เทคโนโลยีการรักษาโรคปวดหลังด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง Full Endoscopic Surgery

นายแพทย์พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกสันหลัง

โรงพยาบาลสุขุมวิท

ในกลุ่มหนุ่มสาวหลายคนมักมีอาการปวดหลัง บางคนคิดว่าอาจเกิดจากสาเหตุนั่งมากเกินไป หรือไปทำอะไรผิด ท่ามา ซึ่งคนจำนวนมากที่มีอาการปวดหลังมักเข้าใจว่าอาการปวดหลังเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับกระดูก ในความเป็นจริงแล้ว ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่บางคนอาการปวดหลังก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะกระดูกเสมอไป  

โดยทั่วอาการปวดหลังอาจเกิดขึ้นจากการยกของหนักหรือออกกำลังกายมากเกินไป ซึ่งอาการที่รู้สึกได้ คือ ปวด เมื่อย กล้ามเนื้อตึง แต่หากมีอาการที่รู้สึกว่าหลังขยับไม่ได้หรือปวดร้าวไปจนถึงขาข้างใดข้างหนึ่ง นั่นอาจเกิดจาก หมอนรองกระดูกเคลื่อนเคล็ดไปกดทับเส้นประสาท

เมื่อเกิดอาการปวดหลังเชื่อว่าคนส่วนใหญ่มักเพิกเฉยหรืออาจจะหายาแก้ปวดมารับประทานเองเพราะคิดว่าไม่ ใช่อาการร้ายแรง แต่หารู้ไม่ว่าบางครั้งอาการปวดหลังก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความผิดปกติทั่วไปเท่านั้น แต่อาจบ่งบอกถึง สัญญาณอันตรายบางอย่างที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

สาเหตุของการปวดหลังที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย

การปวดหลังมีสาเหตุจากหลายๆ ปัจจัย โดยเฉพาะโครงสร้างของกระดูกสันหลังที่มีตั้งแต่โครงสร้างของผิวหนัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังเส้นประสาท เพราะฉะนั้นอาการปวด จึงสามารถเกิดขึ้น ได้จากพยาธิ สภาพที่กล่าวไปข้างต้น และระบบที่พบอาการปวดได้บ่อยที่สุดก็คือกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น รองลงมาก็คือ ระบบกระดูก สันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลังเส้นประสาท ส่วนระบบที่พบได้ค่อนข้างน้อยก็คือ ไต ช่องท้อง

ในปัจจุบันมีการพูดถึงเรื่องของกระดูกสันหลังเส้นประสาทค่อนข้างมาก เนื่องจากเมื่อเป็นแล้วจะมีความรุนแรง และอันตรายมากกว่าระบบอื่นๆ เพราะฉะนั้นแพทย์จึงให้ความสำคัญกับกระดูกสันหลังเส้นประสาทมากกว่า เช่น โรค กระดูกหลังทับเส้นประสาทก็เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาโรคปวดหลังที่เกิดขึ้นกับภาวะกระดูกสันหลัง

ปัญหาของกระดูกสันหลังที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง

สำหรับปัญหาของกระดูกสันหลังที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง สามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ อาจจะเกิด จากอุบัติเหตุจนทำให้กระดูกสันหลังหัก กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังเสื่อม และกระดูกพรุน นอกจากนี้ยังมีในส่วน ของหมอนรองกระดูกมีปัญหา เช่น หมอนรองกระดูเสื่อม หมอนรองกระดูกเคลื่อน หมอนรองกระดูกอักเสบ หมอนรอง กระดูกติดเชื้อ

ทั้งนี้ ในส่วนของเส้นประสาทก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลังโดยอาจจะถูกกดทับจากภาวะกระดูกเสื่อม มีก้อนถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ แต่สาเหตุที่พบได้บ่อยจนทำให้เกิดอาการปวดหลังก็คือ ปัญหาเรื่องของหมอนรอง กระดูกโดยเฉพาะปัญหาหมอนรองกระดูกเคลื่อน ซึ่งมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยปวดเป็นครั้งคราวไปจนถึงปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระดูกเคลื่อนและไปทับเส้นประสาท แต่ในกรณีที่หมอนรองกระดูกแตกจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง ขาชา ขาอ่อนแรง หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดทันที

