรมีผลงานด้านการพัฒนาสังคมเป็นเลิศจาก พม.
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณผลงานด้านการพัฒนาสังคมเป็นเลิศให้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ
Read More
0 replies on ““ศ.ดร.นฤมล” ชง 5 วิธีลดราคาพลังงานดูแลปชช. “ยึดกรอบเป็นไปได้-ไม่กระทบระยะยาว-ยั่งยืน””