ส่วนหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีอาการตั้งแต่กระดูกสันหลังหัก กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อต่อกระดูกสันหลัง อักเสบ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง แต่ที่พบได้บ่อยคืออาการของกระดูกสันหลังเสื่อมทับเส้นประสาท จนทำ ให้กระดูกทรุดลงมา คำว่าเสื่อมหมายความว่ากระดูกและข้อต่อต่างๆ ได้มีการเสื่อมสภาพลง ความยืดหยุ่นน้อยลงทำให้ กระดูกสันหลังหลวมมากขึ้นก็เริ่มมีการทรุดตัวลงทำให้มีอาการปวด มีอาการชา โดยส่วนมากจะพบได้ในผู้สูงอายุ ส่วนในกลุ่มที่อาการหมอนรองกระดูกแตก กระดูกเคลื่อนจะพบได้ในคนที่อายุน้อยกว่า

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง

1.พฤติกรรมที่เกิดจากการใช้งาน เช่น การยกของ ก้มๆ เงยๆ ลักษณะอาชีพที่ต้องก้มตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็น ปัจจัยที่ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้เร็ว

2.พฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย

3.พฤติกรรมการรับประทานอาหารจนน้ำเพิ่มขึ้นก็ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมไวได้เช่นกัน

4.พฤติกรรมการเล่นกีฬาที่รุนแรงจนทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หลัง

ลักษณะของอาการปวด

อาการปวดจะปวดได้ตั้งแต่บริเวณรอบๆ หลังจนปวดร้าวลงมาที่ขาร่วมกับอาการชาและอาการอ่อนแรง ในกรณี ที่มีอาการรุนแรงจะทำให้มีภาวะปัสสาวะไม่ออกและทำให้เกิดอัมพาตครึ่งตัวได้

สำหรับอาการปวดหลังอย่างรุนแรง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นหมอนรองกระดูกแตกจะมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง และ ร้าวลงขาอย่างรุนแรง ลุกนั่งไม่ไหวต้องนอนเพียงอย่างเดียว ถ้ามีอาการปวดหลังมากก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างแน่นอนทั้งการลุก การยืน ขับรถและการนั่งทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการปวดถ้ายิ่งปวดมาก และปวดขึ้นเรื่อยๆ ก็จะไม่สามารถนั่งนานๆ ได้ ยืนนานไม่ได้ และหากมีปวดรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน ก็ต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อเข้ารับการรักษา

การบรรเทาอาการปวดหลังในกรณีผู้สูงด้วยตัวเองสามารถทำได้โดยที่มีอาการปวดหลังไม่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยที่ เป็นโรคหมอนรองกระดูกอักเสบนิดหน่อย หรือผู้สูงอายุที่มีกระดูกสันหลังเสื่อมเล็กน้อยก็สามารถบรรเทาอาการปวดด้วย การออกกำลังกาย ถ้าในกรณีที่มีอาการปวดหลังแต่ปวดไม่เยอะผู้ป่วยอาจจะใช้น้ำอุ่นประคบ ใช้ยานวด และนอนพัก หากมีอาการปวดเรื้อรังสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงและเพื่อไม่ให้กระดูกสันหลังโยกมากหรือทำให้เกิดการปวด

ทั้งนี้ หากมีอาการปวดรุนแรงการรับประทานยาแก้ปวดจะสามารถช่วยได้แค่ในช่วงแรกเท่านั้นทางที่ดีควรรีบมาพบแพทย์เพื่อจะให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง

ขั้นตอนการวินิจฉัยอาการปวดหลัง

ขั้นตอนโดยส่วนใหญ่แพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย หลังจากนั้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย เพื่อดูกำลังขา และดูตำแหน่งที่มีอาการปวด ตำแหน่งเส้นประสาทที่ก่อให้เกิดอาการปวด หลังจากนั้นแพทย์จะทำการถ่ายเอกซ์เรย์ คอมพิวเตอร์เพื่อดูหมอนรองกระดูกและเส้นประสาทว่ามีความผิดปกติตรงไหน นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจการทำ งานของเส้นประสาทแขนและขา เพื่อที่จะดูการทำงานของเส้นประสาทว่าสามารถทำงานได้ดีไหม เพื่อไปเทียบกับค่า เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์และจะได้คำวินิจฉัยออกมาว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไรหรือเป็นภาวะใด

เทคโนโลยีรักษาอาการปวดหลังด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง

“ในปัจจุบันหมอนรองกระดูกสันหลังเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยและมีโอกาสเกิดขึ้นกับทุกคนและทุกกลุ่มอายุ แต่กลุ่ม ที่พบได้บ่อยจะมีด้วยกันทั้งหมด 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 25-35 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งลักษณะ ของพยาธิสภาพจะไม่เหมือนกัน โดยที่กลุ่มอายุน้อยมักจะเกิดจากอุบัติเหตุซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุอะไรก็ตาม การที่มีแรงกด ทับผ่านกระดูกสันหลังไปกระแทกถึงหมอนรองกระดูกอย่างรุนแรงก็จะทำให้หมอนรองกระดูกด้านนอกเกิดการฉีกขาด และทำให้ส่วนที่อยู่ตรงกลางปลิ้นออกทางด้านหลังของกระดูกสันหลัง ซึ่งมีเส้นประสาททำให้เกิดการกดทับที่ เรียกว่า หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับเส้นประสาท กรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่อายุไม่มาก และพบได้บ่อยใน กลุ่มคนที่ยกของหนัก

“ส่วนในกรณีผู้สูงอายุนั้นภาวะเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกเป็นผลจากความเสื่อมของร่างกาย เกิดจากเยื่อ หุ้มหมอนรองกระดูกมีการเสื่อมสภาพจนส่งผลให้หมอนรองกระดูกด้านในค่อยๆ เคลื่อนออกมาในแบบที่ไม่รวดเร็วนัก ซึ่ง อาการก็จะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป โดยที่ลักษณะอาการจะคล้ายๆ คือปวดหลังร้าวลงไปบริเวณขาข้างที่หมอนรองกระดูก เคลื่อนไปกดทับ โดยอาการปวดร้าวลงมาที่ขาจะมีอาการปวดร้าวมากในขณะยืนหรือเดินแต่จะสบายขึ้นเวลานอน  หากมี อาการปวดมากขึ้นและไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่องก็จะเริ่มมีอาการชาและมีอาการอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะอาการอ่อนแรง ของเท้าที่ขา

“ปัจจุบันในวงการแพทย์ก้าวไปไกลมากและมีเทคโนโลยีการรักษารูปแบบใหม่ออกมามากมาย ถ้าเปรียบการ รักษาในอดีตกับการรักษาปัจจุบัน การรักษาในอดีตจะเน้นไปที่เรื่องของการกายภาพบำบัด เป็นส่วนใหญ่หากมีอาการไม่ มากก็อาจจะกินยา แต่ถ้ามีอาการค่อนข้างรุนแรงก็อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดด้วย การเปิดแผลขนาดใหญ่ที่บริเวณ กลางหลังและแหวกกล้ามเนื้อลงไปจากนั้นถึงจะทำการผ่าตัดเอากระดูกที่หลังออกทำให้มีแผลค่อนข้างใหญ่

“แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการรักษารูปแบบใหม่ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง โดยใช้กล้องขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติ เมตร เพื่อที่จะสอดเข้าไปเอาหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาโดยที่ไม่ต้อง ตัดกล้ามเนื้อและกระดูกแพทย์ จะสามารถส่อง ไปที่ตำแหน่งที่มีหมอนรองกระดูกเคลื่อนและสามารถเอาออกได้ทันที แผลบาดเจ็บจากการผ่าตัดมีขนาดเล็ก ทั้งนี้ยัง สามารถทำร่วมกับการใส่น๊อตผ่านทางผิวหนังได้ด้วยโดยที่ไม่ต้องเปิดแผลขนาดใหญ่

“ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องอันดับแรกคือแผลเล็ก ลดการบาดเจ็บของผิวหนัง กล้ามเนื้อ เสียเลือดน้อย ไม่ ต้องตัดกระดูก เพราะฉะนั้นการผ่าตัดส่องกล้องจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและใช้เวลาผ่าตัดค่อนข้างน้อย ประหยัดเวลา ในการพักฟื้น และที่สำคัญการผ่าตัดส่องกล้องในบางกรณีไม่จำเป็นต้องดมยาสลบสามารถฉีดยาชาได้ นอกจากนี้หลัง จากผ่าตัดสามารถทำควบคู่ไปพร้อมกับการกายภาพบำบัดได้ทันทีเพราะว่ากล้ามเนื้อไม่บาดเจ็บไม่จำเป็นต้องรอพักฟื้น

“ทั้งนี้การผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้องโอกาสหายขาดมีมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการผ่าตัดใหญ่ แต่ หากเปรียบกับการทำกายภาพและการกินยาอาการจะดีขึ้นประมาณ 50/50 เปอร์เซ็นต์ เรียกได้ว่าการผ่าตัดด้วยวิธีการ ส่องกล้องได้ผลเทียบเท่าการผ่าตัดใหญ่ แต่การผ่าตัดส่องกล้องเสียเลือดน้อยกว่า ประหยัดเวลา เกิดผลแทรกซ้อนน้อยก ว่าแต่อาจจะมีผลข้างเคียวจากการผ่าตัดอยู่บ้างในคนที่มีหมอนรองกระดูกใหญ่มากๆ อาจจะมีอาการชาที่ขาได้บ้าง ซึ่ง จริงๆ แล้วผลข้างเคียงจากการผ่าตัดจะพบได้น้อย ข้อจำกัดที่สำคัญสำหรับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องคือ ไม่ สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดมาแล้ว เช่น การผ่าตัดโดยใส่เส้นลวดหรือการปลูกกระดูกด้านข้าง เพราะ จะไม่สามารถส่องกล้องเข้าไปได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรค”

หากมีอาการปวดหลังเรื้อรังหรือมีอาการปวดผิดปกติโดยเฉพาะมีอาการปวดร้าวลงขาไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบ มาพบแพทย์ทันทีเพื่อจะได้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีกว่า ทั้งนี้สำหรับแนวทางป้องกัน ควรออกกำลังเป็นประจำ โดย การออกกำลังกายช่วงหลังอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ดีและช่วงป้องกันอาการบาดเจ็บที่หลังได้ดี นอก จากนั้นการควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วนจนเกินไปเพราะกระดูกสันหลังจะต้องทำงานหนัก นอกจากนี้การปรับพฤติกรรม การนั่ง การนอน การยืน และการทำงานที่ไม่ทำให้กระดูกสันหลังต้องบาดเจ็บ

Written By
More from pp
เคอี กรุ๊ป แนะรู้จัก “กองทรัสต์ ALLY” (อัลไล) หนึ่งทางเลือกการลงทุน เหมาะสำหรับผู้มีทรัพย์สินมาก แต่ไม่มีเวลาจัดการต่อยอดผลให้เติบโต
จากสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ทำให้หลายคนวางแผนเก็บเงินสดไว้ที่ตนเองเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็พบว่า มีกลุ่มผู้สนใจมือใหม่ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวัยทำงาน หรือวัยนักศึกษา เริ่มศึกษาเรื่องการลงทุน กองทุน หุ้น เพื่อสร้างเม็ดเงินให้งอกเงย กระจายความเสี่ยง หรือนำไปต่อยอดเป้าหมายให้สำเร็จเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน 
Read More
0 replies on “เทคโนโลยีการรักษาโรคปวดหลังด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง Full Endoscopic Surgery”